โรงเรียน : สุรินทร์พิทยาคม สพม.สุรินทร์
ประเภท : โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)
ผลการประเมิน : 0.00
เผยแพร่เมื่อ : 14 ก.ย. 2561 โดย : จำนวนผู้เข้าชม 48 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | ม่วงเหลืองมีวินัย ใสใจกฎจราจร |
ประเภท | โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต) |
ปีการศึกษา | 2560 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ |
ผู้รับผิดชอบ | |
ความเป็นมา | 1. ความเป็นมาของโครงการ ในสังคมปัจจุบันนี้ ทั่วโลกมีการใช้รถจักยานยนต์เป็นจำนวนมาก ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลและปฏิบัติตามกฎจราจร และวิธีการขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพราะไม่เพียงแต่เพื่อความปลอดภัยของตนเองเท่านั้น ยังส่งผลถึงความปลอดภัยของผู้คนอื่นอีกเป็นจำนวนมาก อุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะเหตุบังเอิญแต่เกิดขึ้นจากการเตรียมการหรือเตรียมตัวในการขับขี่ที่ไม่ดีและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่และความพร้อมของรถจักรยานยนต์รวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวดังนั้น จึงต้องตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนมากยิ่งขึ้น การขับขี่รถจักยานยนต์ให้ปลอดภัยจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์มากยิ่งขึ้น อันตรายจากอุบัติเหตุในการจราจรของคนไทยพุ่งขึ้นติดอันดับ๑ใน๑๐ของสาเหตุการตายทั้งหมดเมื่อแยกตามประเภทรถที่เกิดอุบัติเหตุพบว่าอุบัติเหตุเกิดจากจักรยานยนต์มากที่สุดและสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่และซ้อนท้ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้ได้รับบาดเจ็บได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณศรีษะและสมองอย่างรุนแรงบางรายถึงขั้นพิการถาวรเป็นภาระให้ครอบครัวและสังคมหรือเสียชีวิตในเวลาต่อมาเราจึงทำโครงงานเรื่อง ขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย เพื่อให้คนที่ใช้รถจักรยานยนต์ได้รู้ข้อมูลการขับขี่รถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น กล่าวได้ว่า อุบัติเหตุจากการจราจร เปรียบเสมือนหนึ่งโรคร้ายแรงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นทุกวัน และคุกคาม สุขภาพ คุณภาพชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ทุกคน และทุกหน่วยงานต้องมีส่วน รับผิดชอบ และร่วมมือกันแก้ปัญหา รวมทั้งป้องกันโรคอุบัติเหตุอย่างจริงจัง ซึ่งการจะป้องกันอุบัติเหตุได้ จะต้องทราบถึง สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจรเสียก่อน |
วัตถุประสงค์ | 2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน 2.1 เพื่อให้ผู้ขับขี่ใช้รถจักรยานยนต์ได้อย่างปลอดภัย 2.2 เพื่อให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ได้รู้เครื่องหมายจราจรและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง 2.3 เพื่อที่จะนำข้อมูลการขับขี่รถจักรยานยนต์บนท้องถนนไปเผยแพร่ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้รับรู้ 2.4 เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสามารถตัดสินใจเวลาเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ขณะขี่รถจักรยานยนต์ |
เป้าหมาย | 1. นักเรียนขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย 2. นักเรียนขับรถจักรยานยนต์ได้อย่างถูกต้อง 3. นักเรียนรู้กฎหมายจราจรในการขับขี่รถจักรยานยนต์ 4. คนรุ่นหลังสามารถได้รับความรู้เกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยได้อย่างทั่วถึง 5. นักเรียนหรือบุคคลทั่วไปสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ |
ระยะเวลา | 15 มิ.ย. 2561 - 30 มี.ค. 2562 |
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนสุรินทร์พิทยาคม |
ตัวชี้วัด | นักเรียนที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเข็นรถเข้าและออก มากที่สุด คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2, 4 และ 5 คิดเป็นร้อยละ 90.00 ขึ้นไป |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน 4.1 นักเรียนได้ความรู้เกี่ยวกับ การขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย 4.2 นักเรียนได้รู้วิธีขับรถจักรยานยนต์ได้อย่างถูกต้อง 4.3 นักเรียนได้รู้กฎหมายจราจรในการขับขี่รถจักรยานยนต์ 4.4 คนรุ่นหลังสามารถได้รับความรู้เกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยได้อย่างทั่วถึง 4.5 นักเรียนหรือบุคคลทั่วไปสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ |
สรุปคะแนนประเมิน | 0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
โครงการม่วงเหลือง |
ขั้นเตรียมการ | |
ขั้นดำเนินการ | |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | |
ขั้นสรุปและรายงาน | |
งบประมาณ | - |
การบรรลุตัวชี้วัด | 4.1 นักเรียนได้ความรู้เกี่ยวกับ การขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย 4.2 นักเรียนได้รู้วิธีขับรถจักรยานยนต์ได้อย่างถูกต้อง 4.3 นักเรียนได้รู้กฎหมายจราจรในการขับขี่รถจักรยานยนต์ 4.4 คนรุ่นหลังสามารถได้รับความรู้เกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยได้อย่างทั่วถึง 4.5 นักเรียนหรือบุคคลทั่วไปสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ |
ความพึงพอใจ | โครงงานนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่ออบรมให้เยาวชน เกิดความรู้ความตระหนัก ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย จราจร มารยาทในการขับขี่และรู้จักวิธีการป้องกันตัวเองขณะขับขี่ยานพาหนะ (2) เพื่อกำหนดให้สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ จัดเป็นเขตสวมหมวก และคาดเข็ม ขัดนิรภัย (3) เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนในการรณรงค์ ประซาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันควบคุม อุบัติเหตุจราจร พบว่า ผลการบันทึกพฤติกรรมการเข็นรถเข้า/ออกภายในโรงเรียน พบว่า ในเดือนกรกฎาคม นักเรียนที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเข็นรถเข้าและออก มากที่สุด คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2, 4 และ 5 คิดเป็นร้อยละ 100.00 และในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 90.14 เดือนสิงหาคม นักเรียนที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเข็นรถเข้าและออก มากที่สุด คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2, 4, 5 และ 6 คิดเป็นร้อยละ 100.00 และในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 95.77 เดือนกันยายน นักเรียนที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเข็นรถเข้าและออก มากที่สุด คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2, 4, 5 และ 6 คิดเป็นร้อยละ 100.00 และในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 97.18 ผลการบันทึกพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย พบว่า ในเดือนกรกฎาคม นักเรียนที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเข็นรถเข้าและออก มากที่สุด คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 77.78 และในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 52.11 เดือนสิงหาคม นักเรียนที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเข็นรถเข้าและออก มากที่สุด คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 คิดเป็นร้อยละ 100.00 และในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 81.69 เดือนกันยายน นักเรียนที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเข็นรถเข้าและออก มากที่สุด คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6 คิดเป็นร้อยละ 100.00 และในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 88.73 |
ปัญหาและอุปสรรค | งบประมาณในการจัดอบรมนักเรียนเพื่อให้ความรู้ โรงเรียนจะต้องใช้งบประมาณเอง ซึ่งโรงเรียนสุรินทร์พิทยาคมเป็นโรงเรียนขนาดเล็กมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ |
ข้อเสนอแนะ | งบประมาณในการสนับสนุนในการดำเนินงาน |
รูปภาพประกอบ |