ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านศิลปะประยุกต์ (งานผ้ามัดย้อมและบาติก) |
ประเภท |
โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) |
ปีการศึกษา |
2561 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
บาติกลายเขียนเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่สามารถสร้างรายได้ให้ผู้ที่ประกอบอาชีพช่างย้อมผ้าบาติกในท้องถิ่นภาคใต้ บาติกมีประวัติยาวนานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการทำย้อมและสร้างสรรค์ลวดลายบนผ้านุ่ง ผ้าโสร่งที่เรียกว่า “บาเต๊ะ” ต่อมามีการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำผ้าบาเต๊ะเพื่อสนองรูปแบบการสร้างสรรค์ที่หลากหลาย และเมื่อมีการนำเทคนิคทำผ้าบาเต๊ะมาใช้ในการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ที่มีเรื่องราว มีรูปแบบ และได้นำหลักองค์ประกอบศิลป์มาใช้เพื่อให้ผลงานมีความสมบูรณ์ สวยงามมีเอกลักษณ์ จากความงามดังกล่าว การวาดเทียน ระบายสีผ้าจึงได้แพร่หลายไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในชื่อว่า “บาติกลายเขียน”
ในประเทศไทย มีการทำผ้าบาติกลายเขียนในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เช่น ยะลา ปัตตานี นราธิวาส นอกจากนี้ยังมีการผลิตผ้าบาติกตามสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น ตรัง กระบี่ ภูเก็ต ปัจจุบันบาติกลายเขียนเป็นที่นิยมอย่างมาก มีการพัฒนาให้มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งยังมีราคาขายที่ดีกว่าบาติกพิมพ์ ส่งผลให้เกิดเกิดการแข่งขัน โดยแสดงลักษณะงาน รูปแบบและเอกลักษณ์ของตนเอง ทำให้ผ้าบาติกบางชิ้นกลายเป็นจิตรกรรมที่มีมูลค่าสูงกว่าทั่วไปมาก
การเสริมทักษะความรู้การทำผ้าบาติกให้กับผู้เรียน เป็นการเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะวิชาชีพ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมการเรียน เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ และศึกษาต่อในอนาคต ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของงานหัตถกรรม ท้องถิ่นภาคใต้
|
วัตถุประสงค์ |
1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะปฏิบัติ ในการสร้างสรรค์ผลงานบาติกเขียนลาย
2 เพื่อศึกษาหลักการออกแบบ ขั้นตอน และกระบวนการในการสร้างสรรค์บาติกเขียนลาย
3 เพื่อฝึกทักษะกระบวนการการสร้างสรรค์บาติกเขียนลาย
4 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดความคิด จินตนาการ โดยใช้เทคนิคบาติกเขียนลายเป็นสื่อนำเสนอ
5 เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของงานหัตถกรรม ท้องถิ่นภาคใต้ |
เป้าหมาย |
1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
- มีนักเรียนสนใจ และเข้าร่วมโครงการจำนวน ๑๒๐ คน
- ผู้เรียนมีผลงานงานสำเร็จจากการเรียน ไม่น้อยกว่า 4 ชิ้นงาน
2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
- ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการทำงาน
- ผู้เรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของงานหัตถกรรม ท้องถิ่นภาคใต้
|
ระยะเวลา |
16 ก.ย. 2561 - 16 ก.ย. 2561 |
สถานที่ดำเนินการ |
ห้องเรียนทัศนศิลป์ 1103 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา |
ตัวชี้วัด |
... |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1 ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะปฏิบัติ ในการสร้างสรรค์ผลงานบาติกเขียนลาย
2 ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการออกแบบ ขั้นตอน และกระบวนการในการสร้างสรรค์บาติกเขียนลาย
3 ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการการสร้างสรรค์บาติกเขียนลาย
4 ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดความคิด จินตนาการ โดยใช้เทคนิคบาติกเขียนลายเป็นสื่อนำเสนอ
5 ผู้เรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของงานหัตถกรรม ท้องถิ่นภาคใต้
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|