โรงเรียน : เขาย้อยวิทยา สพม.เพชรบุรี
ประเภท : โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม
ผลการประเมิน : 4.00
เผยแพร่เมื่อ : 13 ก.ย. 2561 โดย : allteacher khaoyoi จำนวนผู้เข้าชม 94 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสร้างสื่อ/แบบเรียนอักษรเบรลล์ สาระคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย | |||||||||||||||
ประเภท | โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม | |||||||||||||||
ปีการศึกษา | 2560 | |||||||||||||||
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ |
|||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบ | ||||||||||||||||
ความเป็นมา | สืบเนื่องสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชกระแสรับสั่ง ในเรื่องการศึกษาของนักเรียนตาบอดที่จำกัดอยู่ในสายศิลป์ และทรงให้การสนับสนุนนักเรียนตาบอดได้เข้าเรียนสายวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเช่นเดียวกับนักเรียนตาบอดในประเทศอื่นๆ ตั้งแต่ ปี 2548 และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพพระราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระชนมายุ 5 รอบ 60 พรรษาในปี พ.ศ.2558 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงจัดให้มีโรงเรียนนำร่องห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนตาบอดขึ้นในประเทศไทย จำนวน 6 แห่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการที่มีศักยภาพสูง เป็นศูนย์การแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการในระดับภูมิภาค และเพิ่มโอกาสให้นักเรียนตาบอดที่มีศักยภาพที่เน้นเรียนสาขาวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษาสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ได้กำหนดสิทธิและโอกาสของประชาชนในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐต้องจัดให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เด็กและเยาวชนพิการทุกประเภทมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ และพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 ที่กล่าวถึงสิทธิทางการศึกษาของคนพิการในการได้รับโอกาสและบริการทางการศึกษาในทุกระบบและทุกรูปแบบที่หลากหลายอย่างมีคุณภาพและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้มีนโยบายพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม (Mainstreaming) ไปสู่การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive education) และจากการทดลองสนับสนุนทุนแก่นักเรียนตาบอดของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) พบว่า นักเรียนตาบอดเรียนร่วมสามารถเข้าเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ระดับอุดมศึกษาและหลายคนมีผลคะแนนเฉลี่ยจบการศึกษาในระดับดีมากและเป็นนักศึกษาพิการตัวอย่างที่สถาบันยกย่องชื่นชมที่ลงทะเบียนเรียน ในวิชาที่ยากสุดและได้คะแนนระดับดีเยี่ยมมากกว่านักเรียนสายตาปกติเท่าที่เปิดสอนมา ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงให้ความสำคัญและต้องการเพิ่มขีดความสามารถจะจัดการศึกษาเรียนร่วมสำหรับนักเรียนตาบอดที่เน้นเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีคุณภาพในประเทศไทย ในระยะแรกเน้นการเตรียมความพร้อมโรงเรียนนำร่อง สร้างความเข้มแข็งให้แก่ครูผู้สอน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ให้นักเรียนตาบอดได้รับโอกาสและสิทธิการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สื่อทดลอง สื่อจำลอง สื่อของจริง วัสดุและอุปกรณ์ มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสส่วนเหลือเรียนรู้มากที่สุด และที่สำคัญได้รับสิทธิบริการการช่วยเหลือสนับสนุนในชั้นเรียนจากเพื่อนและครู มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนเช่นเดียวกับเพื่อนชั้นเรียน |
|||||||||||||||
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อเตรียมความพร้อมด้านวิชาการแก่นักเรียนตาบอด ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้เรียนรู้ และฝึกทักษะการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 2. เพื่อให้นักเรียนตาบอดทุกคนเข้าถึงสาระวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันหรือศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อสนับสนุนนักเรียนตาบอดที่มีศักยภาพและมีความสามารถในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ได้เข้าเรียนในห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนนำร่อง 6 แห่ง และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือระดับอุดมศึกษาตามศักยภาพ 4. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการในประเทศไทย |
|||||||||||||||
เป้าหมาย | 1. เชิงปริมาณ 1. นักเรียนพิการและนักเรียนตาบอดในโรงเรียนนำร่องห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา สำหรับนักเรียนตาบอดที่เน้นการเรียนวิทยาศาสตร์ ใน 6 โรงเรียน 2. โรงเรียนเครือข่ายหรือโรงเรียนคู่พัฒนาที่รองรับการให้บริการการจัดการแบบเรียนรวม สำหรับนักเรียนตาบอดเรียนร่วมที่เน้นเรียนวิทยาศาสตร์ รวม 12 โรง (ระดับประถมศึกษา 1 แห่ง และระดับมัธยมศึกษา 1 แห่งของโรงเรียนเป้าหมาย 2. เชิงคุณภาพ 1. นักเรียนพิการและนักเรียนตาบอดได้เรียนรู้ผ่านสื่อสัมผัส สื่อทดลอง สื่อจำลองและเข้าถึงสาระวิชาที่เรียนรู้ตามศักยภาพรายบุคคลด้วยสื่อที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะนักเรียนตาบอดที่มีความสามารถพิเศษ 2. โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษที่เป็นรูปธรรมมีประสิทธิภาพ และขยายผลสู่นักเรียนตาบอดในโรงเรียนเครือข่ายหรือคู่พัฒนาหรือโรงเรียนอื่นๆ ได้อย่างมีคุณภาพ |
|||||||||||||||
ระยะเวลา | 1 ต.ค. 2560 - 30 มิ.ย. 2561 | |||||||||||||||
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนเขาย้อยวิทยา จ.เพชรบุรี | |||||||||||||||
ตัวชี้วัด |
|
|||||||||||||||
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | 1. นักเรียนตาบอดและนักเรียนพิการ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความรู้ ทักษะ และได้รับบริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนสาระวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามแผนการเรียนสาระวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 2. นักเรียนตาบอดและนักเรียนพิการได้เรียนรู้ผ่านสื่อ และประสาทสัมผัสที่เหลืออยู่อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ และมีความพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมากขึ้น 3. นักเรียนตาบอดที่มีศักยภาพและความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้เข้าเรียนในห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนนำร่อง 6 โรงเพิ่มขึ้น 4. โรงเรียนจัดการเรียนร่วมมีการเตรียมความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการบริการจัดการเรียนร่วมสำหรับนักเรียนตาบอดมากขึ้น |
|||||||||||||||
สรุปคะแนนประเมิน | 4.00 | |||||||||||||||
ไฟล์ประกอบ |
แบบรายงานผลการดำเนินงานโครงการ |
|||||||||||||||
ขั้นเตรียมการ | จัดประชุมให้มีผู้รับผิดชอบดำเนินการโครงการที่ชัดเจน ได้แก่ คำสั่ง แนวปฏิบัติสำหรับครูผู้สอน ครูผู้สอน ผู้ช่วยเหลือ กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน |
|||||||||||||||
ขั้นดำเนินการ | จัดทำไฟล์/แบบเรียนสำหรับนักเรียนตาบอดเข้าถึงได้ ครูและนักเรียนตาบอดใช้ประโยชน์ร่วมกันในคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ส่งสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยทำคู่ขนานกับโรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี |
|||||||||||||||
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | อบรมพัฒนาครูผู้สอน บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคน ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่อนักเรียนพิการ เทคนิคการสอน การผลิตสื่อสนับสนุนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) |
|||||||||||||||
ขั้นสรุปและรายงาน | 1.นักเรียนตาบอด ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความพร้อมด้านวิชาการ ได้เรียนรู้ และฝึกทักษะการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 2.นักเรียนตาบอดทุกคนเข้าถึงสาระวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันหรือศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างมีประสิทธิภาพ 3.นักเรียนตาบอดที่มีศักยภาพและมีความสามารถในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ได้เข้าเรียนในห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนนำร่อง 6 แห่ง และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือระดับอุดมศึกษาตามศักยภาพ 4. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการในประเทศไทย |
|||||||||||||||
งบประมาณ | งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ จำนวน 100,000 บาท | |||||||||||||||
การบรรลุตัวชี้วัด | ||||||||||||||||
ความพึงพอใจ | ||||||||||||||||
ปัญหาและอุปสรรค | เนื่องจากการผลิตสื่ออักษรเบลล์ต้องมีผู้ชำนาญการตรวจสอบอักษรก่อนการใช้งาน ทางโรงเรียนยังขาดบุคลากรทางด้านนี้ทำให้การผลิตสื่อมีความล่าช้าไปบ้าง |
|||||||||||||||
ข้อเสนอแนะ | จะผลิตสื่ออักษรเบลล์ให้มากขึ้น จะพยายามให้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้ |
|||||||||||||||
รูปภาพประกอบ |