Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการเทคโนโลยีเกษตร

โรงเรียน : ชลบุรี (สุขบท) สพม.ชลบุรี ระยอง

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 5.00

เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ค. 2563 โดย : นางสาวกนกกาญจน์ แสงทอง จำนวนผู้เข้าชม 25 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการเทคโนโลยีเกษตร
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา เห็ดเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยาป้องกันรักษาโรคได้หลายชนิด เห็ดเศรษฐกิจหลายชนิดเป็นเห็ดที่เพาะให้เกิดดอกได้ดีในถุงพลาสติก เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหอม เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว และ เห็ดกระด้าง เป็นต้น โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรชนิดต่างๆ เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ฟางข้าว ผักตบชวา เศษใบไม้ หญ้า ซังข้าวโพด ฯลฯ มาใช้เป็นวัสดุสำหรับเพาะ สามารถทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง
สืบเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้ตั้งเป้าให้การเกษตรเป็นเลิศ เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาขยายผลให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  โรงเรียนชลบุรี “สุขบท” จึงได้จัดทำโครงการเทคโนโลยีชีวภาพขึ้นในโรงเรียน โดยจัดกิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อรองรับเขตระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนให้ได้ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกด้าน
 
วัตถุประสงค์ 1 เพื่อพัฒนาความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติจริง
2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ประสบการณ์ในการนำไปพัฒนาประกอบอาชีพ    
3 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะอาชีพตอบสนองโรงเรียนในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
 
เป้าหมาย     1 เชิงปริมาณ
           1.1 นักเรียนร้อยละ 100 ได้ศึกษาวิชางานเกษตร กลุ่มทักษะอาชีพเพียงพอต่อความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล
           1.2 นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพที่ส่งเสริมการมีงานทำสอดคล้องกับความต้องการในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
   2 เชิงคุณภาพ
          2.1 นักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
        2.2 นักเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของโรงเรียน
          2.3 นักเรียนสามารถจัดแสดงผลงานของแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 
ระยะเวลา 1 พ.ค. 2562 - 30 มี.ค. 2563
สถานที่ดำเนินการ โรงเพาะเห็ด
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัดการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
1. นักเรียนร้อยละ 100 ได้ศึกษาวิชาเพิ่มเติมกลุ่มงานเกษตรเพียงพอต่อความสนใจและความถนัด สำรวจจำนวนนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ รายงานนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ
2. นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพที่ส่งเสริมการมีงานทำสอดคล้องกับความต้องการในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สำรวจจำนวนนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ รายงานนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ
3. นักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประมินความพึงพอใจ แบบสอบถามความพึงพอใจ
4. นักเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของโรงเรียน ประเมินสภาพจริง
 
ผลงานนักเรียน
รายงานการสรุปการจัดกิจกรรม
5. นักเรียนสามารถจัดแสดงผลงานของแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเมินสภาพจริง
ผลงานนักเรียน
นิทรรศการมีชีวิต
 
ผลงานนักเรียน
นิทรรศการมีชีวิตเปิดโลกการศึกษาและอาชีพ
รายงานการสรุปการจัดกิจกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1 นักเรียนมีความพร้อมในในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติจริง และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งด้านวิชาการ ด้านปฏิบัติ ที่นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจและความถนัด
2 นักเรียนมีมีความรู้ประสบการณ์ในการนำไปพัฒนาประกอบอาชีพ    
3 นักเรียนสามารถนำความรู้จากการศึกษาไปปรับใช้กับชีวิตตน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
พัฒนาตนเองและมีทักษะอาชีพตอบสนองโรงเรียนในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
 
สรุปคะแนนประเมิน 5.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ ขั้นเตรียมงาน (PLAN)
1 เขียนแผนการเรียนรู้เพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
2 จัดทำงบประมาณโครงการเพาะเห็ด
3 เสนอขออนุมัติโครงการ
ขั้นดำเนินการ ขั้นดำเนินการ (DO)
1 ดำเนินการจัดซื้อวัสดุ  อุปกรณ์ ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ให้พร้อม
3 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ขั้นตรวจสอบ (CHECK)
1 ประเมินความความรู้ความเข้าใจสาระเนื้อหา กิจกรรมฝึกปฏิบัติของนักเรียนที่เรียน
2 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
3 ประเมินผลการประเมินกิจกรรมการเรียนรู้
4 นิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นสรุปและรายงาน ขั้นรายงาน (ACTION)
   นำผลการประเมินโครงการไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
งบประมาณ 13,000 บาท
การบรรลุตัวชี้วัด  
ที่ วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม ผลการดำเนินการ ความสำเร็จ
ของโครงการ
1. นักเรียนร้อยละ 100 ได้ศึกษาวิชาเพิ่มเติมกลุ่มงานเกษตรเพียงพอต่อความสนใจและความถนัด มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เลือกเรียนในรายวิชางานเกษตร  จำนวน   คน
 
100
2 นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพที่ส่งเสริมการมีงานทำสอดคล้องกับความต้องการในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กิจกรรมการเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า สอดคล้องกับการจัดการศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ในเรื่องเทคโนโลยีการเกษตร 100
3. นักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินการจัดการสอนของครู นักเรียนพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการสอน 100
4. นักเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของโรงเรียน นักเรียนฝึกทักษะการเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้าได้ตามวัตถุประสงค์ 100
5. นักเรียนสามารถจัดแสดงผลงานของแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนมีผลงานออกจำหน่ายในโรงเรียน 100
สรุปผล   การดำเนินงานตามเป้าหมาย/ตัวชี้วัดคิด เป็นร้อยละ   100
[   ] สูงกว่าเป้าหมาย    [ /] ตามเป้าหมาย     [   ] ต่ำกว่าเป้าหมาย
 
ความพึงพอใจ        นักเรียนมีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
 
ปัญหาและอุปสรรค พัฒนาทักษะทางด้านอาชีพ ด้านอื่นๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนต่อไป
 
ข้อเสนอแนะ -
รูปภาพประกอบ