Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ห้องเรียนธรรมชาติกลุ่มชาติพันธุ์ แหล่งเรียนรู้ สู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน

โรงเรียน : น่านประชาอุทิศ สพม.น่าน

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ค. 2563 โดย : ณภัทร์สกล ปัญญา จำนวนผู้เข้าชม 26 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ห้องเรียนธรรมชาติกลุ่มชาติพันธุ์ แหล่งเรียนรู้ สู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา โรงเรียนน่านประชาอุทิศ มีบริบททางกายภาพที่เป็นสวนป่า ประกอบด้วยต้นไม้น้อยใหญ่อยู่ในโรงเรียน ที่มีสภาพสมบูรณ์ มีพื้นที่โดยประมาณ 10 ไร่ สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างมวลประสบการณ์
เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ และสร้างความตระหนักในการรักษา/ดูแล และหวงแหนฝืนที่มีอยู่และดำรงชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตและพัฒนาอาชีพในอนาคต โรงเรียนจึงพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ตามโครงการ "ห้องเรียนธรรมชาติกลุ่มชาติพันธุ์ แหล่งเรียนรู้ สู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน" ขึ้น
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ สุขภาวะ พลานามัย ทักษะอาชีพและฝึกทักษะการเป็นผู้นำ
  2. มีความรู้ความเข้าใจในเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้ และใช้พื้นที่สวนป่าเป็นแหล่งเรียนรู้ได้
  3. นักเรียนแกนนำสามารถออกแบบการเรียนรู้และนำความรู้ไปจัดกิจกรรม เผยแพร่ความรู้ให้กับนักเรียนหรือบุคคลทั่วไปได้
  4. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  5. เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มได้ปฏิบัติ มีทักษะในงานอาชีพและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
เป้าหมาย นักเรียนโรงเรียนน่านประชาอุทิศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6)ปีการศึกษา 2561 จำนวน 100 คน
ระยะเวลา 30 ก.ค. 2562 - 30 ก.ค. 2563
สถานที่ดำเนินการ สวนป่า โรงเรียนน่านประชาอุทิศ
ตัวชี้วัด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กระบวนการ
    • Plan
      นักเรียนทุกคนในกลุ่มร่วมกันวางแผนในการดำเนินงานพัฒนาห้องเรียนของตัวเองว่าจะดำเนินการอย่างไรตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการได้ชิ้นงาน และการขยายผล
    • Do นักเรียนทุกคนได้ลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้ในชั่วโมงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจำนวน ๒๐ ชั่วโมง ซึ่งจะมีการนำคุณธรรมพื้นฐานตามหลักของโรงเรียนจริยคุณมาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดการมีวินัย
    • Check มีการวัดและประเมินผล โดยมีนักเรียนเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมและครูที่ปรึกษาโครงการทั้งด้านความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) โดยได้ทำการวัดและประเมินผลก่อน ระหว่าง และหลังกิจกรรม ทำให้สามารถแก้ปัญหา พัฒนากิจกรรมตามโครงการได้เป็นอย่างดี
    • Act ในแต่ละกลุ่มจะมีการสร้างชิ้นงานเพื่อนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในช่วงจัดเวทีเสวนา และขยายผลให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตพื้นที่ตำบลกองควายประกอบด้วยโรงเรียนบ้านน้ำครกใหม่ โรงเรียนบ้านนาผา และโรงเรียนบ้านธงหลวง นอกจากนั้นยังพัฒนาขยายผลต่อชุมชนตำบลกองควาย ชมรมรักษ์ป่าน่าน ตามกิจกรรมกล้าดี ลูกกล้าพันธุ์ดี โครงการส่งเสริมการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช
  2. นักเรียนได้ปฏิบัติ มีทักษะในงานอาชีพและสามารถนำทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมซึ่งทำให้เกิดทักษะ 3 ด้านดังนี้
    1. ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) นักเรียนได้เรียนรู้เริ่มจากการวางแผน การเตรียมพื้นที่ การปฏิบัติแต่ละกิจกรรม เช่น การปลูกผัก การสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ สร้างโรงเรือนในการเพาะเห็ด การเพาะเห็ด การจัดวางเห็ดในโรงเรือน การดูแลรักษา การเก็บผลผลิต ตลอดถึงการแปรรูปเห็ด
    2. ทักษะชีวิต (Life Skills) นักเรียนได้ฝึกประสบการณ์ในการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เริ่มจากการสร้างโรงเรือน การดูแลรักษา การเก็บผลผลิต การจำหน่าย การทำบัญชีรายรับ – จ่าย ซึ่งต้องใช้ทักษะชีวิตการทำงานร่วมกัน การมีความสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิก การรู้จักเสียสละ เป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
    3. ทักษะการทำงาน (Working Skills) การทำงานในกลุ่มคนที่มาก ย่อมทำให้ความคิดเห็น ทัศนคติที่ต่างกัน ทำให้เกิดความขัดแย้ง ดังนั้นการให้นักเรียนดำเนินการบริหารจัดการด้วยตนเองในรูปกลุ่มสมาชิก ทำให้เกิดความสามัคคี การรู้จัก การบริหารจัดการกับปัญหา การแก้ปัญหาอย่างถูกต้องถูกวิธี นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการทำงานให้สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ จัดทำแผนงานและหลักสูตรห้องเรียนธรรมชาติ
  1. ประชุมและวางแผนออกแบบกิจกรรม
  2. จัดทำคู่มือกระบวนการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติกำหนดผู้รับผิดชอบ
ขั้นดำเนินการ สร้างความตระหนัก โดย
  1. ศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนวิถีบ้านน้ำเกี๋ยน ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เกี่ยวกับการปลูกพืชสมุนไพร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ปราชญ์ชาวบ้าน (อ.ประดิษฐ์ เพชรแสนอนันต์ ชมรมรักษ์ป่าน่าน) เกี่ยวกับความรู้เรื่องฝายชะลอน้ำ ปราชญ์ชาวบ้าน (พ่ออินปั๋น ทาคำสม) เกี่ยวกับความรู้เรื่องพืชสมุนไพร ศูนย์ปฏิบัติธรรมวังธรรม น้ำทอง ตำบลกองควาย อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน การปฏิบัติในการทำฝายชะลอน้ำ
  2. จัดฝึกอบรมนักเรียนแกนนำ ๖ ฐานการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ได้แก่
    • ห้องเรียนที่ ๑ ห้องเรียนระบบนิเวศวิทยาป่าไม้ในสวนป่า
    • ห้องเรียนที่ ๒ ห้องเรียนปลูกต้นไม้ในใจคน
    • ห้องเรียนที่ ๓ ห้องเรียนพืชสมุนไพรใกล้ตัว
    • ห้องเรียนที่ ๔ ห้องเรียนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
    • ห้องเรียนที่ ๕ ห้องเรียนฝายชะลอน้ำ
    • ห้องเรียนที่ ๖ ห้องเรียนมาตรฐานอาหารปลอดภัยไร้สารพิษ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ตรวจสอบประเมินผล
  1. นักเรียนถอดประสบการณ์การเรียนรู้เขียนผังมโนทัศน์ตามฐานกิจกรรม 6 ฐาน
  2. จัดเวทีเสวนา 
ขั้นสรุปและรายงาน ประเมินและสรุปผลการทดลอง
  • สรุปบทเรียนการเรียน/องค์ความรู้ และรายงานความสำเร็จ
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ จากการดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการห้องเรียนธรรมชาติกลุ่มชาติพันธุ์ แหล่งเรียนรู้สู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืนนั้น
มีข้อเสนอแนะในการดำเนินการ ดังนี้
  1. ควรจัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และขยายผลสู่ชุมชนใกล้เคียง
  2. ควรให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ขยายผลสู่ชุมชนของตนเองและร่วมกันรักษ์ป่าต้นน้ำ
  3. ควรให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน
รูปภาพประกอบ