Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี นำวิถีพอเพียงสู่ชุมชน

โรงเรียน : สารทิศพิทยาคม สพม.น่าน

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 15 ก.ย. 2561 โดย : มณีรัตน์ ตาดี จำนวนผู้เข้าชม 66 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี นำวิถีพอเพียงสู่ชุมชน
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระดำริเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 มีความว่า
                   “.....สิ่งสำคัญที่เราพอกิน อุ้มชูเราได้ ให้มีความพอเพียงแก่ตัวเอง พึ่งตนเองได้ หมายความว่า ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน มีกินมีใช้ตามอัตภาพ แล้วที่เหลือจึงจะขายเป็นรายได้ต่อไป.....”
                   ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ได้ส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างหลีกเลายงไม่ได้ และในปัจจุบันมีแนวโน้ม ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อ ความมั่นคงของชาติในทุกๆมิติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ สภาวะคนว่างงาน และความแตกต่างทางความคิดระหว่างคนในสังคม ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าว จะกระทบต่อความมั่นคงของชาติด้วย ดังนั้น “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆการจะดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้นั้น ต้องเริ่มที่ตัวเราสามารถปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้หันมาพึ่งตนเองให้ได้ วิธีการคือต้องวิเคราะห์ข้อมูลตนเองก่อนว่า อยู่ภายใต้ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี และที่สำคัญต้องมีความรู้คู่คุณธรรมด้วย
                    ความเป็นอยู่ของราษฎรตำบลยาบหัวนามีวิถีชีวิตค่อนข้างขัดสน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกข้าวโพดเป็นหลักซึ่งอาชีพดังกล่าวทำให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเคมี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสภาพแวดล้อมทั้งทางอากาศและน้ำ ในปีที่ผ่านมาราษฎรประสบปัญหาในการขายผลผลิตทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว นักเรียนเองก็ได้รับผลกระทบไปด้วย นักเรียนหลายคนต้องแบ่งเวลาไปช่วยครอบครัวทั้งในวันราชการและวันหยุด ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถทุ่มเทให้กับการเรียนได้อย่างเต็มที่
                   โรงเรียนยาบหัวนาวิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 198 หมู่ที่ 4 บ้านป่าหุ่ง ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีคุณธรรม มีความรู้ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อกระตุ้นปลูกฝัง และให้ความรู้แก่นักเรียนและชุมชนให้สามารถน้อมนำแนวพระราชดำรัส    “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปใช้ในการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติสุข ไม่ตกเป็นทาสของ ความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย มุ่งหวังให้นักเรียนและชุมชน มีความสามารถในการวิเคราะห์ตนเอง แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด
 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง คณะกรรมากรสถานศึกษา และชุมชน มีความรู้และทักษะกระบวนการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อให้นักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง คณะกรรมากรสถานศึกษา และชุมชน มีทักษาในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม อยู่ภายใต้ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี และที่สำคัญต้องมีความรู้คู่คุณธรรม เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพได้
3. โรงเรียนและชุมชนใช้บริการและร่วมเรียนรู้  อันจะก่อให้เกิดรายได้และความร่วมมือในการจัดการองค์ความรู้และร่วมกิจกรรมเพื่อบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
 
เป้าหมาย เชิงปริมาณ
                    - นักเรียนโรงเรียนยาบหัวนาวิทยา จำนวน 132 คน คณะครู จำนวน 16 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 6 คน กรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 12 คน 
เชิงคุณภาพ
                   - ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพอย่างถูกต้อง และสามารถพึ่งตนเองได้
                   - โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านงานอาชีพให้กับนักเรียนและชุมชน
 
ระยะเวลา 1 ก.พ. 2561 - 30 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนยาบหัวนาวิทยา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ตัวชี้วัด พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน นำวิถีพอเพียงสู่ชุมชนที่ยังยืน
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 2. โรงเรียนมีโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ขนาด 6.5 x4.5 เมตร ที่สะอาดและได้มาตรฐาน
3. โรงเรียนมีโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าขนาด 6.5 x4.5 เมตร ที่ได้มาตรฐาน
4. โรงเรียนมีผลผลิตและผลิตภัณฑ์ เพื่อจำหน่ายสำหรับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ
 5. ผู้ปกครอง ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริม สนับสนุนให้มีอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน โดยมีการบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
 6. นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนสามารถลดค่าช้าจ่ายในครอบครัวได้
 7. ชุมชนนำความรู้จากโครงการของโรงเรียนไปพัฒนาอาชีพของครอบครัวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้องและเกิดความยั่งยืน
8. โรงเรียนกับชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ