ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการห้องเรียนพิเศษ |
ประเภท |
โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) |
ปีการศึกษา |
2558 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีส่วนสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนให้การพัฒนาประเทศ เป็นไปอย่างก้าวหน้า รวดเร็ว และปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศคือ ขีดความสามารถของประเทศในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทั้งนี้การพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำเป็นต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างฐานความรู้ที่เข้มแข็งให้กับประเทศ ในขณะเดียวกันกำลังคนของ ประเทศมีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาควบคู่กันไปด้วย ระบบการศึกษาจำเป็นต้องมีการ จัดการศึกษาที่เฉพาะเจาะจงทั้งนี้เพื่อพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้ได้รับการพัฒนาอัจฉริยภาพของตนอย่างเต็มที่และถูกทางทั้งด้านร่างกาย สมอง จิตใจ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทุกฉบับ ให้ความสำคัญกับการพัฒนา เด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ มาตรา ๑๐ วรรค ๔ กล่าวว่าให้มีการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษในรูปแบบ ที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น และมาตรา ๒๒ กำหนดว่า การจัดการศึกษาโดยยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้และถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑
เพื่อตอบสนองพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ดังกล่าว โรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย จึงจัดทำโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โดยเริ่มเปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพเป็นรายบุคคล เน้นทักษะการคิด ด้านกระบวนการแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ โดยให้มีความสามารถในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของผู้เรียนในท้องถิ่น
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ
2. เพื่อสร้างนักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3. เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาทางเลือกของโรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย
|
เป้าหมาย |
3.1 ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต
3.1.1 ด้านปริมาณ
- นักเรียนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามศักยภาพ 100%
- นักเรียนมีความพึงพอใจจากการเข้าร่วมโครงการในระดับ มาก ขึ้นไป
3.1.2 ด้านคุณภาพ
- นักเรียนมีความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์
3.2.1 นักเรียนห้องเรียนพิเศษ จำนวน 172 คน
3.3 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.3.1 นักเรียนห้องเรียนพิเศษ จำนวน 172 คน
3.3.2 ผู้ปกครองนักเรียนห้องเรียนพิเศษ จำนวน 172 คน
|
ระยะเวลา |
13 ก.ย. 2561 - 13 ก.ย. 2561 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย |
ตัวชี้วัด |
4.1.1 ด้านปริมาณ
- นักเรียนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามศักยภาพร้อยละ 98%
- นักเรียนมีความพึงพอใจจากการเข้าร่วมโครงการในระดับ มาก ขึ้นไป
4.1.2 ด้านคุณภาพ นักเรียนมีความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
นักเรียนที่มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
|
สรุปคะแนนประเมิน |
4.8 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
1.ประชุมคณะกรรมการบริหาร
2.ร่างระเบียบการ
3.จัดทำโครงการ
4.ประชาสัมพันธ์ |
ขั้นดำเนินการ |
1.รับสมัครนักเรียน
2.สอบคัดเลือก
3.ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4.กิจกรรมเสริมพิเศษ
4.1 จัดการเรียนการสอนทุกวันเสาร์
4.2 ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ภายในประเทศ
4.3 จัดค่ายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
4.4 ฝึกปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์กับมหาวิทยาลัย
4.5ิ กิจกรรมเอาตัวรอดทางน้ำ
4.6 เรียนภาษากับครูต่างชาติ
4.7 ติวเข้มวิชาหลัก(วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย) |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.สังเกตพฤติกรรมระหว่างการเข้าร่วมโครงการ
3.สถิติการศึกษาต่อ |
ขั้นสรุปและรายงาน |
รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ |
งบประมาณ |
งบประมาณ จำนวน 2,804,537 บาท |
การบรรลุตัวชี้วัด |
บรรลุตัวชี้วัด ร้อยละ 95 |
ความพึงพอใจ |
ความพึงพอใจ ระดับดีมาก |
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|