Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

พัฒนาทักษะการอ่านเขียนนักเรียนเรียนร่วม

โรงเรียน : ดงเจนวิทยาคม สพม.พะเยา

ประเภท : โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 15 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 31 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนาทักษะการอ่านเขียนนักเรียนเรียนร่วม
ประเภท โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา  จากแผนพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ระยะที่ 5 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ซึ่งสอดคล้องเชื่อมโยงกับพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 ที่กล่าวถึงสิทธิทางการศึกษาของคนพิการในการได้รับโอกาสและบริการในทุกระบบและทุกรูปแบบที่หลากหลายอย่างมีคุณภาพ
          โรงเรียนดงเจนวิทยาคมเป็นโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้มีนักเรียนเรียนร่วมเรียนรวมกับนักเรียนปกติรวมอยู่ด้วย จึงจำเป็นต้องได้จัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนเรียนร่วมที่มีความบกพร่องในด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาศักยภาพ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา และในปีการศึกษา 2560 จึงได้จัดให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนร่วมทุกคน ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคลในลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
 
วัตถุประสงค์ 2.1  เพื่อให้นักเรียนเรียนร่วมได้รับการพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน การเขียนอย่างเต็มตามศักยภาพเป็นรายบุคคล
2.2  เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถคัดกรองและประเมินความสามารถพื้นฐานของเด็ก เพื่อให้ทราบถึงระดับความสามารถและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
2.3  เพื่อให้ครูผู้สอนวางแผนการจัดการศึกษาและสามารถจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (IEP : Individual Education Program)  ที่เหมาะสมต่อพัฒนาการและความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคน และเพิ่มศักยภาพในการเรียนการสอนเด็กพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.4  เพื่อให้ครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่าน  การเขียน  เพื่อให้นักเรียนเรียนร่วมทุกคนได้รับการพัฒนาทักษะด้านการอ่านเขียน
 
เป้าหมาย 3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
3.1.1   นักเรียนเรียนร่วม ร้อยละ 100 เข้าร่วมเพื่อพัฒนาตามศักยภาพของตนเอง
3.1.2  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  จำนวน 10 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางด้านภาษาไทย  และคณิตศาสตร์
          3.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ 
                    3.2.1  นักเรียนเรียนร่วมร้อยละ 80  ได้รับการพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน การเขียนอย่างเต็มตามศักยภาพเป็นรายบุคคลได้ระดับดีขึ้นไป
                                   3.1.2  ครูร้อยละ 90  มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรวม/เรียนร่วมและปฏิบัติต่อผู้เรียนอย่างเหมาะสม
                     3.1.3  ครูร้อยละ 80  เข้ารับการฝึกอบรมหรือพัฒนาให้มีทักษะในการจัดการเรียนรวม/เรียนร่วม
                 3.1.4  ครูร้อยละ 75  มีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
                      3.1.5  ครูร้อยละ 75  จัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) ที่สอดคล้องกับ (IEP)
                        3.1.6  ครูร้อยละ 80  จัดหา ผลิตและใช้เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนตามความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา
                        3.1.7  ครูร้อยละ 80  จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนเฉพาะบุคคลอย่างเหมาะสม
                        3.1.8 ครูร้อยละ 80  มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายสอดคล้องกับผู้เรียน
                        3.1.9 ครูร้อยละ 65  ใช้กระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนาผู้เรียนเฉพาะบุคคล
 
ระยะเวลา 15 พ.ค. 2561 - 5 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนดงเจนวิทยาคม
ตัวชี้วัด 1) นักเรียนเรียนร่วม จำนวน 8 คนเข้าร่วมเพื่อพัฒนาตามศักยภาพของตนเอง
2) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  จำนวน 10 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางด้านภาษาไทย  และคณิตศาสตร์
ด้านคุณภาพ /ผลลัพธ์

1) นักเรียนเรียนร่วมร้อยละ 80  ได้รับการพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน การเขียนอย่างเต็มตามศักยภาพเป็นรายบุคคลได้ระดับดีขึ้นไป
2)ครูร้อยละ 90  มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรวม/เรียนร่วมและปฏิบัติต่อผู้เรียนอย่างเหมาะสม
3) ครูร้อยละ 80  เข้ารับการฝึกอบรมหรือพัฒนาให้มีทักษะในการจัดการเรียนรวม/เรียนร่วม
4) ครูร้อยละ 75  มีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
5) ครูร้อยละ 75  จัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) ที่สอดคล้องกับ (IEP)
6) ครูร้อยละ 80  จัดหา ผลิตและใช้เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนตามความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา
7) ครูร้อยละ 80  จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนเฉพาะบุคคลอย่างเหมาะสม
8) ครูร้อยละ 80  มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายสอดคล้องกับผู้เรียน
9) ครูร้อยละ 65  ใช้กระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนาผู้เรียนเฉพาะบุคคล
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 8.1 นักเรียนเรียนร่วมได้รับการพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน การเขียนอย่างเต็มตามศักยภาพเป็นรายบุคคล
8.2  ครูผู้สอนสามารถคัดกรองและประเมินความสามารถพื้นฐานของเด็ก เพื่อให้ทราบถึงระดับความสามารถและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
8.3  ครูผู้สอนวางแผนการจัดการศึกษาและสามารถจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (IEP : Individual Education Program)  ที่เหมาะสมต่อพัฒนาการและความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคน และเพิ่มศักยภาพในการเรียนการสอนเด็กพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.4  ครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่าน  การเขียน  เพื่อให้นักเรียนเรียนร่วมทุกคนได้รับการพัฒนาทักษะด้านการอ่านเขียน


 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ