Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

ส่งเสริมผู้เรียนมีความรู้ทักษะชีวิตตามวิถีพอเพียง

โรงเรียน : สุรินทร์พิทยาคม สพม.สุรินทร์

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 4.78

เผยแพร่เมื่อ : 14 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 1090 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมผู้เรียนมีความรู้ทักษะชีวิตตามวิถีพอเพียง
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2554
มาตรฐาน

     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
          เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตของประชาชนชาวไทยในทางสายกลางเพื่อ พัฒนาพื้นฐานวิถีชีวิตของสังคมไทย มองโลกเป็นเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สามารถรอดพ้นจากวิกฤติต่างๆ ได้อย่างความมั่นคงและความยั่งยืน   
          รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญให้เกิดการพัฒนาที่ ยั่งยืนในสังคมไทยอย่างเป็นระบบ ด้วยการกำหนดนโยบาย ด้านการศึกษา โดยนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ใช้คุณธรรม เป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่าง สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา ให้มี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะ และเจตคติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสมดุล และยั่งยืน
          สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและทางโรงเรียนสุรินทร์พิทยาคม  จึงเห็นควรส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย ให้เด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้และเข้าใจในความเป็นไทย โดยอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักถึงการปฏิบัติตนเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา มีกระบวนการคิด และการทำงานอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน  มีคุณธรรม จริยธรรม  มีความรับผิดชอบ มีความเมตตา มีความเสียสละ ตลอดจนการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ  นำไปสู่การพัฒนาตัวนักเรียนอย่างสมดุล  และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี  ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างสันติสุข
 
วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์
          1. ส่งเสริมสถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
          2. สถานศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียน การสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษา
          3. นักเรียนและครูเกิดผลในทางปฏิบัติในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล เกิดการปรับเปลี่ยน ในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
 
เป้าหมาย เป้าหมาย
          เชิงปริมาณ
             1. สถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 100 %
             2. สถานศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียน
การสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษา 100 %
             3. นักเรียนและครูเกิดผลในทางปฏิบัติในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล เกิดการปรับเปลี่ยน ในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง 100 %
          เชิงคุณภาพ
              1. สถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
             2. สถานศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียน การสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษา
             3. นักเรียนและครูเกิดผลในทางปฏิบัติในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล เกิดการปรับเปลี่ยน ในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง

 
ระยะเวลา 15 พ.ค. 2561 - 30 มี.ค. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนสุรินทร์พิทยาคม
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อมูลปีฐาน ค่าเป้าหมายตัวชี้วัด วิธีการวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ประเมิน
    1. โรงเรียนจัดกิจกรรมพิเศษตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
    2. ร้อยละของผู้เรียน บุคลากรของสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ใช้ประโยชน์จากกิจกรรม
80 90 แบบสอบถาม
การนิเทศ
ติดตาม
แบบประเมิน
แบบบันทึก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          1. สถานศึกษาคมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
          2. นักเรียนโรงเรียนสุรินทร์พิทยาคมมีคุณลักษณะที่มีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียร เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ รู้จักเสียสละ และพึ่งพาตนเองได้
          3. นักเรียนโรงเรียนสุรินทร์พิทยาคมเป็นคนตระหนักถึงคุณค่าของการใช้ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด
          4. ส่งเสริมให้ครูผู้สอน บุคลากร จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิธีการต่างๆอย่างหลากหลาย และเป็นไปตามความสนใจ
          5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเสนอผลงาน เผยแพร่ผลงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิธีการที่หลากหลายตามความสนใจ
          6. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง
          7. นักเรียนนำประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
 
สรุปคะแนนประเมิน 4.78
ไฟล์ประกอบ โครงการสาระสังคม
ขั้นเตรียมการ
1 ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน และเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ พฤษภาคม 2558 นางสุกัญญา  ทองกลาง
2 ประชุมชี้แจงให้คณะครู นักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ พฤษภาคม 2558 นางสุกัญญา  ทองกลาง
3 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน พฤษภาคม 2558 นางสุกัญญา  ทองกลาง
ขั้นดำเนินการ
4 การดำเนินงาน/กิจกรรม/โครงการ
      4.1 ประชุมคณะครูในโรงเรียน ให้ครูแต่ละกลุ่มสาระนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาสอดแทรกในเนื้อหาการเรียน ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นหน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียนรู้/สื่อการเรียนรู้ โดยวิธีการบูรณาการเรียนรู้
      4.2 ดำเนินการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสในนักเรียนได้แสดงออกทางความคิด ผลงาน ที่เกิดจากการเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง เช่น การแข่งขันทักษะเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มสาระต่างๆ
      4.3 นำนักเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจพอเพียงเข้าร่วมการแข่งขันทักษะงานศิลปหัตถกรรม
  • ภาพยนตร์สั้น ม.ต้น
  • มารยาทไทย ม.ต้น และ ม.ปลาย

ตลอดปีการศึกษา




ตลอดปีการศึกษา




ตลอดปีการศึกษา


ธันวาคม 2558
ธันวาคม 2558

ครูทุกคน




ครูทุกคน




นางสุกัญญา  ทองกลาง


นางสุกัญญา  ทองกลาง
นางสุกัญญา  ทองกลาง
5 ติดตามประเมินผล มีนาคม 2559 งานประกันคุณภาพ
6 สรุปและรายงานผล มีนาคม 2559 งานประกันคุณภาพ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล การประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อมูลปีฐาน ค่าเป้าหมายตัวชี้วัด วิธีการวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ประเมิน
    1. โรงเรียนจัดกิจกรรมพิเศษตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
    2. ร้อยละของผู้เรียน บุคลากรของสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ใช้ประโยชน์จากกิจกรรม
80 90 แบบสอบถาม
การนิเทศ
ติดตาม
แบบประเมิน
แบบบันทึก
ขั้นสรุปและรายงาน การประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อมูลปีฐาน ค่าเป้าหมายตัวชี้วัด วิธีการวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ประเมิน
    1. โรงเรียนจัดกิจกรรมพิเศษตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
    2. ร้อยละของผู้เรียน บุคลากรของสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ใช้ประโยชน์จากกิจกรรม
80 90 แบบสอบถาม
การนิเทศ
ติดตาม
แบบประเมิน
แบบบันทึก
งบประมาณ งบประมาณที่ใช้
          5.1  เงินงบประมาณ  จากงบอุดหนุนการศึกษา      จำนวน  20,000  บาท
          5.2  เงินนอกงบประมาณ                             จำนวน  -        บาท
 
ที่ รายการ / กิจกรรม งบประมาณ 2559
อุดหนุน
รายหัว
อุดหนุน
/ปัจจัย
พื้นฐาน
อุดหนุนเรียนฟี่
15 ปี
รายได้
1. บูรณาการหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชา - - 3,000 -
2. แข่งขันทักษะเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ - - 2,000 -
3. แข่งขันทักษะงานศิลปหัตถกรรม - - 15,000 -
การบรรลุตัวชี้วัด การประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อมูลปีฐาน ค่าเป้าหมายตัวชี้วัด วิธีการวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ประเมิน
    1. โรงเรียนจัดกิจกรรมพิเศษตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
    2. ร้อยละของผู้เรียน บุคลากรของสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ใช้ประโยชน์จากกิจกรรม
80 90 แบบสอบถาม
การนิเทศ
ติดตาม
แบบประเมิน
แบบบันทึก
ความพึงพอใจ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 
ปัญหาและอุปสรรค งบประมาณในการดำเนินงานมีข้อจำกัดทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการของบประมาณสนัลสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลสลักได
ข้อเสนอแนะ 1.ด้านงบประมาณยังไม่เพียงพอในการบริหารและการจัดการ
2. ความต่อเนื่องของโครงการ
รูปภาพประกอบ