Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

ศูนย์การจัดการเรียนรู้การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบึงกาฬ

โรงเรียน : บึงกาฬ สพม.บึงกาฬ

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 26 ก.ย. 2561 โดย : ชไมพร วรรณสุทธะ จำนวนผู้เข้าชม 95 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ศูนย์การจัดการเรียนรู้การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบึงกาฬ
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ในสถานการณ์ปัจจุบัน สังคมไทย ต้องมีการปรับตัวเรียนรู้การดำรงชีวิตเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยต่างๆที่เข้ามามีผลต่อสังคม การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระราชทานให้กับพสกนิกรชาวไทยไว้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต ดังนั้นการเรียนรู้ ทำความเข้าใจในหลักการเศรษฐกิจพอเพียง  การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การรู้จักตนเอง รู้จักชุมชน เพื่อแสวงหาทางเลือกในการจัดการทรัพยากรในชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงการจัดการกลุ่ม เครือข่าย และชุมชน การสร้างสุขภาวะ จึงมีความจำเป็นที่ชุมชน สังคมต้องเรียนรู้และเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โรงเรียนจึงได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปปฏิบัติและร่วมขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมเรียนรู้และพัฒนาโดยการรู้จักคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบและได้มีการเรียนรู้ทั้งในระดับตนเอง กลุ่ม และชุมชน มุ่งให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรม ที่จะสามารถดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างแท้จริง โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการศูนย์การจัดการเรียนรู้การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบึงกาฬนี้ขึ้น
 
วัตถุประสงค์           1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถอธิบายหลักปรัชญา แนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงและระบุคุณค่าความสำคัญ ประโยชน์ของการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้
           2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง รู้จักคิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบได้

           3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกถึงความตั้งใจ และความคาดหวังที่จะประพฤติปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและนำแผนการดำเนินชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของตนเอง ครอบครัว กลุ่มและชุมชนไปปฏิบัติได้
           4. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ มั่นใจ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเข้าสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียงได้
           5. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การบูรณาการร่วมกันขององค์กรภาคีต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคท้องถิ่นและภาคสถาบันการศึกษาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง


 
เป้าหมาย        1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 80 คน และคณะครู จำนวน 30 คน ร้อยละ 95 มีความรู้ ความเข้าใจการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
          2.นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 80 คน และคณะครู จำนวน 30 คน ร้อยละ 95 รู้จักคิด วิเคราะห์ และเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบได้

 
ระยะเวลา 13 ก.ย. 2561 - 13 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนบึงกาฬ
ตัวชี้วัด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.  นักเรียนได้ปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในโรงเรียน ในครอบครัว และในชุมชน
          2.  นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงค์ สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
          3.  นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข
           4. การจัดการเรียนรู้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
รายการ/กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ
1. ขั้นวางแผน (PIan)
   - ศึกษาสภาพปัญหา
   - วางแผนการดำเนินการ
   - เสนอโครงการ
   - แต่งตั้งคณะกรรมการและประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
มีนาคม – พฤษภาคม
2561
  นายบัณฑิต  ชิดนอกและคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
2. ขั้นดำเนินการ (Do)
   ดำเนินงานตามโครงการ
3. ดำเนินงานตามโครงการ
    3.1 ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เรียนรู้
    3.2 เปิดศูนย์การจัดการเรียนรู้การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
    3.3 ชี้แจงทำความเข้าใจหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
    3.4 จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยสื่อวีดีทัศน์คัดสรรและพูดคุย สรุป  วิเคราะห์ เนื้อหา นำเสนอ
    3.5 ระดมความคิดวางแผนการทำโครงงาน/กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงรายบุคคลและรายกลุ่ม

    3.6 ลงมือปฏิบัติโครงงาน/กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงรายบุคคลและรายกลุ่ม  
ตลอด
ปีการศึกษา 2561
10,000       นายบัณฑิต  ชิดนอกและคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
    
3. ขั้นตรวจสอบ (Check)
     -   แบบประเมินโครงการ/กำกับติดตาม
     -   ประเมินผลการปฏิบัติงาน
มกราคม 2562 - นายบัณฑิต  ชิดนอกและคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม
รายการ/กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ
       -   บันทึกผลการปฏิบัติงาน พร้อมบันทึกปัญหาอุปสรรค  ข้อเสนอแนะ     ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
4. สรุปผลการดำเนินงาน (Action)
       - สรุปผลการดำเนินงาน/การนำผลไปปรับปรุง
มีนาคม 2562 - นายบัณฑิต  ชิดนอกและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมฯ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ