ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล |
ประเภท |
โรงเรียนดีศรีตำบล |
ปีการศึกษา |
2562 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
ภายใต้การปฏิรูปประเทศ รัฐบาลได้กำหนดกรอบแนวทางการปฏิรูปประเทศขึ้นมาโดยใช้คำว่า “ประเทศไทย 4.0” หรือ “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยมีจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีสู่สังคมและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนกระเบื้องนอกพิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 นครราชสีมา ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมา 150 กิโลเมตร การคมนาคมทางถนนค่อนข้างยากลำบาก เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ชายขอบของอำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา และติดกับอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโรงเรียนที่มีข้อจำกัดหลายด้านในการพัฒนาการเรียนการสอนให้นักเรียนเกิดคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากรายงานผลการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ปีการศึกษา 2561 พบว่า โรงเรียนกระเบื้องนอกพิทยาคมมีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 156 คน ทั้งนี้ จากผลคะแนน O-Net ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 19 คน และมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 คน พบว่า มีนักเรียนที่ได้คะแนน O-Net ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 61 ซึ่งกลุ่มสาระที่มีคะแนนโดยเฉลี่ยต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของประเทศ คือ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ นอกจากนี้ยังพบนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนหนังสือไม่คล่องถึงร้อยละ 28 มีจำนวนนักเรียนติด 0 ร้อยละ 36 จำนวนนักเรียนที่ไม่มีสิทธิ์สอบร้อยละ 2 จำนวนนักเรียนที่ขาดทักษะในการคิดวิเคราะห์ร้อยละ 30 ขาดความรับผิดชอบในการจัดการงานต่างๆที่ได้รับมอบหมาย ร้อยละ 25
จากข้อมูลที่พบในรายงานดังกล่าวส่งผลให้ผู้บริหารและคณะครูผู้สอน จำเป็นต้องนำข้อมูลดังกล่าวมาทบทวนกระบวนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนอีกครั้ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและแก้ไขปัญหา ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนเกิดทักษะทางปัญญาและทักษะทางสังคมไปพร้อมกัน ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนตามแนวทางหนึ่งโครงงานบูรณาการทุกกลุ่มสาระ (One Project All Subject: OPAS) ถือเป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนกระเบื้องนอกพิทยาคมที่สอดคล้องกับแนวทางการสอนแบบโครงการ (Project approach)
ทั้งนี้ โรงเรียนกระเบื้องนอกเชื่อว่า OPAS จะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะเสริมศักยภาพครูผู้สอนสำหรับการหนุนเสริมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน นำไปสู่การพัฒนาทักษะทั้งทางปัญญาและทักษะทางสังคมของนักเรียนโรงเรียนกระเบื้องนอกพิทยาคม ภายใต้การประยุกต์ใช้โปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นจากเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ตามแนวคิด “ทำน้อย ได้มาก” อีกด้วย
|
วัตถุประสงค์ |
1 เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการเรียนรู้คุณลัษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
2 เพื่อพัฒนาผลัมฤทธิ์ทางการเรียนและรู้คุณลัษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
3 เพื่อพัฒนาเครื่อข่ายการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน |
เป้าหมาย |
1 โรงเรียนมีสื่ออุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่ครบตามความจำเป็น
2 นักเรียนมีทักษะทั้งทางดานปัญญาและทักษะทางด้านสังคม
3 โรงเรียนมีเครือข่ายในการร่วมพัฒนาโรงเรียน
|
ระยะเวลา |
15 พ.ค. 2562 - 30 มี.ค. 2563 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนกระเบื้องนอกพิทยาคม |
ตัวชี้วัด |
มีสื่ออุปกรณ์ในการแสวงหาความรู้ที่เพียงพอ
นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษามีความรู้ มีทักษะในศตวรรษที่ 21
มีเครือข่ายทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
- นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นคนดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้
- ผู้ปกครงให้การยอมรับมากขึ้น
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|