ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนธัญรัตน์ |
ประเภท |
โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) |
ปีการศึกษา |
2560 |
มาตรฐาน |
2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
ในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคตมีปัจจัยที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา วัสดุอุปกรณ์ สภาพแวดล้อมและการบริหารจัดการซึ่งต้องอาศัยหลักการบริหารแบบส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชนมามีร่วมกันพัฒนาสถานศึกษาให้ดีขึ้น มีคุณภาพขึ้นและเป็นที่ยอมรับในชุมชนรอบสถานศึกษาและสังคมโลก ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะจัดทำโครงการสนับสนุนงานในฝ่ายวิชาการขึ้นเพื่อส่งเสริมจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งมีกิจกรรมดังต่อไปนี้
กิจกรรมที่ 1. การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
กิจกรรมที่ 2. การจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ต่างๆในโรงเรียนธัญรัตน์
กิจกรรมที่ 3. การพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนธัญรัตน์ |
วัตถุประสงค์ |
1 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา มีความรัก และเห็นคุณค่าของพรรณไม้
2 เพื่อบูรณาการศึกษาค้นคว้าและการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ โดยมุ่งให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
3 เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้ และการเก็บรักษา เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และเผยแพร่สู่ภายนอก
4 เพื่อให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชที่มีอยู่ในโรงเรียน
|
เป้าหมาย |
1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
1.1 ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 60.00 ของประชากรทั้งโรงเรียน
1.2 จัดหาพืชหายาก พืชท้องถิ่น ปลูกเพิ่มในพื้นที่ของโรงเรียนอย่างน้อย 10 ชนิด
1.3 จัดทำป้ายทะเบียนพันธุ์ไม้ให้ครบร้อยละ 70.00
2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษามีจิตสำนึก มีความรัก และเห็นคุณค่าของพรรณไม้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.00 ของประชากรทั้งโรงเรียน
|
ระยะเวลา |
15 พ.ค. 2560 - 28 ก.พ. 2561 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนธัญรัตน์ |
ตัวชี้วัด |
1. ร้อยละ 100 ยกระดับคุณภาพ พัฒนาด้านวิชาการที่เน้นผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกคน และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม (กิจกรรมที่ 1)
2. ร้อยละ 81 ยกระดับคุณภาพ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มีความรู้ความสามารถและทักษะตามมาตรฐานตำแหน่ง (กิจกรรมที่ 1, กิจกรรมที่ 3)
3. ร้อยละ 91 ยกระดับคุณภาพโดยจัดสภาพแวดล้อมทางกายและสังคมที่ดีและกระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย (กิจกรรมที่ 2)
4. ร้อยละ 90 ยกระดับคุณภาพของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้มีส่วนร่วมและมีเครือข่ายความร่วมมือในการร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน (กิจกรรมที่ 1)
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1 เกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
2 เป็นแหล่งข้อมูลพืชพรรณและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3 ผู้ปฏิบัติรู้จักใช้สื่อธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัวรู้จักตั้งคำถาม หาคำถาม ช่างสังเกต และค้นคว้า
4 มีจิตใจที่อ่อนโยน เห็นประโยชน์และคุณค่า ทำให้เกิดความรักในพืชพรรณไม้ ไม่ทำลาย และมีแนวคิดที่อนุรักษ์สืบไป
5 ผู้เรียนสามารถนำพรรณไม้มาจัดสวนตกแต่งบริเวณให้ร่มรื่นสวยงาม
|
สรุปคะแนนประเมิน |
2.80 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
1.ประชุมกำหนดแนวทางการดำเนินงาน |
ขั้นดำเนินการ |
2. ดำเนินการตามโครงการ
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
1. สังเกตการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา |
ขั้นสรุปและรายงาน |
1. ประเมินผลและรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรม |
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่บรรลุตัวชี้วัด |
ความพึงพอใจ |
อยู่ในระดับพอใช้ |
ปัญหาและอุปสรรค |
ผู้ปฏิบัติงานยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
แนวทางแก้ไขคือผู้ปฏิบัติงานโครงการศึกษาดูงานโรงเรียนที่ได้จัดทำการประเมินสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนแล้ว
|
ข้อเสนอแนะ |
ไม่มี |
รูปภาพประกอบ |
|