โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการจิตศึกษา Problem-based Learning (PBL)

โรงเรียน : หนองนางพิทยาคม สพม.หนองคาย

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 1 ส.ค. 2563 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 24 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการจิตศึกษา Problem-based Learning (PBL)
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2563
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ความหมาย
จิตศึกษาใช้นวัตกรรมจิตศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาปัญญาภายใน และ ออกแบบการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL (Problem Based Learning) และ เรียนรู้ผ่านชุมชนการเรียนรู้ของครู (Professional Learning Community) หรือ PLC อันเป็นวงคุยของครูเพื่อทบทวน วิเคราะห์ และพัฒนาการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ในฐานะโรงเรียนพี่เลี้ยงในการปรับการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเครือข่าย (โรงเรียนที่มีก้อนหินใหญ่ยักษ์หน้าประตูโรงเรียน บนนั้นปรากฏอักษรประดิษฐ์วางเรียงเขียนข้อความว่า – ไม่มีหินก้อนใดโง่ โรงเรียนนอกกะลา – และนี่อาจอธิบายเหตุผลได้ว่าทำไมครูเครือข่ายโรงเรียนนำร่องในโครงการพื้นที่นวัตกรรม จึงมารวมตัวกันที่นี่)
จิตศึกษา หมายถึง การนั่งจับกลุ่มเป็นวงกลม ครูไม่ได้นั่งสูงกว่า นักเรียนไม่ได้นั่งต่ำกว่า แต่เป็นวงล้อมรอบที่ทุกคนนั่งเสมอกัน และพูดคุยแสดงความคิดเห็นในประเด็นใดประเด็นหนึ่งอย่างเคารพว่านี่คือ ‘ความคิดของเขา’ ไม่ตัดสิน ไม่เยาะเย้ย ไม่ดูแคลน ไม่ใช่แค่ให้ออกความเห็นอย่างเสมอภาค แต่จิตศึกษาออกแบบกระบวนการเพื่อให้ผู้เรียนแตกยอดความคิดด้วยตัวเอง ด้วยกระบวนการดังนี้
กิจกรรม ‘Brain Gym’ หรือ กิจกรรมบริหารสมอง แต่ลดรูปให้เหลือเพียงการจัดท่าทางร่างกายที่ต้องใช้สมาธิจดจ่อจึงจะทำได้ เช่น กำหนดให้มือข้างซ้ายชูนิ้วชี้และนิ้วก้อย มือข้างขวากำหลวมๆ จากนั้นจึงสลับมาชูนิ้วชี้และนิ้วก้อยด้วยมือข้างขวา ขณะที่ข้างซ้ายเปลี่ยนมากำหลวมๆ แทน สลับกันไปอย่างนี้จำนวน 20 ครั้ง หรือ ออกแบบการเคลื่อนไหวสลับข้างอื่นๆ เพื่อบริหารการทำงานของสมองซีกซ้ายและขวา
ขั้นชง คือขั้นที่ครูเป็นผู้เปิดประเด็นว่าวันนี้จะมา ‘พูดคุยกันในประเด็นไหน’ ส่วนใหญ่ครูเปิดวงด้วยการให้ผู้เรียนดูคลิปวิดีโอ หรือ เล่าสถานการณ์ และคำถามในขั้นชงนี้ จะเป็นคำถามที่แค่ย้ำกับนักเรียนเพื่อทวนข้อมูลว่าผู้เรียนเข้าใจข้อมูลตรงกันหรือไม่ เช่น ผู้เรียน ‘สังเกตเห็น’ อะไรบ้าง ในเรื่องนี้มีตัวละครกี่ตัว ใครบ้าง หรือคำถามอื่นในเชิง ‘การสังเกต’
เชื่อม คือการ ‘เซ็ตคำถาม’ จากครู ว่าเรื่องเล่าหรือคลิปวิดีโอสั้นที่นักเรียนได้ดูนั้น ‘เกี่ยวข้องกับตัวเองอย่างไร’ รู้สึก กับตัวละครนั้นอย่างไร กล่าวคือ เป็นคำถามที่ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเล่าแต่เคลื่อนสถานการณ์นั้นมาที่ตัวผู้เรียน เช่น หากในเรื่องมีตัวละคร 3 ตัวที่เกี่ยวเนื่องกัน ครูอาจถามว่า ผู้เรียนเห็นใจตัวละครไหนที่สุด หรือ ชอบตัวละครไหนที่สุด ชอบหรือเห็นใจเพราะอะไร
ใช้ ในขั้น ‘ใช้’ คือการถามคำถามประเภท ‘จำลองสถานการณ์’ หากผู้เรียนต้องตกอยู่ในสถานการณ์นั้น ผู้เรียน (หรือเรา) จะทำอย่างไร เช่น หากนักเรียนเป็นตัวละคร A (อาจเป็นตัวที่ผู้เรียนชอบหรือไม่ชอบก็ได้) และต้องอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น นักเรียนจะทำอย่างไร เคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้ในชีวิตจริงไหม ถ้ามี เราจะจัดการอย่างไร?
 
วัตถุประสงค์ 1.  เพื่อพัฒนาครูนำPBLมาใช้ในพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ
 
เป้าหมาย 3.1 เชิงปริมาณ
     3.1.๑ ครูมีความรู้ความสามารถในการนำปัญหาและอุปสรรคจากการเรียนการสอนมาแก้ไข โดยใช้ PBL มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
3.2 เชิงคุณภาพ
     3.2.1 ครูสามารถแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการ PBL ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
 
ระยะเวลา 1 ก.ค. 2563 - 15 เม.ย. 2564
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนหนองนางพิทยาคม
ตัวชี้วัด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ครูได้วิธีการ/นวัตกรรม จาก PBL มาใช้ในพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ โครงการจิตศึกษาPBL63.doc
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0