Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

โรงเรียน : ระยองวิทยาคม สพม.ชลบุรี ระยอง

ประเภท : โรงเรียนนำร่องโครงการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 20 มี.ค. 2562 โดย : supattra panichnava จำนวนผู้เข้าชม 48 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ประเภท โรงเรียนนำร่องโครงการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ตามที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการได้นำพระราชดำรัสของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีในเรื่องการศึกษาว่า การจัดการศึกษาต้องดูภาพรวมทั้งประเทศเพราะทุกวันนี้การศึกษาค่อนข้างอ่อนแอ และมุ่งเน้นการเรียน การสอนเนื้อหาบางเรื่องมากเกินไปทรงมีพระราชดำริให้มีการนำองค์ 4 แห่งการศึกษา คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษาและหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ หมายถึง การฟัง การคิด การถาม และการเขียนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของนักปราชญ์และบัณฑิต อีกทั้งยังจะเป็นเทคนิคในการช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนเก่งมากขึ้น โดยทรงมีพระราชดำริให้นำทั้งสองเรื่องมาใช้ในการจัดการศึกษาแนวทางการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม จึงทำให้รัฐบาลได้นำมากำหนดเป็นนโยบายหนึ่ง คือการลดเวลาเรียนภาควิชาการลง แต่ต้องไม่กระทบเนื้อหาหลักที่เด็กๆ ควรเรียนรู้เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมเข้าสู่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของไทยนั้นสอดคล้องกับของหลายประเทศที่เป็นผู้นำด้านการศึกษาของโลก ที่เห็นพ้องกันกับแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 เรื่องของจิตสำนึกต่อโลกความรู้พื้นฐานการประกอบสัมมาอาชีพ ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อันได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี ทักษะการทำงาน ทักษะชีวิตที่ใช้ได้จริง นอกจากนั้นจากผลการสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร และผลการใช้หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานตลอดจนผลการประเมินคุณภาพการศึกษาต่าง ๆ พบว่าผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งผลการทดสอบ ระดับชาติ (O-NET)ผลการสอบ PISA ทั้ง ๆ ที่โรงเรียนใช้เวลาจัดการเรียนการสอนมากขึ้น เป็นเวลา 7 หรือ 8 ชั่วโมงต่อวันเด็กคิดไม่เป็น วิเคราะห์ไม่ได้ ขาดทักษะชีวิต อัดแน่นเนื้อหาวิชาการมากกว่าให้เรียนรู้ด้วยตนเองเด็กนักเรียนมีภาระงาน การบ้านมากเกินไป หรือต้องนำการบ้านไปทำที่บ้าน เด็กเครียดและต้องเรียนพิเศษมาก (สำนักวิชาการและมาตรฐาน,2558) จากที่กล่าวข้างต้นโรงเรียนระยองวิทยาคมจึงเข้าร่วมโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”เพราะเล็งเห็นคุณค่าของโครงการที่จะพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ทั้ง 4ด้าน คือ Heart Hand Head Health รวมข้อมูล จึงจัดทำโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาให้ทันสมัย เป็นปัจจุบันและครบถ้วน
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายตามโครงการ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ
สพฐ. และการบริหารจัดการเวลาเรียน ทั้งด้านวิชาการ และด้านปฏิบัติ
2. เพื่อขับเคลื่อนการนำหลักสูตรสถานศึกษา ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการ
ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มี
คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑
3. เพื่อนักเรียนพึงพอใจที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจและถนัดของตนเอง
และพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพและทักษะทั้ง ๔ ด้าน คือ Heart Hand Head Health
เป้าหมาย เชิงปริมาณ
1. นักเรียนทุกคนมีความพึงพอใจที่มีอิสระในการวางแผนกิจกรรมด้วยตนเองจึงทำให้นักเรียนมีความตั้งใจทำกิจกรรมให้บรรลุกิจกรรมของตนเอง
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ได้ให้คำแนะนำติดตามผลการทำกิจกรรมของนักเรียนอย่างมีระบบและต่อเนื่อง
3. ผู้ปกครองทุกคนให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการดำเนินงาน
เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนทุกคนมีความพึงพอใจในระดับดีในการวางแผนกิจกรรมด้วยตนเอง และผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้ให้คำแนะนำติดตามผลการทำกิจกรรมของนักเรียนอย่างมีระบบและต่อเนื่อง
3. ผู้ปกครอง และชุมชนให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการดำเนินงานในระดับดี
ระยะเวลา 1 พ.ค. 2561 - 30 เม.ย. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนระยองวิทยาคม
ตัวชี้วัด 1. นักเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไปมีทักษะการแสวงหาความรู้
2. นักเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไปมีคุณลักษณะมุ่งมั่นในการศึกษาและการทำงาน
3. นักเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไปมีทักษะชีวิต
4. นักเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไปมีคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1 นักเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด
2 นักเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป มีความพึงพอใจในระดับดีในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง
3 ครูผู้สอนร้อยละ 80 ขึ้นไป มีความพึงพอใจในระดับดีในการทำกิจกรรมของนักเรียน
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ