โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โรงเรียนดีประจำตำบล

โรงเรียน : บ้านบึงมนูญวิทยาคาร สพม.ชลบุรี ระยอง

ประเภท : โรงเรียนดีศรีตำบล

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 29 ก.ค. 2563 โดย : นางสาวนลินี  ทับวิเชียร จำนวนผู้เข้าชม 12 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โรงเรียนดีประจำตำบล
ประเภท โรงเรียนดีศรีตำบล
ปีการศึกษา 2563
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา               โรงเรียนบ้านบึง “มนูญวิยาคาร” ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับนโยบายดำเนินการโครงการ 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ หรือโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ที่เน้นการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้คัดเลือกโรงเรียนบ้านบึง  “มนูญวิทยาคาร”  ให้เป็นโรงเรียนดีประจำตำบล  โดยเป็นโรงเรียนของชุมชนสามารถจัดการเรียนการสอนตามบริบทของพื้นที่ได้  เน้นการบริหารจัดการ และเป้าหมายหลักของการเป็นโรงเรียนดีประจำตำบลคือ  การจัดการเรียนการสอนจะต้องตอบโจทย์ประเทศ และสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)
2. เพื่อบริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เกิดความเท่าเทียมและครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
3. เพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นต้นแบบ ที่มีความพร้อมในการให้บริการทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เป็นการสร้างโรงเรียนให้มีความพร้อมในด้านการจัดการเรียนการสอน มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้บริหารและครูที่มีประสิทธิภาพ
4. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้กับผู้เรียน ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง
5. เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่ โรงเรียนกลายเป็นศูนย์รวม หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน คนในชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ตลอดจนสามารถสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนในการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน
 
เป้าหมาย 1. เชิงปริมาณ
       1.1 นักเรียนทุกคนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
      1.2 นักเรียนทุกคนมีความพร้อมในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพในอนาคต
      1.3 นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน              

2. เชิงคุณภาพ
       2.1 นักเรียนทุกคนได้รับความรู้และมีทักษะในการดำรงชีวิต
     2.2 นักเรียนทุกคนมีความพร้อมในการศึกษาต่อ
        2.3 นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน
ระยะเวลา 1 ก.ค. 2563 - 30 เม.ย. 2564
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านบึง
ตัวชี้วัด 1.โรงเรียนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
2.โรงเรียนมาตรฐานสากล
3. โรงเรียนโรงเรียนการจัดการศึกษาร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา)
4. เครือข่ายโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราช-วิทยาลัย ชลบุรี
5. โรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนได้รับความรู้ มีความสามารถตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน    
2. ได้เป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาในชุมชน
3. ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชน
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1 การวางแผน (Plan)
            1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
          1.2 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์/เป้าหมายของโครงการ
          1.3 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการทำงาน    
 
ขั้นดำเนินการ

1. ดำเนินงานตามแผนของแต่ละกิจกรรมที่กำหนดไว้ (Do)
      1.1 ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ปฏิบัติงานด้วยความพร้อมในทุกด้าน ทั้งสมรรถนะ ศักยภาพ และความสามารถในการบริหารจัดการ
มีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริหาร การจัดการเรียนการสอน สร้างคลังนวัตกรรมการเรียนการสอน คลังความรู้อย่างเป็นรูปธรรม
       1.2 สร้างโอกาสทางการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ให้กับเยาวชน ที่ขาดแคลนได้เติบโตเป็นพลเมืองดี มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ
       1.3 ส่งเสริมนักเรียนมีการพัฒนาด้านสติปัญญา (Intelligence Quotient) ความฉลาด ทางอารมณ์ (Emotional Quotient) มีทัศนคติ (Attitude) มีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย (Physical)
       1.4 ส่งเสริมนักเรียนมีการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความรัก หวงแหนและความภูมิใจในชาติ โดยใช้แนวคิดแบบ STAR STEMS และแนวทางโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ปฏิบัติตามค่านิยม 12 ประการ เพื่อปลูกฝังความเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ (Moral Quotient)
        1.5 สร้างความร่วมมือระหว่าง เอกชน บ้าน วัด/ศาสนสถานอื่นๆ รัฐ และโรงเรียน อย่างเป็นรูปธรรมและมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ขั้นตรวจสอบประเมินผล

1. ตรวจสอบ/นิเทศติดตาม/ประเมินผล (Check)
     1.1 นักเรียนได้รับความรู้ มีความสามารถตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
     1.2 
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและผลการสอบ Onet
      1.3 การให้ความร่วมมือระหว่าง เอกชน บ้าน วัด/ศาสนสถานอื่นๆ รัฐ และโรงเรียน อย่างเป็นรูปธรรมและมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ขั้นสรุปและรายงาน

1. การปรับปรุง (Act)
        1.1 นำข้อมูลที่ได้พบจากการประเมินมาแก้ไขหรือพัฒนาให้ดีขึ้น ใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับในการดำเนินกิจกรรมในปีต่อไป
        1.2 รายงานผลทางระบบออนไลน์
        
1.3 รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการให้ฝ่ายบริหารรับทราบ และพิจารณาการดำเนินโครงการในปีต่อไป

งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0