Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการพัฒนาเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมภิบาล ในโรงเรียน (โรงเรียนสุจริต)

โรงเรียน : กระบุรีวิทยา สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง

ประเภท : โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)

ผลการประเมิน : 4.00

เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ค. 2563 โดย : จิดาภา อาวุธเพชร จำนวนผู้เข้าชม 3931 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมภิบาล ในโรงเรียน (โรงเรียนสุจริต)
ประเภท โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา                                                     ความเป็นมาโครงการโรงเรียนสุจริต
โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา “ป้องกันการทุจริต” (ภายใต้ชื่อ “โรงเรียนสุจริต”) เกิดขึ้นเนื่องจาก ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 2 (พ.ศ.2556 – 2560) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “สังคมไทยมีวินัย โปร่งใส ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมและร่วมกันป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต เป็นที่ยอมรับในระดับสากล” มีเป้าหมายหลักเพื่อลดปัญหาการทุจริต ในสังคมไทยและ ยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของคนไทยให้สูงขึ้น อันจะส่งผลต่อค่าดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (Corruption Perception Index : CPI) ของประเทศไทยให้สูงขึ้น โดยตั้งค่าเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2560 (โดยในปี 2556 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้คะแนนความโปร่งใสเพียงร้อยละ 35 คะแนน อยู่อันดับที่ 102 จากการจัดอันดับ ทั้งหมด 177 ประเทศทั่วโลก เท่ากับประเทศเอกวาดอร์ มอลโดวา และปานามา) นอกจากนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ยัง ได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินการไว้ 5 ยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายใน 4 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มเด็กเยาวชน โดยการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วน ตนให้เกิดความเข้มแข็งมากที่สุดเพราะเป็นอนาคตของชาติ
2) กลุ่มภาครัฐ เสริมสร้างและสนับสนุนให้ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยึดถือหลักปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม ในการปฏิบัติหน้าที่
3) กลุ่มภาคเอกชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรและเข้ามามีส่วนร่วม ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
4) กลุ่มภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกหมู่เหล่าในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต
         นับเป็นความพยายามที่ดีของ สำนักงาน ป.ป.ช. และภาคีทุกภาคส่วนโดยเฉพาะองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ในการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต เพื่อใช้เป็นกรอบชี้นำใน การดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริตของประเทศ จะเห็นได้ว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงและเป็นอุปสรรคสำคัญต่อ การพัฒนาประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในฐานะองค์การที่รับผิดชอบงาน จัดการศึกษาเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต ได้ตระหนักในความสำคัญของ การเตรียมการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถานศึกษา จึงอนุมัติให้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัด การศึกษา ดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา “ป้องกันการทุจริต” (ภายใต้ชื่อ“โรงเรียนสุจริต”) โดยให้ความสำคัญกับการเตรียมการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตใน สถานศึกษา เพื่อวางรากฐานการปลูกจิตสำนึกซึ่งเป็นกลไกในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ ประเทศชาติ
วัตถุประสงค์     1  เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา“ป้องกันการทุจริต”    
   2  เพื่อปลูกฝังนักเรียนให้มีทักษะกระบวนการคิด  มีวินัย  ซื่อสัตย์สุจริตอยู่อย่างพอเพียงและมีจิตสาธารณะ                                          
เป้าหมาย เป้าหมายเชิงปริมาณ         
นักเรียน  ครูและผู้บริหารโรงเรียนทุกคน ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งโรงเรียน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ         
นักเรียน  ครู ผู้บริหารโรงเรียน มีจิตสำนึกความเป็นไทย มีความสุจริต มีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย  ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ 
    
ระยะเวลา 13 ก.ย. 2561 - 13 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนกระบุรีวิทยา
ตัวชี้วัด 1. นักเรียนมีกระบวนการเรียนรู้ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และป้องกันการทุจริต
2. ครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต
3. นักเรียน ครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา รู้เท่าทัน ร่วมคิดป้องกันการทุจริต
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.นักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล   ในสถานศึกษา“ป้องกันการทุจริต”     
2.นักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ในโรงเรียนกระบุรีิทยาที่ร่วมโครงการ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านทักษะการคิด  มีวินัย  ซื่อสัตย์สุจริต  อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ        
 
สรุปคะแนนประเมิน 4.00
ไฟล์ประกอบ หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา....pdf
หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
ขั้นเตรียมการ
        โรงเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการฯ ระดับโรงเรียนเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบและประสานงานระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานให้ผู้ที่ได้รับการอบรมการดำเนินงานจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการขยาย ผลแนวทางการดำเนินงานโครงการให้กับครู นักเรียน และบุคลากรภายในโรงเรียน ให้มีความเข้าใจโครงการฯ ร่วมกัน
             รูปแบบการจัดกิจกรรมโรงเรียนสุจริต
1. กิจกรรมร้องเพลงชาติไทย บุคลากร ครู นักเรียน ภายในโรงเรียน มีการยืนตรงเคารพธงชาติ ทุกวัน ในระหว่างกิจกรรมหน้าเสาธง หรือเวลา 08.00 และ 18.00 ทุกวัน และควรมีขั้นตอนการร้องเพลงชาติไทย ในขั้นตอนแรกก่อนการดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ภายในโรงเรียน
2. กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ บุคลากร ครู นักเรียน ภายในโรงเรียน มีการสวดมนต์ไหว้พระ ทุกวัน ในระหว่างกิจกรรมหน้าเสาธงหรือช่วงเวลาอื่น ๆ ตามความเหมาะสม และควรมีขั้นตอนการสวดมนต์ไหว้พระ หลังร้องเพลงชาติไทย ในขั้นตอนแรกก่อนการดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ภายในโรงเรียน
3. กิจกรรมกล่าวคำปฎิญญาโรงเรียนสุจริต บุคลากร ครู นักเรียน ภายในโรงเรียน มีการกล่าวคำ ปฎิญญาโรงเรียนสุจริต ทุกวัน ในระหว่างกิจกรรมหน้าเสาธง และควรมีขั้นตอนการกล่าวคำปฎิญญาโรงเรียนสุจริต หลังร้องเพลงชาติไทยและการสวดมนต์ไหว้พระ ในขั้นตอนแรกก่อนการดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ภายในโรงเรียน

         
ขั้นดำเนินการ กิจกรรมการดำเนินงาน  
           กิจกรรมที่ 1  สร้างความตระหนัก (Awareness)
  1. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคลากรในโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ
  2. ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความเข้าใจโครงการ
           กิจกรรมที่ 2  รักความสุจริต (Good faith efforts)
  1.  จัดค่ายเยาวชนคนดีของแผ่นดิน
           กิจกรรมที่ 3  พิชิตคุณธรรม (Virtue)
  1.   นิเทศ ติดตาม ประเมินผล โครงการ
  2.   นำเสนอ / แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นวัตกรรม โรงเรียนสุจริต
ขั้นตรวจสอบประเมินผล งบประมาณ       3,000   บาท  (สามพันบาทถ้วน)
            รายละเอียดการใช้งบประมาณตามกิจกรรม โดยขอถัวจ่ายตามที่จ่ายจริงทุกรายการ ดังนี้
 
กิจกรรมและรายละเอียดการใช้งบประมาณ จำแนกตามหมวดรายจ่าย หมายเหตุ
ตอบแทน ใช้สอย วัสดุ รวม
1.สร้างความตระหนัก (Awareness)
    1) ประชาสัมพันธ์เชิญชวนเข้าร่วมโครงการ
    2) ประชุมปฏิบัติการสร้างความเข้าใจโครงการ
  




 


 3,000

 
  3.000  
                        รวมทั้งสิ้น   3,000 - 3,000  
ขั้นสรุปและรายงาน การประเมินผลความสำเร็จของโครงการ
 
ที่ ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือ
1.

   

2.
3.



4.
ร้อยละ 100 ของโรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ป้องกันการทุจริต (โครงการโรงเรียนสุจริต)

ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีความสำนึกในความเป็นไทย
ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีความสุจริต มีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ     
ร้อยละ 80 ของผู้บริหาร ครูและนักเรียน
มีผลงานแสดงความสำเร็จ และเป็นแบบอย่างได้
 
1. ประเมิน
2. นิเทศ ติดตาม
3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. แบบประเมิน
2. แบบสอบถาม
3. บันทึกการนิเทศ
งบประมาณ งบประมาณ  3,000  บาท
การบรรลุตัวชี้วัด 1) ต้องจัดกิจกรรมเพื่อการปลูกจิตสำนึกให้ครูและบุคลากรเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์และความเสียหายจากการทุจริตเพื่อจูงใจให้ทุ่มเท เสียสละในการดำเนินกิจกรรมอย่างเต็มกำลังความสามารถ
2) โรงเรียนควรจัดการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริตให้กับสถานศึกษาในสังกัดและบุคคลทั่วไปรับทราบอย่างจริงจัง ทั่วถึงและขอความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางที่วางไว้
4) โรงเรียนต้องพัฒนาเครื่องมือในการประเมินคุณลักษณะของโรงเรียนสุจริตเพื่อมาใช้ในการประเมินพฤติกรรมนักเรียน
5) โรงเรียน โดยครูและบุคลากรต้องดำเนินการพัฒนา ต่อยอดคุณลักษณะของโรงเรียนสุจริต ให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลที่ยั่งยืน
 
ความพึงพอใจ ผลการจัดการเรียนรู้ในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง
ปัญหาและอุปสรรค 1) เวลาในการดำเนินกิจกรรมมีจำกัด การดำเนินที่เป็นลำดับขั้นตอนและมีระยะเวลากำหนดที่แน่นอน ทำให้การดำเนินงานต้องเร่งรัดดำเนินการ
2) ครูและบุคลากรมีภาระงานมาก ส่งผลถึงการแบ่งเวลาเพื่อการดำเนินงานโรงเรียนสุจริตมีน้อย
3) โรงเรียนอื่น ๆ และบุคคลทั่วไป รับรู้การดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริตไม่กว้างขวาง มักมีคำถามเกี่ยวกับการคัดเลือกโรงเรียนเพื่อเข้าร่วมโครงการ แนวทาง เป้าหมายของการดำเนินโครงการ
 4) ขาดเครื่องมือที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในการประเมินพฤติกรรมตามคุณลักษณะของโรงเรียนสุจริตในตัวนักเรียน
 5) พฤติกรรมตามคุณลักษณะของโรงเรียนสุจริตในตัวนักเรียน ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมอาจไม่ชัดเจนและไม่คงทน
 
ข้อเสนอแนะ 1) การพัฒนาพฤติกรรมและคุณลักษณของโรงเรียนสุจริตให้เกิดในตัวนักเรียนนั้นหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอนไม่ควรเน้นเฉพาะความรู้ในภาคทฤษฎีและวิธีบรรยายในห้องเรียน  เพราะความเป็นพลเมืองที่ดี ที่มีวิถีชีวิตซื่อสัตย์สุจริต นั้น ต้องมี วินัย ความเคารพตนเอง เคารพผู้อื่น เคารพกติกา มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความพอเพียง การได้มาซึ่งคุณลักษณะดังกล่าว จะต้องจัดการเรียนรู้แบบคิด วิเคราะห์ ฝึกฝนผ่านกิจกรรมเชิงกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มร่วมกัน
 2) การดำเนินกิจกรรมที่ต้องการให้สภานักเรียนแสดงบทบาทนำในการสร้างแหล่งเรียนรู้และเป็นแกนนำในการเสริมสร้างค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริตนั้น จำเป็นต้องมีครูที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งในเรื่องการจัดทำแหล่งเรียนรู้และความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตควบคู่กันไป
3) การให้นักเรียน เรียนรู้ผ่านกิจกรรมเพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง โดยเฉพาะกิจกรรมในเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตให้กับผู้เรียน โดยเลือกจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับระดับชั้นและวัยของนักเรียน ทั้งนี้เพราะประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม มีมากมาย เช่น การใช้ชีวิตร่วมกันในกลุ่ม  การทำงานเป็นหมู่คณะ ทักษะชีวิต  ภาวะผู้นำ  ทักษะการคิด  ความรับผิดชอบ เป็นต้น
4) ครูและบุคลากรที่ผ่านกระบวนการคัดสรรและพัฒนาด้วย นำไปสู่การปฏิบัติกิจกรรมได้ผลดี  โรงเรียนสามารถนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ของโรงเรียนได้
 
รูปภาพประกอบ