โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

โรงเรียน : ทวีธาภิเศก สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 18 มี.ค. 2562 โดย : กลุ่มบริหารงบประมาณและแผนงาน ทวีธาภิเศก จำนวนผู้เข้าชม 53 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน

     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา สถานศึกษามีภารกิจหลัก คือ การจัดการศึกษาแก่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดบรรยากาศทางวิชาการ ทำให้สถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาห้องสมุดให้มีความทันสมัยและมีแหล่งความรู้ที่หลากหลายกว้างขวางจึงเป็นเรื่องสำคัญ ห้องสมุดดิจิตอลเป็นแนวทางหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงแหล่งสารสนเทศที่อยู่หลายๆ แหล่งและการเชื่อมโยงนั้นไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ใช้และสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างกว้างขวางเป็นสากล คอลเลคชั่นที่เก็บไม่จำกัดเฉพาะเอกสาร แต่ยังครอบคลุมถึงวัสดุดิจิตอลอื่น ๆ ที่สร้างขึ้น ซึ่งไม่อยู่ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ องค์ประกอบของห้องสมุดดิจิตตอล ได้แก่ ส่วนเชื่อมต่อ ผู้ใช้ (User interface) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนสำหรับผู้ใช้และส่วนสำหรับผู้ควบคุมโดยผู้ใช้สามารถใช้เว็บบราวเซอร์ในการติดต่อกับส่วนบริการผู้ใช้ได้
     ชอง เปียเจีย์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาผู้ริเริ่มการปฏิวัติวิธีการเรียนรู้ภายใต้ทฤษฎี Constructivism มีความคิดว่า “เด็กๆ ไม่ใช่ท่อที่ว่างเปล่าที่ผู้ใหญ่จะเทข้อมูลและความรู้ต่างๆ เข้าไป เด็กคือผู้สร้างความฉลาดและการเรียนรู้ ของเขาเอง” นั่นหมายความว่าเด็กๆมีความสามารถในการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวและสภาวการณ์ต่างๆ ที่เด็กเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งล้วนแต่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เด็กต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่ทรงอิทธิพลอย่างอินเทอร์เน็ตและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นมาหลากหลายรูปแบบแวดล้อมอยู่อย่างเป็นระบบ บางครั้งจึงถูกเรียกว่าระบบนิเวศน์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronicsecosystem) ทั้งนี้นักอนาคตศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าในปี คริสตศักราช 2016 ร้อยละ 90 ของคนทั่วโลกแม้จะอยู่ในถิ่นทุรกันดารก็จะมีอินเทอร์เน็ตใช้ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ใหญ่ควรทำคือการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีและจัดวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก สำหรับสิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญได้แก่ ส่วนแรกคือผู้เรียนซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพ เพื่อความบันเทิง เป็นต้น ส่วนต่อมาคือแหล่งการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าถึงความรู้ เช่น แหล่งธรรมชาติ องค์ความรู้ของบุคคล แหล่งที่จัดเก็บรวบรวมองค์ความรู้ไว้อย่างเป็นระบบ เป็นต้น และส่วนสุดท้ายคือวิธีการเรียนรู้ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จนก่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในตนเอง ขณะเดียวกันการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ส่งผลกระทบต่อการศึกษาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการลดข้อจำกัดทั้งด้านระยะทางและเวลาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีของการเรียนรู้  มีแนวโน้มที่เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้หลายอย่างจะถูกผนวกเข้าด้วยกัน ( Convegance)  อันจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงเรียนจึงมีโครงการพัฒนาห้องสมุดให้มีความทันสมัยและตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
 
 
วัตถุประสงค์ เพื่อจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่ดี และกระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
 
เป้าหมาย  เชิงปริมาณ
       ผู้เรียน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากร เข้าใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้อย่างน้อย 100 คนต่อวัน  
เชิงคุณภาพ
      ผู้เรียน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากร มีความพึงพอใจต่อการให้บริการในระดับดีร้อยละ 90
 
ระยะเวลา 16 พ.ค. 2561 - 29 มี.ค. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนทวีธาภิเศก
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการวัดและประเมิน เครื่องมือ
ผลผลิต    
ผู้เรียน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากร เข้าใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้อย่างน้อย 100 คนต่อวัน  - การสำรวจจำนวนผู้เข้าใช้ห้องสมุด - สถิติการใช้ห้องสมุด
     
ผลลัพธ์    
ร้อยละของผู้เรียน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากร มีความพึงพอใจต่อการให้บริการในระดับดี - ประเมินความพึงพอใจ - แบบประเมินความพึงพอใจ
     
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ห้องสมุดมีความทันสมัยและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
 2. โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0