Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

สนับสนุนการทำโครงงานนักเรียน เพื่อประชุมวิชาการนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ เครือข่ายห้องเรียนพิเศษ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

โรงเรียน : ปทุมเทพวิทยาคาร สพม.หนองคาย

ประเภท : โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 15 ก.ย. 2561 โดย : นางธิดาวรรณ พรมเสนา จำนวนผู้เข้าชม 50 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม สนับสนุนการทำโครงงานนักเรียน เพื่อประชุมวิชาการนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ เครือข่ายห้องเรียนพิเศษ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ประเภท โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 95 โรงเรียน ต่อมาโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ได้ร่วมมือกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมีแนวการจัดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรของ สสวท. ในปัจจุบันโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ทั้งประเทศมี 222 โรงเรียน สำหรับเครือข่ายห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีจำนวน 32 โรงเรียนจาก 10 จังหวัดดังนี้ จังหวัดกาฬสินธุ์  จังหวัดขอนแก่น จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดเลย จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุดรธานี
          เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนได้ประชุมแล้วมีมติให้จัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 9 ที่โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย   เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ได้มีโอกาสแสดงผลงานทางวิชาการและได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
 
วัตถุประสงค์ 1. ด้านผลผลิต
    1. เพื่อจัดให้นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการด้วยการนำเสนอปากเปล่าและการนำเสนอแบบโปสเตอร์
    2. เพื่อให้นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในเครือข่ายห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    3. เพื่อให้นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นำความรู้ทักษะและประสบการณ์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
          2. ด้านผลลัพธ์
              2.1 นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6เสนอผลงานทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ
             2.2 นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตระหนักถึงคุณค่าแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น
             2.3 นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะและประสบการณ์ทางงานวิจัยเพื่อพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์
 
เป้าหมาย 1. ด้านปริมาณ  นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6  จำนวน 222 คน
2. ด้านคุณภาพ
            2.1 นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จากโรงเรียน ได้ดำเนินการทำโครงงานในสาขา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
            2.2 นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จาก ได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น
            2.3 นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  ได้มีประสบการณ์การทำงานเป็นทีม และสร้างเครือข่ายระหว่างนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
 
ระยะเวลา 15 พ.ค. 2561 - 30 มี.ค. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร
ตัวชี้วัด 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์นำเสนอโครงงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์มีรายงานโครงงานและโปสเตอร์โครงงานที่พร้อมเผยแพร่
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนในโครงการฯ ทุกคนสามารถบูรณาการการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้รับ
2. นักเรียนในโครงการฯ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการเป็นนักเรียนของโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
3. นักเรียนใหม่มีเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนแนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นนักคิด นักประดิษฐ์ และนักวิจัยเบื้องต้น
4. นักเรียนใหม่มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของจังหวัดคู่พัฒนา
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1.1 ขออนุมัติโครงการ
1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
1.3 ประชุมเตรียมความพร้อม
ขั้นดำเนินการ 2.1 ประสานงานกับหน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้อง
2.2 ดำเนินการจัดโครงการตามแผนปฏิบัติงาน
ขั้นตรวจสอบประเมินผล     นำผลการประเมิน/ข้อเสนอมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
ขั้นสรุปและรายงาน 3.1 สรุปผลการดำเนินกิจกรรม
3.2 จัดทำรูปเล่มสรุปการดำเนินโครงการ
งบประมาณ เงินอุดหนุน   50,000          บาท
 
การบรรลุตัวชี้วัด 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์นำเสนอโครงงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์มีรายงานโครงงานและโปสเตอร์โครงงานที่พร้อมเผยแพร่
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ