โรงเรียน : พรรณาวุฒาจารย์ สพม.สกลนคร
ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ผลการประเมิน : 0.00
เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ค. 2563 โดย : นายนรพงษ์ปณต นรสาร จำนวนผู้เข้าชม 23 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | โครงการ ยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาภาษาไทย ปีการศึกษา ๒๕๖๒ |
ประเภท | โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) |
ปีการศึกษา | 2562 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน |
ผู้รับผิดชอบ | |
ความเป็นมา | ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตราที่ ๒๔ วรรค ๓ กล่าวว่า การเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ฝึกประสบการณ์ตรง กล้าคิดและกล้าแสดงออก ฝึกการปฏิบัติให้สามารถทำได้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ มีนิสัยรักการอ่านและเกิดการใฝ่เรียนใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนพรรณาวุฒาจารย์ จึงมีมติให้จัดทำโครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อสนองตอบนโยบายปฏิรูปการศึกษาดังกล่าว โดยจัดกิจกรรมการแข่งขันทักษะภาษาไทย แข่งขันความเป็นเลิศทางภาษาไทย จัดซื้อ จัดหา ผลิตสื่อ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน และเพื่อให้มีความรู้ที่คงทนต่อไป |
วัตถุประสงค์ | ๑. เพื่อการจัดทำและพัฒนาสื่อให้มีความพร้อม ทันสมัย และมีจำนวนมากขึ้น ๒. เพื่อให้นักเรียนที่มีศักยภาพทางด้านภาษาไทยได้แสดงออกอย่างเต็มที่ ๓. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและฝึกประสบการณ์ตรง ๔. เพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกถึงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและมีความรักความภาคภูมิใจ ในความเป็นไทย ๕. เพื่อให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน ๖. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการทำกิจกรรมกลุ่มผ่านการทำโครงงาน ๗. เพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการภาษาไทยให้พร้อมและเพียงพอสำหรับให้บริการนักเรียน |
เป้าหมาย | ผลผลิต (Outputs) นักเรียนนิสัยรักการอ่าน การเขียน ภาคภูมิใจในภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ ผลลัพธ์ (Outcomes) นักเรียนเป็นคนแห่งการเรียนรู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน กล้าแสดงออก สามารถพัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ผลกระทบ(Impacts) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการสอบระดับชาติวิชาภาษาไทยสูงขึ้น |
ระยะเวลา | 1 เม.ย. 2562 - 31 มี.ค. 2563 |
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนพรรณาวุฒาจารย์ |
ตัวชี้วัด | มาตรฐานที่ ๓ ตัวบ่งชี้ที่ ๖ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | ๑. นักเรียนสามารถแสดงออกด้านความคิดสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ๒. นักเรียนสามารถส่งเสริมและสืบสานมรดกทางวรรณศิลป์ เผยแพร่ และตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมไทย ๓. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑– ๖ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ มีผลสัมฤทธิ์ทางภาษาไทย และผลการสอบ o – net สูงขึ้น ๔. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีระบบการพัฒนานักเรียนที่มีประสิทธิผลเป็นที่ยอมรับของบุคลากรใน โรงเรียนและผู้ปกครอง ๕. นักเรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนและรักการอ่าน ๖. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจัดทำและพัฒนาสื่อให้มีความพร้อม ทันสมัย และเพียงพอ ๗. นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การทำกิจกรรมกลุ่มผ่านการทำโครงงาน |
สรุปคะแนนประเมิน | 0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
คำสั่ง |
ขั้นเตรียมการ | |
ขั้นดำเนินการ | |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | |
ขั้นสรุปและรายงาน | |
งบประมาณ | |
การบรรลุตัวชี้วัด | |
ความพึงพอใจ | |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
รูปภาพประกอบ |