Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

โรงเรียน : ธารโตวัฑฒนวิทย์ สพม.ยะลา

ประเภท : โรงเรียนประชารัฐ

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 14 ก.ย. 2561 โดย : แอซะห์ ดอเลาะ จำนวนผู้เข้าชม 31 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ประเภท โรงเรียนประชารัฐ
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) 2553   มีสาระสำคัญที่เน้นการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะการปฏิรูประบบการเรียนการสอน  ครูต้องเป็นผู้ทันต่อเหตุการณ์ แสวงหา
ข้อค้นพบนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนของตัวเอง และมาตรา 24 (5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ อีกทั้งสอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ ที่มีความสำคัญต่อการสื่อสารภายในประเทศ เป็นพื้นฐานการศึกษาในระดับสูงและเพื่อประกอบอาชีพในทุกสาขา ถ้าผู้เรียนมีทักษะในการใช้ภาษาไทย จะทำให้ผู้เรียนสามารถสื่อสาร รับสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนเพื่อส่งเสริมหลักสูตรการจัดการเรียนรู้จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ ความคิด  ความสามารถ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อให้เกิดปัญญา  
          ดังนั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจึงได้จัดโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ภาษาไทย โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทางภาษาไทยในทุกๆด้าน ผู้เรียนเกิดความรักในภาษาไทย สามารถใช้ภาษาไทยในทางสร้างสรรค์ และนำไปสู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับที่ดีขึ้น
 
วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยให้สูงขึ้น
                   2.2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ในกิจกรรมที่โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่จัดขึ้น         
          2.3 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ O – NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 ให้สูงขึ้นกว่าปี 2560
2.4 เพื่อให้ครูผู้สอนจัดหาสื่อ/นวัตกรรม ให้เพียงและสอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

 
เป้าหมาย 3.1 เชิงปริมาณ
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2                          
จากปีการศึกษา 2560
- ผู้เรียนร้อยละ80 มีศักยภาพการเรียนรู้ภาษาไทยที่ดีขึ้น
- คะแนนเฉลี่ยO–NETกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากปีการศึกษา 2560
                   - ร้อยละ 85 ของสื่อ วัสดุและอุปกรณ์เพียงพอกับความต้องการของครูและนักเรียน  
                   - นักเรียนร้อยละ 90 มีความรู้หลังการติวเข้ม/สอนเสริมเพิ่มขึ้น
                   3.2 เชิงคุณภาพ
                    - นักเรียนใช้ทักษะภาษาไทยได้ถูกต้องเหมาะสม มีความรักในภาษาไทย และสามารถใช้ภาษาไทยศึกษาค้นคว้า หาความรู้ได้อย่างหลากหลาย มีการพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
                    - กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ครูมีสื่อ -นวัตกรรมการสอน สอดคล้องตามเนื้อหา
 
ระยะเวลา 14 พ.ค. 2561 - 14 มี.ค. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์
ตัวชี้วัด - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากปีการศึกษา 2560
- นักเรียนมีทักษะการ ฟัง พูด อ่าน เขียน
- ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยทุกคนมีสื่อ นวัตกรรม

 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ - ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยให้สูงขึ้น
 - ผู้เรียนได้แสดงความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ในกิจกรรมที่โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่จัดขึ้น
- ผู้เรียนมีศักยภาพการเรียนรู้ภาษาไทย
- ครูผู้สอนนำสื่อนวัตกรรมที่จัดหาและที่จัดทำขึ้น ไปประกอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ