โรงเรียน : สายบุรี(แจ้งประชาคาร) สพม.ปัตตานี
ประเภท : โรงเรียนนำร่องโครงการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ผลการประเมิน : 5
เผยแพร่เมื่อ : 11 ต.ค. 2561 โดย : กาญจนา อินกะโผะ จำนวนผู้เข้าชม 47 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | กิจกรรม งานพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ |
ประเภท | โรงเรียนนำร่องโครงการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ |
ปีการศึกษา | 2559-2561 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ | |
ความเป็นมา | การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เป็นการจัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนหาความรู้และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้คอยชี้แนะ อำนวยความสะดวก และให้คำปรึกษาในการจัดกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยครูดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย การจัดกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ เป็นการจัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง คิดวิเคราะห์ ทำงานเป็นทีม และเรียนรู้ด้วยตนเองจากกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสมอง (Head) ด้านจิตใจ (Heart) ด้านการปฏิบัติ (Hand) และด้านสุขภาพ (Health) สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยครูดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและจัดกิจกรรมตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพผู้เรียนผ่านการทำกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน คือ ด้านการพัฒนาสมอง (Head) ด้านการพัฒนาจิตใจ (Heart) ด้านการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ (Hands) และด้านการพัฒนาสุขภาพ (Health) 3. เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนทุกด้านในรูปแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 |
เป้าหมาย | 1. นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พัฒนาตนเองตามศักยภาพและความสนใจ 2. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสรรสร้างชิ้นงานที่ต้องการได้ 3. นักเรียนมีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรม 4. นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ จากกิจกรรมที่ได้รับ |
ระยะเวลา | 19 ก.ย. 2559 - 26 ก.ย. 2561 |
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนสายบุรี |
ตัวชี้วัด | 1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษตอนต้นทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พัฒนาตนเองตามศักยภาพและความสนใจ 2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษตอนต้นทุกคนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสรรสร้างชิ้นงานที่ต้องการได้ 3. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษตอนต้นทุกคนมีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรม 4. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษตอนต้นทุกคนสามารถสร้างองค์ความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ จากกิจกรรมที่ได้รับ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | คุณภาพผู้เรียนด้านวิชาการและทักษะการคิด 1. นักเรียนมีการคิดวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติงาน และนำเสนอผลงานของตนเอง 2. นักเรียนสามารถประดิษฐ์ชิ้นงานได้และเกิดทักษะการคิดในการปฏิบัติกิจกรรม 3. นักเรียนสามารถบูรณาการความรู้ในรายวิชาต่างๆและสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ด้วยตนเอง คุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี 1. นักเรียนเกิดความสามัคคีและมีวินัยในการทำงานกลุ่ม 2. นักเรียนรู้จักการวางแผนและวางเป้าหมายให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ 3. นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานโดยคำนึงถึงการใช้งบประมาณอย่างประหยัด 4. นักเรียนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ และเสียสละเพื่อส่วนรวม คุณภาพผู้เรียนด้านทักษะการทำงาน และทักษะทางอาชีพที่หลากหลาย 1. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน 2. นักเรียนมีการระดมความคิดภายในกลุ่ม เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน 3. นักเรียนมีทักษะกระบวนการทำงานและสร้างผลงานอย่างมีความสุข 4. ผลงานของนักเรียน สามารถใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต คุณภาพผู้เรียนด้านการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี 1. นักเรียนมีความสุขกับการออกแบบและประดิษฐ์ชิ้นงาน ตามความถนัดของตนเอง 2. นักเรียนมีความภาคภูมิใจในผลงานที่สร้างด้วยตนเอง |
สรุปคะแนนประเมิน | 5 |
ไฟล์ประกอบ |
3. 4. |
ขั้นเตรียมการ |
þ ศึกษาวิเคราะห์นโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” þ ศึกษาเอกสารคู่มือการบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” þ จัดทำแผนการดำเนินงาน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” |
ขั้นดำเนินการ | การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง 1. คณะกรรมการสถานศึกษา - จัดประชุม เพื่อวางแผนและกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม และพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” 2. ครู - เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” จากโรงเรียนนำร่อง - ร่วมกันวิเคราะห์นโยบายและการบริหารจัดการเวลาเรียน โดยปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2559 - วางแผนและออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน และคัดเลือกกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับช่วงวัย - ดำเนินการจัดการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมตามที่ได้วางแผนไว้รายงานผลการเรียนรู้ โดยการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR) เดือนละ 2 ครั้ง เพื่อนำผลการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (AAR) ไปใช้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3. ผู้ปกครอง - ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” 4. นักเรียน - เข้าร่วมกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามความถนัดและสนใจ - ให้รายงานผลการปฏิบัติกิจกรรมทุกสัปดาห์ประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรม |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | 1. นิเทศติดตามการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
3. ประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษากิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” |
ขั้นสรุปและรายงาน | 1. ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”ของโรงเรียนสายบุรี “แจ้งประชาคาร”ในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๓๓ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียนผ่านกิจกรรมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๖๗ รองลงมา คือ การได้รับการสนับสนุนให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนคิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๗ นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ปกครองไม่พึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”ของโรงเรียนสายบุรี “แจ้งประชาคาร” ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรม และความสุขของนักเรียนในกิจกรรม“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” 2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”ของโรงเรียนสายบุรี “แจ้งประชาคาร” ในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจที่กิจกรรมทำให้นักเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน สามารถทำงานเป็นทีมได้ และเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันในชุมชนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๗๓.๓๓ รองลงมา คือ กิจกรรมทำให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง และปรับตัวในการใช้ชีวิตกับสังคม ชุมชนได้ และกิจกรรมทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันคิดเป็นร้อยละ ๗๐.๐๐ |
งบประมาณ | ไม่ใช้งบประมาณ |
การบรรลุตัวชี้วัด | จัดกิจกรรมได้ครบ บรรลุทุกตัวชี้วัด |
ความพึงพอใจ | อยู่ในระดับดีมาก |
ปัญหาและอุปสรรค | เนื่องจากการได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร จึงทำให้การจัดกิจกรรมอาจจะยังไม่สนองนโยบายเต็มประสิทธิภาพ |
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
![]() |