โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ

โรงเรียน : หาดสำราญวิทยาคม สพม.ตรัง กระบี่

ประเภท : โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)

ผลการประเมิน : 4.08

เผยแพร่เมื่อ : 28 ก.ย. 2561 โดย : รณชัย แสงเจริญกุล จำนวนผู้เข้าชม 78 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ
ประเภท โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ในปัจจุบันปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทยได้ทวีความรุนแรง และมีความหลากหลายมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อม และเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไร้พรมแดน และปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคม  ยังส่งผลถึงเด็ก เยาวชน และประชาชนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้หลงผิดและมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน ขาดระเบียบวินัย ซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันของเด็กเยาวชนและประชาชนในสังคมที่จะต้านทานกับปัญหา ต้องขาดความมั่นคงจนเกิดปัญหาต่างๆ ของสังคมตามมา เช่น สำหรับเด็กและเยาวชน ได้แก่ ปัญหาการก่อเหตุทะเลาะวิวาท ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ปัญหาการติดเกมส์  สำหรับประชาชนทั่วไป ได้แก่ปัญหาการทำงานที่ไม่มีความสุข ปัญหาความสามัคคีในองค์กร เป็นต้น
ดังนั้น โรงเรียนหาดสำราญวิทยาคม ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ตามโครงการโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต  ได้เล็งเห็นว่าวิธีการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น จะต้องอาศัยกระบวนการปลูกฝังคุณธรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา ทำให้เกิดสมาธิและสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกปฏิบัติธรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชน จะช่วยทำให้มีจิตใจพื้นฐานที่โอบอ้อมอารี มีเมตตากรุณา และมีคุณธรรม ซึ่งจะทำให้พื้นฐานทางจิตใจอยู่ในกรอบคุณธรรมและจริยธรรม  ย่อมส่งผลให้เด็กและเยาวชนเป็นคนดี และสามารถแก้ปัญหาสังคมได้ และทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

 
วัตถุประสงค์           1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน มีคุณธรรมจริยธรรมและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
          2. เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
 
เป้าหมาย 3.1 เชิงปริมาณ/ผลผลิต (OUTPUT)      
       3.1.1 นักเรียนทุกคนในโรงเรียนหาดสำราญวิทยาคม
3.2 เชิงคุณภาพ/ผลลัพธ์ (OUTCOME)
      3.2.1 นักเรียนมีอาวุธทางปัญญา มีทักษะกระบวนการคิด มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะในการดำรงชีวิตโดยใช้หลักศาสนธรรมเป็นฐาน
      3.2.2 ปัญหาด้านพฤติกรรมเชิงลบของนักเรียนในโรงเรียนลดลง
      3.2.3 เกิดโรงเรียนคุณธรรมสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงคุณธรรมต่อไป (เด็กดีสร้างได้ และพบคุณธรรมทุกพื้นที่ความดีทั้งโรงเรียน)
ระยะเวลา 1 ต.ค. 2559 - 30 ก.ย. 2560
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนหาดสำราญวิทยาคม
ตัวชี้วัด    1. นักเรียนร้อยละ 100 เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ
   2. นักเรียนร้อยละ 100 มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 8.1 นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนแบบองค์รวม ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมและความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรมด้วยความภาคภูมิใจ โดยการพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ และใช้โครงการโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ความดีความงามจากการลงมือปฏิบัติจริง
8.2 นักเรียนได้รับการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนเพื่อผลิตคนดีสู่สังคม รวมทั้งการพัฒนาโรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงคุณธรรมที่ยั่งยืนต่อไป
8.3 เกิดโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
สรุปคะแนนประเมิน 4.08
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1. ขั้นวางแผน (Plan)
    1.1 ประชุม/หารือ/รับทราบนโยบาย
แนวคิด หลักการ และวิธีการดำเนินงานการขับเคลื่อนและพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม ต้นแบบ
    1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ
ขั้นดำเนินการ 2. ขั้นปฏิบัติ (Do)
    2.1 ระดมสมองของบุคลากรทุกฝ่ายวางแผนดำเนินการโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ
    2.2 วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับจัดทำสื่อนิทรรศการโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 3. ขั้นตรวจสอบ (Check)
    3.1 นิเทศ กำกับ ติดตาม แนะนำช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมในสถานศึกษา
ขั้นสรุปและรายงาน 4. ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Act)
   4.1 สรุปผลและรายงาน
งบประมาณ ตาราง 1 การใช้จ่ายงบประมาณ
รายการ งบประมาณที่กำหนดไว้ในแผน งบประมาณที่ใช้จ่ายจริง
1.เงินอุดหนุนการศึกษา 4000 4000
2.เงินรายได้สถานศึกษา 0 0
3.อื่นๆ 0 0
รวม 4000 4000
คงเหลือ 0
   
การบรรลุตัวชี้วัด 1.ผลสำเร็จตามตัวชี้วัดความสำเร็จ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละของผลสำเร็จ
เป้าหมาย ผลการดำเนิน
1. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ 100 92
2. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 100 87
3.    
4.    
2. สรุปผลสำเร็จของโครงการ
    ผลสำเร็จของโครงการโดยรวม                               คิดเป็นร้อยละ 87.6
    ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการโดยรวม      มีค่าเฉลี่ย 4.08
                                                                          อยู่ในระดับ ดีมาก
    เกณฑ์การสรุปผลค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจ
             ค่าเฉลี่ย 0.00-1.50            หมายถึง ระดับ น้อยที่สุด
             ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50            หมายถึง ระดับ น้อย
             ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50            หมายถึง ระดับ ปานกลาง
             ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50            หมายถึง ระดับ มาก
             ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00            หมายถึง ระดับ มากที่สุด
ความพึงพอใจ ตาราง 2 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม/แบบประเมิน
ข้อมูลทั่วไป จำนวน (คน) ร้อยละ
1. เพศ
    1.1 ชาย
    1.2 หญิง

8
27

22.86
77.14
รวม 35 100
2. อายุ
    2.1 น้อยกว่า 25 ปี
    2.2 25-35 ปี
    2.3 36-45 ปี
    2.4 มากกว่า 45 ปี

10
17
8
0

28.57
48.57
22.85
รวม 35 100
จากตาราง 2 พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีจำนวน 27 คน (ร้อยละ 77.14) อายุ 25-35 ปี มีจำนวน 17 คน (ร้อยละ 48.57) รองลงมา 36-45 ปี มีจำนวน  8 คน (ร้อยละ 22.85) ฯลฯ ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในของผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม
รายการประเมิน S.D. ร้อยละ ระดับความพึงพอใจ
1. ความรู้ ความสามารถของวิทยากร
2. ระยะเวลาของโครงการ
3. สถานที่ในการจัดกิจกรรมเหมาะสม 
4. กิจกรรมมีประโยชน์ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วม
5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ได้
3.84
4.25
3.71
4.22

4.38
  77
85
74.2
84.4

87.6
ดีมาก
ดีมาก
ดีมาก
ดีมาก

ดีมาก
รวม 4.08   81.64 ดีมาก
จากตาราง 3 พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม มีความพึงพอใจในการจัดโครงการในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.08  (ร้อยละ 81.64) 
ปัญหาและอุปสรรค 1) ครูผู้รับผิดชอบโครงการไม่ได้ติดตามการดำเนินงานของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากติดภารกิจ ทำให้การดำเนินงานไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
ข้อเสนอแนะ 1) กำหนดเวลาในการติดตามการดำเนินงานให้ชัดเจน
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0