Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

ส่งเสริมและพัฒนาอัจริยภาพนักเรียนด้านวิทยาศาสตร์ (ม.ปลาย)

โรงเรียน : สามัคคีวิทยาคม สพม.เชียงราย

ประเภท : โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC)

ผลการประเมิน : 5

เผยแพร่เมื่อ : 31 ก.ค. 2563 โดย : นางณิชกานต์ จองไพจิตรสกุล จำนวนผู้เข้าชม 61 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมและพัฒนาอัจริยภาพนักเรียนด้านวิทยาศาสตร์ (ม.ปลาย)
ประเภท โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC)
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 31 กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และกำกับดูแลการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผนและมาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา มาตรา 33 กำหนดให้สภาการศึกษามีหน้าที่พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติและพิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และมาตรา 34 กำหนดให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษาและคณะกรรมการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐาน และ/หรือหลักสูตรแต่ละระดับ ที่สอดคล้องกับความต้องการของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ เป็นสาระเกี่ยวกับอุดมการณ์ เป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาของชาติที่พึงประสงค์ มีไว้เป็นหลักสำหรับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษาและคณะกรรมการอุดมศึกษา นำไปใช้กำหนดแนวทางการพัฒนาและจัดการศึกษา เพื่อประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เต็มตามศักยภาพและตรงตามความต้องการ อย่างคุ้มค่า เสมอภาคและเป็นธรรม ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานการศึกษาของชาติ มีแต่มาตรฐานสำหรับการประเมินภาพภายนอกของสถาบันการศึกษาทุกระดับ จำเป็นต้องมีมาตรฐานการศึกษาของชาติที่ครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาทุกประเภท (การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย) และทุกระดับ (การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับอาชีวศึกษา และการศึกษาระดับอุดมศึกษา หลักการสำคัญตามอุดมการณ์ และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะที่เป็นพลเมืองไทย และพลเมืองโลก มีรากฐานที่พอเพียงสำหรับการใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต ให้สังคมทุกภาคส่วนมีการจัดการศึกษาตรงตามความต้องการของผู้เรียน และจุดเน้นการยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้มีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น มีคุณธรรมและสำนึกความเป็นไทย จุดเน้นการยกระดับคุณภาพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานพัฒนาเทคนิคกระบวนการจัดเรียนการสอน ตลอดจนข้อมูลการวิเคราะห์สภาพปัญหา (SWOT) แนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องตามบริบทความต้องการของกลุ่มสาระฯ ดังนั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงได้จัดทำโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ขึ้น เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ คุณธรรม ความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพัฒนาสู่คุณภาพระดับสากล
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะ ในการแสวงหาหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมาย 2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
                 2.1.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงขึ้น ร้อยละ 90
                 2.1.2 นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำโครงงาน ร้อยละ 90
                 2.1.3 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ รักการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ร้อยละ 90
        3.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
                 2.2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ดีขึ้น
                 2.2.2 นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
 
ระยะเวลา 1 พ.ค. 2562 - 28 ก.พ. 2563
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
ตัวชี้วัด         1. นักเรียนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ดีขึ้น
        2. นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ดีขึ้น
2. นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
 
สรุปคะแนนประเมิน 5
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1. ประชุม วางแผน และมอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการดำเนินการ
2. ชี้แจงวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงานและสิ่งที่นักเรียนจะได้รับประโยชน์
ขั้นดำเนินการ ขออนุมัติการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรม
ขั้นสรุปและรายงาน นำปัญหาที่พบมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ