Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำ ตามแนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

โรงเรียน : หนองตาไก้ศึกษา สพม.ขอนแก่น

ประเภท : โรงเรียนโครงการทวิศึกษา

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 27 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 52 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำ ตามแนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ประเภท โรงเรียนโครงการทวิศึกษา
ปีการศึกษา 2558
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา คุณภาพการศึกษาไทยที่ปรากฏในรายงานของ PISA เยาวชนไทยอายุ 15 ปีมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าหลายประเทศ รวมทั้งเพื่อนบ้านในกลุ่มประชาคมอาเซียน และพบว่าปัญหาการจัดการศึกษาของประเทศไทยที่สำนักงานเลขาธิการการศึกษา (สกศ) ได้ศึกษาและรวบรวมไว้ คือนักเรียนออกกลางคันสูง เรียนไม่จบการศึกษาภาคบังคับ และการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามนโยบายเรียนฟรี 12 ปี เนื่องมาจากคนไทยยังมีปัญหาความยากจน และปัญหาสภาพแวดล้อมทั้งครอบครัว โรงเรียน และสังคม นักเรียนที่เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พอเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ออกกลางคันไปร้อยละ 20 เรียนไปถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 3 ออกกลางคันไปร้อยละ 43 หรือเกือบครึ่ง คิดเป็นจำนวนคนราว 4 แสนกว่าคน ซึ่งคิดเฉพาะนักเรียนรุ่นเดียวยังไม่ได้คิดสะสมทุกปีของประชากรไทย ผลการศึกษาและการรวบรวมรายงานต่าง ๆ จึงต้องให้ความสำคัญและแก้ปัญหาเยาวชนที่หลุดออกนอกระบบจำนวนมากที่สะท้อนถึงการขาดคุณภาพของเยาวชนเหล่านั้นที่ไม่สามารถทำอะไรได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของคนทั่วไปในอายุ 15 ปี
ตัวแปรที่เป็นผลของการขาดคุณภาพ คือ หลักสูตรสถานศึกษาที่ยังขาดการบูรณาการมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดรายวิชาเข้าไปในแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสภาพแวดล้อมและวิถีการดำเนินชีวิตของนักเรียน บทบาทของครูยังไม่เปลี่ยนบทบาทการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Passive Learning มาเป็น Active Learning ยังเป็นผู้บอกและบรรยาย ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกให้นักเรียนไปเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตัวแปรที่สำคัญอีกตัวแปร คือ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนยังขาดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นวิถีการดำเนินชีวิตจริง รวมถึงการวัดผลต้องเป็นไปตามสภาพจริงที่จะต้องนำทฤษฎีความรู้ไปอธิบายกระบวนการและขั้นตอนการทำงานนำไปสู่การแก้ปัญหาได้จริง เกิดการเรียนรู้สู่วิถีการดำเนินชีวิต ที่ใช้หลักคุณธรรมกำกับความรู้  นำไปสู่การพัฒนาตนเอง ขยายผลไปสู่ครอบครัว และชุมชน สังคมและคุณภาพชีวิตของตัวนักเรียนเอง การจัดการศึกษาของสถานศึกษาจึงต้องพัฒนานักเรียนให้ตรงตามศักยภาพเป็นรายบุคคลสามารถสำเร็จการศึกษาแล้วมีงานทำพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นไปตามความต้องการของสถานประกอบการ และกลุ่มอาชีพอิสระ รองรับการพัฒนาประเทศ
กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ประเด็นที่ 3.2 การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการและรองรับการพัฒนาประเทศ มุ่งพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะตรงความต้องการของตลาดแรงงานภายในประเทศ เรียนจบแล้วต้องมีงานทำ  ไปสู่การรองรับการเป็นศูนย์พัฒนาอาเซียน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล ให้มีความเพียงพอและตรงความต้องการของสถานประกอบการ มีขีดความสามารถแข่งขันได้ในระดับสากลและได้กำหนดกรอบวิธีการที่ต้องจัดทำฐานข้อมูลความต้องการแรงงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยที่สถานศึกษาจะต้องมีฐานข้อมูลการผลิตและพัฒนาผู้เรียนให้เชื่อมโยงกับความต้องการจำเป็นในพื้นที่ของจังหวัดและอำเภอ และตรงทิศทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะต้องให้ภาคประชาชนในสังคม อันได้แก่สถานประกอบการ และกลุ่มอาชีพอิสระเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีการบูรณาการการเรียนรู้คู่ไปกับการทำงานและร่วมกับสถานประกอบการหรือกลุ่มอาชีพอิสระ โดยที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการและรองรับการพัฒนาประเทศ เป็นโครงการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำ ตามแนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนหนองตาไก้ศึกษา ได้เข้าร่วมโครงการศึกษาและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโรงเรียนพัฒนาคู่ขนาน และตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงได้จัดทำการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำ ตามแนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21   เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 โดยอยู่บนพื้นฐานความเป็นไทยและฐานความคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เข้าใจตัวตนความเป็นไทยอย่างเข้มแข็งก่อนเข้าสู่เวทีประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน
 
วัตถุประสงค์
    1.  เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามแนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพและการมีงานทำ
    2. เพื่อพัฒนาศักยภาพครูให้มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล และส่งเสริมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
    3. เพื่อใช้เครือข่ายความร่วมมือของสถาบันทางการศึกษา สถานประกอบการ และกลุ่มอาชีพอิสระและหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนร่วมกันจัดทำหลักสูตรรายวิชารองรับกลุ่มประเภทสาขาวิชาชีพและสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
เป้าหมาย 3.1. ด้านปริมาณ
3.1.1  โรงเรียนเข้าร่วมโครงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการมีงานทำ ตามแนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับสถานบันการศึกษา จำนวน 1 สถาบัน
3.1.2  โรงเรียนเปิดหลักสูตรทวิศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1 โปรแกรมการเรียน
3.1.3  นักเรียน โรงเรียนหนองตาไก้ศึกษา  ตำบลสีชมพู  อำเภอสีชมพู  จังหวัดขอนแก่น  ประจำปีการศึกษา  2561  จำนวน  200  คน  ร้อยละ 100   ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น
3.1.4  ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ 100 สามารถออกแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ตอบสนองความต้องแตกต่างระหว่างบุคคลได้อย่างมีคุณภาพ
3.1.5  โรงเรียนหนองตาไก้ศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาสู่การประกอบอาชีพ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

          3.2.  ด้านคุณภาพ
                3.2.1  นักเรียนมีเส้นทางการศึกษาสู่การประกอบอาชีพที่มีสมรรถนะความรู้ และคุณลักษณะนิสัยตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ และกลุ่มอาชีพอิสระในท้องถิ่นระดับจังหวัดและอำเภอ
 3.2.1  คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสู่การประกอบอาชีพ และกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ได้เป็นอย่างดี
3.2.2  คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้และสามารถออกแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้ พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
3.2.3  โรงเรียนหนองตาไก้ศึกษาได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่การประกอบอาชีพ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
3.2.4  โรงเรียนมีเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาและสนับสนุนทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามนโยบายจุดเน้นและแนวทางปฏิรูปการศึกษาเพื่อยกระดับสถานศึกษาให้สูงขึ้น
 
ระยะเวลา 16 พ.ค. 2561 - 31 มี.ค. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนหนองตาไก้ศึกษา
ตัวชี้วัด สนองพันธกิจโรงเรียน     ข้อที่ 1                      กลยุทธ์โรงเรียน  ข้อที่   1,2 
สอดคล้องกับมาตรฐาน สพฐ.   มาตรฐานที่ 1        ตัวบ่งชี้ที่  1.1,1.2
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 11.1  นักเรียนมีคุณภาพครอบคลุมทั้งในด้านความสามารถและทักษะ ตลอดจนคุณลักษณะบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตรสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
11.2  นักเรียนได้เรียนรู้ตามกลุ่มประเภทวิชาชีพที่ตนเองถนัดและมีบุคลิกภาพเหมาะสม มีเส้นทางการศึกษาสำเร็จการศึกษาแล้วมีงานทำ มีทักษะสมรรถนะความรู้และคุณลักษณะนิสัยตรงตามความต้องการของสถานประกอบการและกลุ่มอาชีพอิสระ รองรับการพัฒนาประเทศ
11.3  คณะครูโรงเรียนหนองตาไก้ศึกษาได้พัฒนาศักยภาพให้มีประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
11.4  โรงเรียนหนองตาไก้ศึกษาได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่การประกอบอาชีพ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ