Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

การบริหารงานด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

โรงเรียน : ชลบุรี (สุขบท) สพม.ชลบุรี ระยอง

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 3.75

เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ค. 2563 โดย : การงาน สารสนเทศ จำนวนผู้เข้าชม 25 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม การบริหารงานด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน

     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กำหนดให้ผู้ปกครอง ชุมชน เอกชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยจะสำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ สถานศึกษา โดยเฉพาะผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) ยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา จะต้องเปิดใจกว้างและคิดว่าสถานศึกษามิใช่แหล่งความรู้เพียงแห่งเดียว แต่ความรู้ที่อยู่ล้อมรอบสถานศึกษานั้น ยังมีอีกมากมาย การยอมรับว่าภูมิปัญญาชาวบ้านมีคุณค่านั้น จะเป็นหนทางที่ทำให้สถานศึกษาเปิดรับการบูรณาการระหว่างภูมิความรู้ของสถานศึกษาและภูมิความรู้จากชาวบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างแท้จริง คณะกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายการเรียน   การสอนในการจัดเตรียมการสอนเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่จะต้องมีความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากร อุปกรณ์ อาคารสถานที่ เพื่อให้เด็กได้เรียนอย่างเสมอภาค สำหรับกระบวนการเรียนรู้จะต้องให้เด็กทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด นั่นก็คือ การยึดเด็กเป็นศูนย์กลางสถานศึกษาจะต้องร่วมกับภาคเอกชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน จัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาใช้ภูมิปัญญาและวิทยาการต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการสถานศึกษาจะต้องมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์พัฒนากับชุมชน หลักสูตร เป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา เปรียบเสมือนเป้าหมายของการเดินทางหรือเข็มทิศของการศึกษา หลักสูตรจะต้องได้มาตรฐานสากล ผู้ทำให้หลักสูตรได้มาตรฐาน นอกจากกระทรวงศึกษาธิการแล้ว สถานศึกษา ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้ร่วมพิจารณากำหนดโดยยึดความต้องการของสังคมเป็นเกณฑ์ นอกจากนี้การวัดผลจะต้องเที่ยงตรง ตลอดจนใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงจะสอดคล้องกับการเรียนการสอน หลักสูตรที่ดีจะต้องมีการยืดหยุ่น รวมทั้งการเรียนรู้นอกระบบตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือประสบการณ์การทำงาน นอกจากนี้ การจัดทำหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
จากงานวิจัยความจำเป็นต้องการและการจัดลำดับของการดำเนินการตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนชลบุรี“สุขบท” ปีการศึกษา 2560 พบว่า มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา มีความจำเป็นต้องปรับปรุงเร่งด่วนอยู่ในลำดับที่ 3 มีสภาพจริงที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย 3.84 แต่สภาพที่ควรจะเป็น เท่ากับ 4.64 ตัวบ่งชี้ที่ 3 อยู่ในลำดับที่ 2 ของการปรับปรุงเร่งด่วน ดังนั้น กลุ่มบริหารงานบุคคล การเงิน และสินทรัพย์ จึงจัดให้มีโครงการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมด้านการจัดการศึกษาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วม กำกับ ติดตาม และสนับสนุน การดำเนินงานของสถานศึกษา
2.  เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
 
เป้าหมาย 1. ด้านปริมาณ
1.1  มีการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี
1.2  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าร่วมประชุม อย่างน้อยร้อยละ 70 ของจำนวนครั้งที่จัดประชุมทั้งปี
2.  ด้านคุณภาพ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของสถานศึกษาอยู่ในระดับดี
 
ระยะเวลา 16 พ.ค. 2562 - 15 พ.ค. 2563
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนชลบุรี “สุขบท”
ตัวชี้วัด 1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี
2.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าร่วมประชุม อย่างน้อยร้อยละ 70 ของจำนวนครั้งที่จัดประชุมทั้งปี
3.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา อยู่ในระดับดี
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วม กำกับ ติดตาม และสนับสนุน การดำเนินงานของสถานศึกษา
2.  มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
 
สรุปคะแนนประเมิน 3.75
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1. ศึกษานโยบายของ สพฐ. เขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน
2. ศึกษา สรุปผลการดำเนินโครงการฯ ในปีที่ผ่านมา
3. ศึกษาบริบทและสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการฯ
4. ศึกษาความต้องการจำเป็นเรียงลำดับความเร่งด่วน
5. จัดทำโครงการฯ นำเสนอต่อฝ่ายบริหาร
 
ขั้นดำเนินการ จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
ครั้งที่ 3
ครั้งที่ 4
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 1. กำกับและติดตามการดำเนินงาน
2. ประเมินความสำเร็จของการบริหารสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด
 
ขั้นสรุปและรายงาน 1. วิเคราะห์และรายงานผลการประเมิน
2. วิเคราะห์และรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ
งบประมาณ 20,000  บาท    
การบรรลุตัวชี้วัด
ที่ เป้าหมายของโครงการ/กิจกรรม ผลการดำเนินการ ความสำเร็จของโครงการ
1 มีการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมาเข้าร่วมประชุมเพียง 1 ครั้งต่อปี ร้อยละ
25
2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าร่วมประชุม อย่างน้อยร้อยละ 70 ของจำนวนครั้งที่จัดประชุมทั้งปี คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนครั้งที่จัดประชุมทั้งปี ร้อยละ
100
3 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา
อยู่ในระดับดี
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของสถานศึกษาอยู่ในระดับดี
ร้อยละ
100
ความพึงพอใจ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของสถานศึกษาอยู่ในระดับดี
ปัญหาและอุปสรรค -
ข้อเสนอแนะ ควรจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี ตามเกณฑ์การประเมินของ  สมศ.
รูปภาพประกอบ