ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนโครงการส่งเสริมความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (ม.ต้น) |
ประเภท |
โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC) |
ปีการศึกษา |
2562 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
จากการที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา10 ระบุให้ การจัดการศึกษาสำหรับบุคคล
ซึ่งมีความสามารถพิเศษต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลทั้งนี้เพื่อพัฒนาบุคคลเหล่านี้ให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ อันจะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและเป็นผู้นำด้านต่างๆในการพัฒนาประเทศในอนาคต แต่การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษา ยังไม่แตกต่างจากการจัดให้กับผู้เรียนทั่วไป ซึ่งเด็กที่มีความสามารถพิเศษเหล่านี้ต้องจัดการศึกษาในรูปแบบที่แตกต่างจากกล่มผู้เรียนปกติ ทั้งในเรื่องการเรียนรู้ หลักสูตรการวัดและการประเมินผล รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่ต้องมีหลากหลาย เหมาะสมสอดคล้องแต่ละบุคคล ซึ่งหลักสูตรที่พัฒนาได้นำไปปฏิบัติจริง สามารถตอบสนองความต้องการและศักยภาพของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ทางกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ขึ้นมาซึ่งที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวในทุกกิจกรรมประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี |
วัตถุประสงค์ |
2. วัตถุประสงค์โครงการ
2.1 เพื่อจัดการเรียนคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ กลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติและกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.2 เพื่อให้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สามารถดำเนินการจัดการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ ได้เป็นรูปธรรมและสามารถเป็นศูนย์ปฏิบัติการเป็นแนวการจัดการเรียน
2.3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
2.4 เพื่อจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้สนองต่อนโยบายการปฏิรูปการศึกษาให้เรียนรู้สู่สากล
|
เป้าหมาย |
3. เป้าหมายโครงการ
3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
3.1.1 นักเรียนที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้รับการเสริมความรู้ความสามารถประสบการณ์ ทั้งแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆนอกเหนือกิจกรรมในหลักสูตร
3.1.2 นักเรียนในโครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์มีโอกาสนำเสนอผลงานวิชาการอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง
3.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
3.2.1 ครูมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่หลากหลายเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมีประสิทธิภาพ
3.2.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงขึ้น
3.2.3 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
|
ระยะเวลา |
1 พ.ค. 2562 - 28 ก.พ. 2563 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม |
ตัวชี้วัด |
1. นักเรียนที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100
2. นักเรียนที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ได้รับการเสริมความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ทั้งแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและแหล่งเรียนรู้อื่น
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. การจัดการเรียนคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ กลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติและกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สามารถดำเนินการจัดการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ ได้เป็นรูปธรรมและสามารถเป็นศูนย์ปฏิบัติการเป็นแนวการจัดการเรียนให้กับโรงเรียนอื่นต่อไป
3. นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
4. กิจกรรมเสริมหลักสูตรสนองต่อนโยบายการปฏิรูปการศึกษาให้เรียนรู้สู่สากล
|
สรุปคะแนนประเมิน |
5 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
1. ประชุม วางแผน และมอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการดำเนินการ
2. ชี้แจงวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงานและสิ่งที่นักเรียนจะได้รับประโยชน์ |
ขั้นดำเนินการ |
ขออนุมัติการดำเนินโครงการ/กิจกรรม |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรม |
ขั้นสรุปและรายงาน |
นำปัญหาที่พบมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป |
งบประมาณ |
2,197,500 |
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|