โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน/หลักสูตรท้องถิ่น

โรงเรียน : กุศลวิทยา สพม.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม

ประเภท : โรงเรียนประชารัฐ

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 8 ส.ค. 2563 โดย : นางสาวพิชญามน เกษมคุณ จำนวนผู้เข้าชม 57 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน/หลักสูตรท้องถิ่น
ประเภท โรงเรียนประชารัฐ
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
          หลักสูตรสถานศึกษาเป็นแบบแผน  แนวทาง  หรือข้อกำหนดของการจัดการศึกษา ที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ  โดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนรวมถึงระดับขั้นของมวลประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้สะสม  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ประสบการณ์สำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  รู้จักตนเอง  มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน  ชุมชน  สังคมและโลกอย่างมีความสุข ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑ และฉบับปรับปรุง  พุทธศักราช ๒๕๖๐  ซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางให้สถานศึกษานำไปจัดทำสาระให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นและของผู้เรียน  หลังจากที่ได้มีการนำหลักสูตรไปใช้ระยะหนึ่งแล้ว  จำเป็นต้องมีการปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ  สังคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ  และทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑  เพื่อให้ผู้เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและเข้าถึงความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม  การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการทำงานอย่างต่อเนื่องและต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามกาลเวลา  จะกระทำทุกครั้งเมื่อสังคมมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไป  โดยเฉพาะสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะทำให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนประสบการณ์ขึ้นมาใหม่และพร้อมที่จะนำประสบการณ์และความรู้ที่เกิดขึ้นมานั้นไปพัฒนาตนและสังคมให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
          โรงเรียนกุศลวิทยาได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว  จึงจัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน  เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรที่ใช้อยู่เดิมให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมวัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  การเมืองและการปกครองภายใน
ท้องถิ่นและภายในประเทศ  โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน
 
วัตถุประสงค์ ๑.  เพื่อปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียนและสอดคล้องกับท้องถิ่นและเทียบเคียงกับมาตรฐานสากล
๒.  เพื่อให้ครูผู้สอนมีความรู้  ความเข้าใจและมีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร  สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓.  เพื่อให้หลักสูตรสถานศึกษาสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ
๔.  เพื่อให้ครูได้พัฒนาตนเอง   นำผลการนิเทศภายในไปใช้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
 
เป้าหมาย เชิงปริมาณ
๑.  ครูร้อยละ ๑๐๐ มีความรู้  ความเข้าใจ  มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร  และสามารถจัดทำหลักสูตรของกลุ่มสาระการเรียนรู้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับท้องถิ่นเทียบเคียงกับมาตรฐานสากล    
เชิงคุณภาพ 
๑.  ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพระดับดี
๒.  สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับท้องถิ่นและเทียบเคียงกับมาตรฐานสากล ในระดับดี
 
ระยะเวลา 16 พ.ค. 2562 - 15 พ.ค. 2563
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนกุศลวิทยา
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการวัดผลและประเมินผล เครื่องมือ
๑.  มีรูปเล่มหลักสูตรสถานศึกษา  ฉบับปรับปรุงที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช ๒๕๕๑ และฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐
/ หลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการ ๘ กลุ่มสาระ
๑.  จำนวนรูปเล่มหลักสูตรที่สำเร็จ ๒ หลักสูตร
 
๑.  แบบสังเกต
๒.  ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรสถานศึกษา ๒.  สำรวจความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรสถานศึกษา ๒.  การสำรวจ
 
๓.  มีการนิเทศภายในครู  ร้อยละ ๑๐๐ ๓.  ครูได้รับการนิเทศภายในครบทุกคน ๓.  แบบประเมินความพึงพอใจ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑.  หลักสูตรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาได้สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียนและสอดคล้องกับท้องถิ่น  เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล
๒.  ครูผู้สอนมีความรู้  ความเข้าใจและมีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร  นำหลักสูตรไปใช้และนำมาพัฒนาต่อไป
๓.  มีหลักสูตรสถานศึกษาที่สนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ  มีความทันสมัยและสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์ชาติ  ๒๐  ปี
๔.  ครูมีการพัฒนาตนเองสม่ำเสมอ  นำผลการนิเทศภายในไปใช้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ โครงการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน.docx
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0