ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ |
ประเภท |
โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) |
ปีการศึกษา |
2561 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เป็นการสร้างกลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของบุคคล สังคมไทย ผู้เรียนมีศักยภาพในการแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมโลก ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล(ฉบับปรับปรุง) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีสมรรถนะสำคัญ มีค่านิยมของคนไทย 12 ประการ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการเวลาเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่สพฐ. 1239/2560 เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560 โดยมีเงื่อนไขและระยะเวลาการใช้ ปีการศึกษา 2561 ให้ใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ ปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ปีการศึกษา 2562 ให้ใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1,2,4 และ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2,4 และ 5 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไปให้ใช้ในทุกชั้นเรียน และคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 30/2561 เรื่อง ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 5 มกราคม 2561ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 8 มกราคม 2561 นั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนศรีสงครามวิทยาให้สอดคล้องกับประกาศและคำสั่งดังกล่าว ตลอดจนเป็นการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคล สังคมไทย ผู้เรียนมีศักยภาพในการแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมโลกรวมทั้งเพื่อประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการศึกษาของโรงเรียนศรีสงครามวิทยางานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ |
วัตถุประสงค์ |
- เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระ ของโรงเรียนศรีสงครามวิทยา
- เพื่อส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
- เพื่อส่งเสริมให้ครูพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษานิเทศภายใน กำกับ ติดตามตรวจสอบ และนำผลไปปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ
|
เป้าหมาย |
3.1 เชิงปริมาณ
1. โรงเรียนศรีสงครามวิทยามีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีองค์ประกอบครบ จำนวน 2 เล่ม
2. โรงเรียนศรีสงครามวิทยามีหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4.ครูทุกคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและอาเซียนคนละ 1 รายวิชา
3.2 เชิงคุณภาพ
1.มีหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนและสอดคล้องกับท้องถิ่น
2.มีเอกสารประกอบหลักสูตรระดับชั้นเรียนที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา
4.ครูมีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและอาเซียน |
ระยะเวลา |
1 พ.ค. 2561 - 3 ม.ค. 2562 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนศรีสงครามวิทยา |
ตัวชี้วัด |
เชิงปริมาณ
1.โรงเรียนศรีสงครามวิทยามีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีองค์ประกอบครบ
2.โรงเรียนศรีสงครามวิทยามีหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและอาเซียน คนละ 1 รายวิชา
เชิงคุณภาพ
1.มีหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนและสอดคล้องกับท้องถิ่น
2.มีเอกสารประกอบหลักสูตรระดับชั้นเรียนที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา
3.ครูมีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและอาเซียน |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. หลักสูตรสถานศึกษามีความสอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและสอดคล้องกับท้องถิ่น เป็นที่ยอมรับในระดับต่างๆ
2. โรงเรียนศรีสงครามวิทยามีการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ
3. เอกสารประกอบหลักสูตรระดับชั้นเรียนมีความสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา เป็นที่ยอมรับในระดับ
ต่างๆ
4. ครูที่มีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเพียงพอ
5. ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล
6. ครูจัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลา เต็มความสามารถ
7. ผู้เรียนที่มีความรู้และทักษะ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญ และค่านิยม 12 ประการ ตามหลักสูตรโรงเรียนศรีสงครามวิทยาและสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
1.ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลวางแผนการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับสภาพ ปัญหา ความต้องการของผู้เรียนชุมชน วิสัยทัศน์
พันธกิจ กลยุทธ์ของโรงเรียน สพม.19 ประกาศและคำสั่งของ สพฐ กระทรวงศึกษาธิการ
2.แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา |
ขั้นดำเนินการ |
1. ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้พัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรระดับชั้นเรียน บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและอาเซียน
2.จัดทำตารางเรียนตารางสอน
3. ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดทำแผนการเรียนรู้และจัดทำแผนบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และอาเซียน
4.ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการพัฒนานักเรียน
5.คณะกรรมการการนิเทศภายใน กำกับ ติดตามตรวจสอบ และนำผลไปปรับปรุงการเรียนการสอน
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
- ตรวจและอนุมัติ หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรระดับชั้นเรียน
- ตรวจและอนุมัติ แผนการจัดการเรียนรู้
- ตรวจเอกสารบันทึกผลหลังการสอนและรายงานการใช้แผนการเรียนรู้
- ประเมินความพึงพอใจการใช้หลักสูตร
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
- สะท้อนผลการจัดทำหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรระดับชั้นเรียน
- สะท้อนผลการจัดทำแผนการเรียนรู้
- สะท้อนผลการนิเทศการจัดการเรียนการสอนแก่คณะครูและนำผลการนิเทศไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|