โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล

โรงเรียน : หนองบอนวิทยาคม สพม.จันทบุรี ตราด

ประเภท : โรงเรียนในฝัน (Lab School)

ผลการประเมิน : 3.94

เผยแพร่เมื่อ : 18 ก.ย. 2561 โดย : นางสาวปิยวรรณ รัตนสร้อย จำนวนผู้เข้าชม 60 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล
ประเภท โรงเรียนในฝัน (Lab School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา        ปัจจุบันมีโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษา ขยายโอกาส และมัธยมศึกษา ที่ได้รับการคัดเลือกจากชุมชนเพื่อเข้าร่วมโครงการ และพัฒนาให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในฝัน รวม 3 รุ่นการพัฒนาโรงเรียน รุ่นที่ 1 ระหว่างปีพ.ศ. 2547 2549 ภายใต้ชื่อโครงการ “ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน จำนวน 921 โรงเรียน รุ่นที่ 2 ปีพ.ศ. 2550 ภายใต้ชื่อ“โรงเรียนดีใกล้บ้าน จำนวน 865 โรงเรียน และ รุ่นที่ 3 ในปี 2553 ภายใต้ชื่อ โรงเรียนดีระดับอำเภอ จำนวน  840 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 2,626 โรงเรียน โดยได้รับการยกระดับเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 259 โรงเรียน คงเหลือโรงเรียนในโครงการ จำนวน 2,366 โรงผลการพัฒนาอยู่ในระดับที่น่าพอใจแต่อย่างไรก็ตามโรงเรียนในฝัน  มีความเข้มแข็งและมีความโดดเด่นเฉพาะด้านแตกต่างกัน มีโรงเรียนเพียงบางส่วนที่โดดเด่นในการพัฒนาทั้งระบบโรงเรียน
                    โรงเรียนในฝัน คือ โรงเรียนที่มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานทางการศึกษาของชาติ  และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับชุมชนและสังคม มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์และมีความเชี่ยวชาญเป็นโรงเรียนต้นแบบในด้านการพัฒนาให้กับโรงเรียนอื่นได้ โดยการใช้การบริหารจัดการแนวใหม่ที่มุ่งพัฒนาโรงเรียนในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านวิชาการ กระบวนการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และการนำเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ และการบริหารจัดการ โดยมุ่งหวังให้เด็กไทยเป็นคนดี มีคุณภาพ และมีอนาคตที่สดใส สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน นับเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการพัฒนาเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของชาติให้มีคุณภาพ
       ในการดำเนินงานโครงการ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกลยุทธ์หลักให้โรงเรียนใช้ดำเนินการ 5 กลยุทธ์ (ศูนย์บริหารโครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน LSP 0019, 2548)
       กลยุทธ์ที่ 1 สร้างพลังขับเคลื่อนให้โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่ดี คล่องตัว มีประสิทธิภาพ           ส่งผลให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของสังคม
       กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะ
       กลยุทธ์ที่ 3 สร้างเสริมศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้เป็นมืออาชีพ มีทักษะในการปฏิบัติงาน สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
       กลยุทธ์ที่4 เพิ่มสมรรถนะของโรงเรียนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ และบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด
       กลยุทธ์ที่ 5 ระดมสรรพกำลังสร้างภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ที่เข้มแข็ง อันเกิดจากพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กร ประชาสังคมในรูปแบบของผู้อุปถัมภ์และผู้ร่วมคิดร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา
       วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน ได้กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 11 ข้อ ได้แก่
ด้านนักเรียน    
      1) เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์
      2) มีทักษะการดำรงชีวิต มั่นใจตนเอง
      3) มีความเป็นไทย
ด้านกระบวนการจัดการศึกษา
       4) โรงเรียนธรรมภิบาล
       5) สร้างโอกาสและดูแลช่วยเหลือนักเรียน
       6) บูรณาการกระบวนการเรียนรู้
       7) พัฒนาระบบประกันคุณภาพ
ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา  ครูมีความเป็นมืออาชีพ
       9)   E-School ด้านงบประมาณและทรัพยากร
       10) มีระบบภาคีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและผู้อุปถัมภ์
       11) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
และยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2560 ได้แก่
1) หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
2) การผลิตและพัฒนาครู
3) การทดสอบการประเมินการประกันคุณภาพและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา
4) ผลิต พัฒนากำลังคนและงานวิจัย ที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ
5) ICT เพื่อการศึกษา
6) การบริหารจัดการ
ในวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์แต่ละข้อได้กำหนดตัวชี้วัด หรือผลที่คาดหวังไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน LSP 0020, 2548)
                    ดังนั้นเพื่อให้มีการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน สามารถพัฒนาต่อยอดสู่มาตรฐานสากล และมุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน การเตรียมสู่มาตรฐานสากลการพัฒนาโรงเรียนตัวอย่าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนอื่น ๆ การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ การนำเสนอผลงาน/นวัตกรรม


  โรงเรียนหนองบอนวิทยาคม เห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของการบริหารจัดการโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลด้วยการบริหารจัดการโรงเรียนภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพทั้งองค์กร  โดยวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการในด้านต่างๆให้มีคุณภาพภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพสู่แนววิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
 
วัตถุประสงค์        1. เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนหนองบอนวิทยาคม ทั้งด้านการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
       2. เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพโรงเรียนหนองบอนวิทยาคมให้มีมาตรฐานสูงขึ้น
     3. เพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาผลิตนวัตกรรมการบริหารจัดการด้านการบริหารจัดการสู่วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
 
เป้าหมาย
    1. เป้าหมายเชิงปริมาณ
3.1.1 นักเรียนโรงเรียนหนองบอนวิทยาคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1– 6 จำนวน 210 คน
          3.1.2 ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหนองบอนวิทยาคม จำนวน 20 คน
    1. เป้าหมายเชิงคุณภาพ
    3.2.1 นักเรียนร้อยละ 80 เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณธรรม รู้จักคิดวิเคราะห์ มีทักษะการ
ดำรงชีวิต สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้
         3.2.2 ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้
สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมาะสมกับนักเรียน
         3.2.3 โรงเรียนหนองบอนวิทยาคมเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ
การเรียนรู้
         3.2.4 ผู้ปกครองและชุมชนร้อยละ 75 ให้การยอมรับเชื่อถือ และสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน
หนองบอนวิทยาคม
 
ระยะเวลา 18 ก.ย. 2561 - 18 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนหนองบอนวิทยาคม
ตัวชี้วัด ผลผลิต (Outputs)
  - ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน  ได้รับการส่งเสริมให้มีวางแผนการทำงานที่เป็นระบบจนเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ส่งผลให้ผลการปฏิบัติ
งานในด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพ
ผลลัพธ์  (Outcomes)
  - ร้อยละ 80 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการปรับปรุงระบบการบริหารจัดภายในโรงเรียนให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนหนองบอนวิทยาคม ได้รับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษา
  2. โรงเรียนหนองบอนวิทยาคมเป็นที่ยอมรับของชุมชนเพิ่มมากขึ้น
  3. โรงเรียนมีศักยภาพในการบริหารจัดการและจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วนและโรงเรียนในเครือข่ายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
  4. นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ กล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก มีทักษะในการดำรงชีวิต
สรุปคะแนนประเมิน 3.94
ไฟล์ประกอบ แบบฟอร์มสรุปโครงการในฝันสู่มาตรฐานสากล.pdf
ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
1.2 นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
1.3 ประชุมชี้แจงครูและบุคลากรฯของโรงเรียนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
 
ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  อบรม สัมมนาทบทวนแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนในฝัน จำนวน 1 วัน
กิจกรรมที่ 2 พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสู่มาตรฐานสากล
1. ด้านคุณภาพนักเรียน
     - ด้านทักษะความสามารถในการใช้สื่อเครื่องมือเพื่อแสวงหาความรู้
     - ด้านความสามารถในการคิด วิเคราะห์
     - ด้านลักษณะความเป็นไทย
2. ด้านคุณภาพครู
     - การปรับวิธีการเรียนเปลี่ยนวิธีการสอน
     - ด้านความรู้ ความเข้าใจในโครงการ
3. ด้านคุณภาพแหล่งเรียนรู้
     - ด้านคุณภาพของแหล่งเรียนรู้  มีแหล่งทั่วไป ห้องสมุด สื่อ ICT
4. ด้านคุณภาพทักษะชีวิต
     - ด้านคุณภาพกิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิต
  • ด้านลักษณะกิจกรรมการสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
  • ด้านลักษณะกิจกรรมการสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
5. ด้านคุณภาพสุขภาพอนามัย
      - ด้านอาคารสถานที่ สถานที่ออกำลังกายสื่ออุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ประกอบ กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
     - ด้านกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัย
6. ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ
     - คุณลักษณะเฉพาะของผู้บริหาร
     - การบริหารจัดการ    
     - ผลงานที่ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ขั้นติดตามผลการดำเนินงาน
3.1 นำเสนอผลงาน (1 ครู 1 นวัตกรรม)
3.2. นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน
ขั้นสรุปและรายงาน 4.1 ประชุมรายงานผลการดำเนินงาน วางแผนแก้ไขข้อผิดพลาดการดำเนินงาน
4.2 สรุปผลการดำเนินโครงการ
งบประมาณ งบประมาณ
                   ตั้งไว้   15,000.00   บาท
                    ใช้ไป    15,000.00   บาท
                 คงเหลือ         -          บาท
 
การบรรลุตัวชี้วัด
ที่ วัตถุประสงค์ของโครงการ / กิจกรรม สภาพความสำเร็จ ผลการดำเนินงาน
บรรลุ ไม่บรรลุ
1 เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนหนองบอนวิทยาคม ทั้งด้านการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ü     - ผู้ปกครองและชุมชนให้การยอมรับเชื่อถือ และสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน
  - โรงเรียนหนองบอนมีการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานทางการศึกษา
2 เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพโรงเรียนหนองบอนวิทยาคมให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ü     - นักเรียนได้รับการพัฒนาและการส่งเสริมให้บุคคลแห่งการเรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น และผลการทดสอบระดับชาติ O-Net เพิ่มขึ้นในระดับชั้นมัธยม
ศึกษาตอนต้น
   - ครูและบุคลากรทางการศึกษามีแนวการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) 
- โรงเรียนมีการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
 มีบรรยากาศและสภาพ
แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
  - ผู้ปกครองและชุมชนให้การยอมรับเชื่อถือ และสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน
3 เพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาผลิตนวัตกรรมการบริหารจัดการด้านการบริหารจัดการสู่วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ü     - ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
 


สรุปผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย / ตัวชี้วัด
 
ที่ เป้าหมาย/ตัวชี้วัดของโครงการ/กิจกรรม สภาพความสำเร็จ ผลการดำเนินงาน
บรรลุ ไม่บรรลุ
1 นักเรียนร้อยละ 80 เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณธรรม รู้จักคิดวิเคราะห์ มีทักษะการดำรงชีวิต สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ü     - นักเรียนมีการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลที่นำมาพัฒนา
การเรียนรู้และการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้
  - นักเรียนสามารถมีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลและสามารถสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2 ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมาะสมกับนักเรียน ü     - ครูและบุคลากรทางการศึกษา
มีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้สู่
การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3 โรงเรียนหนองบอนวิทยาคมเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ มีบรรยากาศและสภาพ
แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ü     - มีการจัดบรรยากาศและสภาพ
แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น
ห้องปฏิบัติการกลุ่มสาระฯ, ห้องสมุด,ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
4 ผู้ปกครองและชุมชนร้อยละ 75 ให้การยอมรับเชื่อถือ และสนับสนุนการดำเนิน
งานของโรงเรียนหนองบอนวิทยาคม
ü     - ผู้ปกครองและชุมชนให้การยอมรับเชื่อถือ และสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น การระดมทรัพยากรจากชุมชนเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและสภาพแวดล้อม

 
ความพึงพอใจ ตารางแสดงค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการดำเนินงาน/โครงการ
โครงการโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล กลุ่มงานบริหารวิชาการ

 
รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย แปลผล
 
1. ด้านทรัพยากรที่ใช้    
   1.1 ความเหมาะสมของงบประมาณ 3.28 พอใจ
   1.2 ความเหมาะสมของโครงการกับสภาพการดำเนินการจริง 3.77 พอใจมาก
   1.3 ความร่วมมือของบุคลากร ผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน / โครงการ 4.26 พอใจมากที่สุด
   1.4 ปริมาณวัสดุอุปกรณ์เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน / โครงการ 3.83 พอใจมาก
   1.5 ความเหมาะสมของสถานที่ที่ใช้ในการดำเนินงาน / โครงการ 4.64 พอใจมากที่สุด
รวม 3.96 พอใจมาก
2. ประเมินกระบวนการดำเนินงานตามกระบวนการ    
   2.1 โครงการมีการดำเนินงานตามขั้นตอนและวิธีการดำเนินโครงการ 3.55 พอใจ
   2.2 ความเหมาะสมของกิจกรรมและขั้นตอนวิธีการดำเนินโครงการ 3.53 พอใจ
   2.3 ขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินโครงการสามารถส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้ตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายเชิงคุณภาพ 3.88 พอใจมาก
   2.4 ขั้นตอนและวิธีการดำเนินโครงการมีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างผู้รับผิดชอบโครงการ / วิทยากร / ผู้เข้าร่วมโครงการ 4.03 พอใจมาก
รวม 3.74 พอใจมาก
3. ประเมินผลการดำเนินงาน    
   3.1 ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด 4.13 พอใจมากที่สุด
   3.2 ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายเชิงคุณภาพที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด 4.00 พอใจมาก
   3.3 ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายเชิงปริมาณที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด 4.41 พอใจมากที่สุด
รวม 4.18 พอใจมากที่สุด
รวม 3.94 พอใจมาก

สรุปผลการประเมินโดยเฉลี่ย (ผลรวมทุกช่องหารด้วย 12) = 3.94
          (   )  เป็นที่พอใจมากที่สุด ( 4.1 – 5.0 )                       (ü)  เป็นที่พอใจมาก ( 3.6 – 4.0 )
          (   )  เป็นที่พอใจ ( 2.5 – 3.5 )                                 (    )  ไม่เป็นที่พอใจ  ( 1.5 – 2.4 )
          (    ) ไม่เป็นที่พอใจอย่างยิ่ง ( ต่ำกว่า 1.5 )
 
ปัญหาและอุปสรรค      ควรมีการพัฒนาสื่อให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพในการใช้งานให้มากขึ้น เช่น จัดหา/ซื้อเครื่องโปรเจคเตอร์ หรือทีวีเพื่อให้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพียงพอกับการใช้การจัดการเรียนรู้
 
ข้อเสนอแนะ        1. ควรมีการพัฒนาการนำเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ และการบริหารจัดการ
      2. ควรมีการส่งเสริมเพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานทั้งด้านการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0