ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โรงเรียนในฝัน |
ประเภท |
โรงเรียนในฝัน (Lab School) |
ปีการศึกษา |
2546 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนในระดับอำเภอ ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในฝัน ที่เป็นตัวอย่างการจัดการศึกษาในระดับอำเภอที่มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเคียงกับโรงเรียนชั้นนำในระดับจังหวัด ให้เด็กและเยาวชนในชนบทมีโอกาสเข้ารับการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมทั้งเป็นต้นแบบในการนำนวัตกรรมทางการศึกษาที่ทันสมัยไปพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพมาตรฐาน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่22 เมษายน พ.ศ. 2546 ในปี พ.ศ. 2547 ภายใต้ชื่อโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน หรือโครงการโรงเรียนในฝันในปัจจุบันในการดำเนินงานได้กำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาโรงเรียนอย่างรอบด้าน ทั้งระบบโรงเรียน ประกอบด้วย นักเรียน กระบวนการจัดการศึกษาภายในโรงเรียนการเรียนรู้และการพัฒนาการใช้งบประมาณ และภาคีเครือข่าย ซึ่งแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ใช้หลัก “3 ตัวช่วย 1 ตัวเชื่อม” 3 โดยมีศูนย์ปฏิบัติการ (Resource center) ทีมพี่เลี้ยง (roving team) และภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ (Partnership) เป็นตัวช่วย และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร (ICT) เป็นตัวเชื่อม และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันทั้งการพัฒนาโรงเรียนให้สามารถเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของโรงเรียนที่ได้รับการรับรองเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันแล้ว
ปัจจุบัน มีโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษา ขยายโอกาส และมัธยมศึกษา ที่ได้รับการคัดเลือกจากชุมชนเพื่อเข้าร่วมโครงการ และพัฒนาให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในฝัน รวม 3 รุ่นการพัฒนาโรงเรียน รุ่นที่ 1 ระหว่างปีพ.ศ. 2547 –2549 ภายใต้ชื่อโครงการ “ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน จำนวน 921 โรงเรียน รุ่นที่ 2 ปีพ.ศ. 2550 ภายใต้ชื่อ“โรงเรียนดีใกล้บ้าน จำนวน 865 โรงเรียน และ รุ่นที่ 3 ในปี 2553 ภายใต้ชื่อ โรงเรียนดีระดับอำเภอ จำนวน 840 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 2,626 โรงเรียน โดยได้รับการยกระดับเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 259 โรงเรียน คงเหลือโรงเรียนในโครงการ จำนวน 2,366 โรงผลการพัฒนาอยู่ในระดับที่น่าพอใจแต่อย่างไรก็ตามโรงเรียนในฝัน มีความเข้มแข็งและมีความโดดเด่นเฉพาะด้านแตกต่างกัน มีโรงเรียนเพียงบางส่วนที่โดดเด่นในการพัฒนาทั้งระบบโรงเรียน
- โรงเรียนในฝัน คือ โรงเรียนที่มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานทางการศึกษาของชาติ และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับชุมชนและสังคม มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์และมีความเชี่ยวชาญเป็นโรงเรียนต้นแบบในด้านการพัฒนาให้กับโรงเรียนอื่นได้ โดยการใช้การบริหารจัดการแนวใหม่ที่มุ่งพัฒนาโรงเรียนในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านวิชาการ กระบวนการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และการนำเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ และการบริหารจัดการ โดยมุ่งหวังให้เด็กไทยเป็นคนดี มีคุณภาพ และมีอนาคตที่สดใส สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน นับเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการพัฒนาเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของชาติให้มีคุณภาพ
ในการดำเนินงานโครงการ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกลยุทธ์หลักให้โรงเรียนใช้ดำเนินการ 5 กลยุทธ์ (ศูนย์บริหารโครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน LSP 0019, 2548)
|
วัตถุประสงค์ |
วัตถุประสงค์ทั่วไป
- เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนในฝันทั้งด้านการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
- เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพโรงเรียนในฝันให้มีมาตรฐานสูงขึ้น
วัตถุประสงค์เฉพาะ (ปีงบประมาณ พ.ศ.2560)
- เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ การบริหารจัดการและการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนของโรงเรียนในฝันและคณะนิเทศผู้ดูแลโรงเรียนในฝันระดับเขตตรวจราชการ
- เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการจัดการเรียนรู้
- เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนในฝันให้เกิดความยั่งยืนโดยการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา
- เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับโรงเรียนในฝัน เพื่อการยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากล
|
เป้าหมาย |
โรงเรียนในโครงการ |
ระยะเวลา |
15 ต.ค. 2561 - 15 ต.ค. 2561 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนตรอนตรีสินธุ์ |
ตัวชี้วัด |
นักเรียนมีนิสัยใฝ่รู้รักการอ่านและการค้นคว้า สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นคนดีมีคุณธรรม รู้จักคิดวิเคราะห์มีทักษะการดำรงชีวิตในสังคมยุคใหม่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้สร้างงาน สร้างอาชีพสามารถนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์ สืบสานวิถีวัฒนธรรมไทยอย่างมั่นใจในตนเอง
ครู มีทักษะวิชาชีพในการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะสมกับนักเรียน มีความกระตือรือร้น สนใจ ใส่ใจดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองตามศักยภาพอย่างเต็มกำลังความสามารถเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงให้โรงเรียนมีการบริหารจัดการที่ดีมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาวิชาการ หลักสูตร นวัตกรรมและกระบวนการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพเกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
โรงเรียน เป็นโรงเรียนชั้นดี มีคุณภาพ มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้
มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นเป็นต้นแบบของการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงซึ่งเกิดจากการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติร่วมพัฒนาร่วมสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาสังคม
ผู้ปกครองและชุมชนให้การยอมรับ เชื่อถือ มีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของและสนับสนุนการดำเนินงานของ
โรงเรียน
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลผลิต(เชิงปริมาณ)
- โรงเรียนในฝันได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- โรงเรียนในฝันได้รับการเตรียมความพร้อมเพื่อยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากล
- สื่อและเอกสาร แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รูปแบบโรงเรียนในฝัน (Lab School Model)
ผลลัพธ์(เชิงคุณภาพ)
- โรงเรียนมีศักยภาพในการบริหารจัดการและจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วนและ
ชุมชนเครือข่ายผู้อุปถัมภ์
- นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ กล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก มีนิสัยรักการอ่าน มีทักษะในการดำรงชีวิต
มีความมั่นคงใจในตนเองมีความเป็นไทย
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|