Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการ เพิ่มทักษะอาชีพ เสริมทักษะชีวิต เพื่อก้าวสู่ระเบียงเศรษฐกิจ EEC

โรงเรียน : เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สพม.ชลบุรี ระยอง

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0

เผยแพร่เมื่อ : 27 ก.ย. 2561 โดย : กิรณา บุญรักษา จำนวนผู้เข้าชม 472 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการ เพิ่มทักษะอาชีพ เสริมทักษะชีวิต เพื่อก้าวสู่ระเบียงเศรษฐกิจ EEC
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา
  1. หลักการและเหตุผล
จากกรอบและแนวคิดในการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กระทรวง
ศึกษาธิการจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  
(พ.ศ. 2560 – 2564) โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ในการ พัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพเพื่อพัฒนาประเทศ มีกรอบความคิดและเป้าหมายสำคัญคือ ความพร้อมด้านเศรษฐกิจและทักษะอาชีพ ที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน คือ
          การจัดการศึกษาทุกระดับทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยเน้นการจัดการศึกษาที่ให้ความรู้พื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี ทักษะอาชีพ ทักษะภาษา และอื่นๆ ให้มีความเชื่อมโยงสอดคล้องกับความต้องการและบริบทของแต่ละพื้นที่คือ จัดการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งเป็น ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา โดยมีแนวทางจัดกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย
  1. สร้างเสริมประสบการณ์โดยการวางพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับด้านธุรกิจเบื้องต้น
  2. ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
  3. เน้นทักษะภาษาต่างประเทศเพื่อการศึกษาและการสื่อสาร
  4. ใช้เทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม ในการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลอง (Active Learning)
  5. มุ่งเน้นการบูรณาการจัดการเรียนรู้รูปแบบ STEM Education
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง เห็นความสำคัญของการพัฒนาสถานศึกษา
เพื่อรองรับการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนากำลังคนทุกระดับให้มีความพร้อมด้านเศรษฐกิจและทักษะอาชีพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน และจัดการศึกษาแบบบูรณาการองค์ความรู้โดยใช้สะเต็มศึกษาและการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วน
 
วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะอาชีพด้านอุตสาหกรรม เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตามความต้องการ
ของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
  1. เพื่อคัดกรองผู้เรียนที่มีความถนัดด้านอาชีพ และส่งเสริมให้มีทักษะอาชีพเหมาะสมกับการเข้าสู่
ตลาดแรงงานตามความต้องการของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
3.   เพื่อส่งเสริมทักษะภาษาต่างประเทศเพื่อการศึกษาและการสื่อสาร
4.   เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม ในการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลอง (Active Learning)
5.   เพื่อส่งเสริมการบูรณาการจัดการเรียนรู้รูปแบบ STEM Education
 
เป้าหมาย เป้าหมาย
          3.1 เชิงปริมาณ
                   นักเรียน 917 คน
                   ครู  55 คน
          3.2 เชิงคุณภาพ
                   นักเรียนมีทักษะอาชีพด้านอุตสาหกรรม เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานตามความต้องการของ
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
 
ระยะเวลา 14 ก.ย. 2561 - 14 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง
ตัวชี้วัด สนองกลยุทธ์โรงเรียนข้อที่   ข้อที่ 2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีด
                                              ความสามารถในการแข่งขัน
สนองกลยุทธ์ สพฐ. ข้อที่ 1.  จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
                         ข้อที่ 2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถใน

    การแข่งขัน
    ข้อที่ 5. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    ข้อที่ 6. พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

สนอง สมศ.      มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
                             ตัวบ่งชี้ที่ 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 1.6
                   มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                             ตัวบ่งชี้ที่ 3.1, 3.2
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนได้รับการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะอาชีพด้านอุตสาหกรรม เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตามความต้องการ ของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
2. นักเรียนได้รับการคัดกรองผู้เรียนที่มีความถนัดด้านอาชีพ และส่งเสริมให้มีทักษะอาชีพเหมาะสมกับการเข้าสู่ ตลาดแรงงานตามความต้องการของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
3. นักเรียนได้รับการส่งเสริมทักษะภาษาต่างประเทศเพื่อการศึกษาและการสื่อสาร
4. นักเรียนได้รับการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม ในการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลอง (Active Learning)
5. นักเรียนได้รับการส่งเสริมการบูรณาการจัดการเรียนรู้รูปแบบ STEM Education
 
สรุปคะแนนประเมิน 0
ไฟล์ประกอบ โครงงานของบประมาณ-EEC-9-ก.ย.61.docx
ขั้นเตรียมการ
ที่ งาน/ กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ
1. เสนอโครงการ ปีการศึกษา
2562-2564
กลุ่มบริหาร
งานวิชาการ
 
2. อนุมัติโครงการ
3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้
ทุกกลุ่มสาระ
4. ดำเนินงานตามโครงการ
5. ประเมินผลโครงการ
6. สรุปและจัดทำรายงานโครงการ

 
ขั้นดำเนินการ
ที่ งาน/ กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ
1. เสนอโครงการ ปีการศึกษา
2562-2564
กลุ่มบริหาร
งานวิชาการ
 
2. อนุมัติโครงการ
3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้
ทุกกลุ่มสาระ
4. ดำเนินงานตามโครงการ
5. ประเมินผลโครงการ
6. สรุปและจัดทำรายงานโครงการ

 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ที่ งาน/ กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ
1. เสนอโครงการ ปีการศึกษา
2562-2564
กลุ่มบริหาร
งานวิชาการ
 
2. อนุมัติโครงการ
3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้
ทุกกลุ่มสาระ
4. ดำเนินงานตามโครงการ
5. ประเมินผลโครงการ
6. สรุปและจัดทำรายงานโครงการ

 
ขั้นสรุปและรายงาน
ที่ งาน/ กิจกรรม ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ
1. เสนอโครงการ ปีการศึกษา
2562-2564
กลุ่มบริหาร
งานวิชาการ
 
2. อนุมัติโครงการ
3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้
ทุกกลุ่มสาระ
4. ดำเนินงานตามโครงการ
5. ประเมินผลโครงการ
6. สรุปและจัดทำรายงานโครงการ

 
งบประมาณ งบประมาณและทรัพยากร
ที่ รายการการใช้งบประมาณและทรัพยากร จำแนกตามหมวดรายจ่าย
บุคลากร ดำเนินงาน งบลงทุน
ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ครุภัณฑ์
1 อบรมครู นักเรียน
   - ค่าตอบแทนวิทยากร
   - ค่าอาหาร
   - ค่าวัสดุอุปกรณ์
   - ป้าย
  - ค่าครุภัณฑ์
 

 

5,000
 
 

5,000
5,000
1,000





35,000
2 ชุมนุมมัคคุเทศก์น้อย (ส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษและภาษาจีน)
   - ค่าตอบแทนวิทยากร
   - ค่าอาหาร
   - ค่าวัสดุอุปกรณ์
   - ป้าย
  - ค่าครุภัณฑ์
 
 



10,000
 




6,000
8,000
1,000








30,000
3 ยกระดับทักษะภาษาจีน
จัดให้มีการสอบ HSK
   - ค่าตอบแทนวิทยากร
   - ค่าอาหาร
   - ค่าวัสดุอุปกรณ์
   - ป้าย
  - ค่าครุภัณฑ์
 

10,000



 



5,000
8,000
1,000






20,000
ยอดรวม   25,000   40,000 85,000

          ยอดเงินรวมทั้งสิ้น 150,000 บาท   
 
การบรรลุตัวชี้วัด มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
                             ตัวบ่งชี้ที่ 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 1.6
                   มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                             ตัวบ่งชี้ที่ 3.1, 3.2
 
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ