ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนเครือข่าย TFE (Teams For Education) |
ประเภท |
โรงเรียนคุณภาพประจำอำเภอ |
ปีการศึกษา |
2563 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กล่าวว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและความแตกต่างของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยพัฒนาผู้เรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยตรง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่ง ที่บ่งบอกถึงคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จากผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ปี ๒๕๖๒ มาตรฐานด้านคุณภาพศิษย์ ตัวบ่งชี้ที่ ๒ ของโรงเรียนอยู่ในระดับคุณภาพ ดี พร้อมทั้งคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ในปี ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์รายวิชา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ) และผลสัมฤทธิ์รายวิชาภาษาไทย สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ต่ำกว่าปีการศึกษา ๒๕๖๑ (ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖) โรงเรียน จำปาโมงวิทยาคาร จึงเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการจัดการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) สนองตอบวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ และเพื่อเป็นการคุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ในศตวรรษ ที่ 21 เป็นไปตามนโยบายยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ โดยเข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาภายใต้โครงการ TFE (Teams For Education) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี
โรงเรียนจำปาโมงวิทยาคาร จึงได้จัดทำโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ภายใต้โครงการ TFE (Team For Education) ขึ้น เพื่ออบรมปฏิบัติการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู ที่จะส่งผลให้ ครู นักเรียน สามารถที่จะเข้าถึงเทคโนโลยีแห่งการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เกิดความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้ครูมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในปีต่อไป บรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ
|
วัตถุประสงค์ |
2.1 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของนักเรียนโรงเรียนจำปาโมงวิทยาคารในปีการศึกษา
2563 ให้สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2562
2.2 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูและบุคลากรของโรงเรียน
|
เป้าหมาย |
3.1 เชิงปริมาณ
3.1.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนจำปาโมงวิทยาคาร ได้รับการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(O-NET) เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 แนวทาง
3.1.2 ร้อยละของนักเรียนโรงเรียนจำปาโมงวิทยาคาร ที่คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐานแต่ละวิชาต่ำกว่าเกณฑ์คะแนน ร้อยละ 50 ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น
3.2 เชิงคุณภาพ
3.2.1 โรงเรียนจำปาโมงวิทยาคาร มีข้อมูลสารสนเทศผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน(O-NET) ในการวางแผนการยกระดับคุณภาพการศึกษา
3.2.2 ครูและบุคลากรของโรงเรียนจำปาโมงวิทยาคาร เกิดการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ/แนวทางการพัฒนานักเรียนที่คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานแต่ละวิชาต่ำกว่าเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
|
ระยะเวลา |
1 พ.ค. 2563 - 30 ก.ย. 2563 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนจำปาโมงวิทยาคาร |
ตัวชี้วัด |
1.ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ เพิ่มขึ้น
2. ครู ได้รับการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) เพิ่มขึ้น อย่างน้อย 1 แนวทาง
3. รูปแบบ/แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
7.1 โรงเรียนมีข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
7.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละวิชา ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติที่ดีต่อการเรียน และสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ
7.3 ผู้บริหารและครู มีรูปแบบและแนวทางในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|