โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการห้องเรียนพิเศษ SMEP

โรงเรียน : ร่มเกล้า สพม.สกลนคร

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0

เผยแพร่เมื่อ : 19 พ.ค. 2567 โดย : นภาภัทรี ไขประภาย จำนวนผู้เข้าชม 36 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการห้องเรียนพิเศษ SMEP
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2563
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) และแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษากำหนดให้มีการพัฒนาเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัยให้มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่ดี สมวัยทุกด้านโดยการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ตระหนักถึง
พหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย มีเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวัยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่
มีความรับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ การคิดขั้นสูง นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการเลือกศึกษาต่อเพื่อการมีงานทำ
          สำหรับโรงเรียนร่มเกล้า มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษากำหนดนโยบายและจัดทำแผนการพัฒนาโรงเรียนให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศ ในส่วนของ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ
ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ที่พร้อมจะส่งเสริมและผลิตนักเรียนให้สอดคล้องกับภารกิจของโรงเรียนร่มเกล้า ในการจัดการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาเพื่อผลิตนักเรียนให้มีความรอบรู้วิชาการทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ มีความสามารถในทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ การคิดขั้นสูง นวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาอังกฤษ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีคุณธรรม จริยธรรม และรับผิดชอบต่อสังคมสอดคล้องกับความต้องการบุคลากรทางด้านนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย  นักภาษาเพื่อเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไป
 
วัตถุประสงค์ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SMEP) เป็นหลักสูตรที่มุ่งหวังจะผลิตนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมีทักษะด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษตามความสนใจและศักยภาพส่วนบุคคลมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะในการสื่อสาร มีความสามารถเชิงวิชาการมีความสนใจใฝ่หาความรู้ศึกษาตลอดชีวิตสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคมมีจิตสำนึกในคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณ

 
เป้าหมาย 1. เพื่อผลิตนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SMEP) ให้มีความรู้ความสามารถในการศึกษาต่อมีความพร้อมในด้านต่างๆ
2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง
3. มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ สำนึกในหน้าที่ที่รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ระยะเวลา 14 ส.ค. 2565 - 14 ส.ค. 2567
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนร่มเกล้า อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
ตัวชี้วัด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีพื้นฐานมีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในระดับสูงต่อไป
2. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางวิทยาศาสตร์อันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาระดับสูงต่อไป
3. นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษมีความพร้อมในการแข่งขันและมีโอกาสในการศึกษาต่อระดับสูงต่อไป
4. เครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
 
สรุปคะแนนประเมิน 0
ไฟล์ประกอบ โครงการห้องเรียนพิเศษ
โครงการห้องเรียนพิเศษ
แบบประเมินความพร้อมขอเปิดโครงการ.pdf
แนะนำห้องเรียน
ขั้นเตรียมการ ๑. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม
๑.๑ ประชุมวางแผนแต่งตั้งคณะทำงานโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
๑.๒ สร้างความเข้าใจและเผยแพร่โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SMEP) ให้ครูและบุคลากรของโรงเรียนรับทราบ
๑.๓ แต่งตั้งมอบหมายผู้รับผิดชอบและจัดทำโครงการบริหารโครงการ
๑.๔ สำรวจวิเคราะห์ข้อมูลและบริบทในการที่จะดำเนินงานตามโครงการ
๑.๕ เขียนโครงการ
๒. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่
๒.๑ ออกแบบห้องเรียน
๒.๒ ปรับปรุงห้องเรียนห้องปฏิบัติการเพื่อการรับรองและการเปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SMEP)
๒.๓ จัดวัสดุครุภัณฑ์สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน
๒.๔ วางแผนอัตรากำลังครูและบุคลากรที่จะดำเนินงานตามโครงการ
๒.๕ พัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านอื่นๆที่จะสนับสนุนการเปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SMEP)
๒.๖ ฝึกอบรมครูที่สอนและศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีประสบการณ์ด้านห้องเรียนพิเศษเพื่อเตรียมความพร้อม

๓. ขั้นตอนการเตรียมการด้านหลักสูตรและการวัดผลประเมินผล
๓.๑ ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
๓.๒ จัดทำหลักสูตรโดยปรับปรุงให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนด
๓.๓ ประชาพิจารณ์หลักสูตรแผนการเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SMEP)
๓.๔ ปรับปรุงและจัดทำหลักสูตรแผนการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SMEP) ฉบับสมบูรณ์
๓.๕ วางแผนกระบวนการจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๓.๖ จัดทำแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายจงตามสภาพจริงและมีประสิทธิภาพ

๓.๗ จัดเตรียมเอกสารทั้งด้านหลักสูตรการวัดการประมวลผลประกอบด้วยคู่มือครูแผนการจัดการเรียนรู้โดยสารการวัดการประเมินผล
๔. ขั้นตอนการประชาสัมพันธ์โครงการ
๔.๑ ประชาสัมพันธ์โดยสื่อของโรงเรียน เช่นเว็บไซต์หรือ facebook
๔.๒ ประชาสัมพันธ์โดยสื่อท้องถิ่นเช่นวิทยุท้องถิ่นวิทยุชุมชนและการกระจายเสียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๔.๓ ประชาสัมพันธ์โดยเอกสารผ่านหน่วยราชการ ภาคเอกชน
.๔ การออกแนะแนวให้กับโรงเรียนต่างๆได้รับทราบ
๔.๕ การเยี่ยมบ้านนักเรียน
 
ขั้นดำเนินการ ๕. ขั้นตอนดำเนินการรับนักเรียน
๕.๑ ประชุมวางแผนการรับสมัครแนวทางการคัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมโครงการ
 ๕.๒ ประชาสัมพันธ์โครงการ และการรับสมัคร
๕.๓ รับสมัครนักเรียนเข้าร่วมโครงการ
๕.๔ ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียน
๕.๕ ประชุมชี้แจงรายละเอียดแก่ผู้ปกครอง
๖. ขั้นตอนปรับพื้นฐาน
๖.๑ ประชุมผู้ปกครองนักเรียนชี้แจงบทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักเรียน การจัดการเรียนการสอนและการร่วมแผนการจัดกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์สำหรับนักเรียน
๖.๒ ปฐมนิเทศนักเรียนด้านการเรียนการสอนการอยู่ในสังคมนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SMEP)
๖.๓ จัดกิจกรรมปรับพื้นฐานด้านวิชาการ
๖.๔ ประเมินผลการจัดกิจกรรมด้านวิชาการและความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครอง

๗. ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
๗.๑ วิเคราะห์นักเรียนรายบุคคลด้านความรู้ความสามารถ ด้านครอบครัว และสังคม
๗.๒ จัดการเรียนการสอนเน้นนักเรียนเป็นสำคัญเน้นการใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
๗.๓ ประเมินผลตามศักยภาพและรายงานผลให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง

๗.๔ ซ่อมเสริมและพัฒนาการนักเรียนตามศักยภาพ
๗.๕ สรุปและรายงานผลการจัดการเรียนการสอนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนรายบุคคลและรายกลุ่ม
๘. ขั้นตอนการทดสอบความรู้ความสามารถของนักเรียน
๘.๑ ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๘.๒ นักเรียนสมัครเข้าร่วมการทดสอบ
๘.๓ทบทวนและติวเข้มก่อนการทดสอบ
๘.๔ ทดสอบความรู้
๘.๕ รายงานผลให้ผู้ปกครองทราบ
๘.๖ นำผลการทดสอบมาพัฒนานักเรียนตามศักยภาพเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนแต่ละคน
๙. ขั้นตอนการจัดกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์
๙.๑ ประชุมวางแผนการจัดกิจกรรม
๙.๒ จัดกิจกรรมโดยใช้แหล่งการเรียนรู้และวิทยากรทั้งในโรงเรียน และนอกโรงเรียน
๙.๓ ประเมินและสรุปผลการจัดกิจกรรม
๙.๔ รายงานผลการจัดกิจกรรม
๑๐. จัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
๑๐.๑ ครูและนักเรียนวิเคราะห์ปัญหาวางแผนรูปแบบการจัดกิจกรรม
๑๐.๒ ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการ
๑๐.๓ แต่กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
๑๐.๔ ประเมินผลและสรุปผลการจัดกิจกรรม
๑๐.๕ รายงานผลการจัดกิจกรรม
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ๑๑. ขั้นตอนการนิเทศติดตาม
๑๑.๑ กำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการนิเทศติดตาม
๑๑.๒ นิเทศการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์
๑๑.๓ ประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างครูเป็นระยะๆ
๑๑.๔ ส่งเสริมพัฒนาและให้ขวัญและกำลังใจแก่ครู
ขั้นสรุปและรายงาน ๑๒. ขั้นตอนการสรุปผลและการประเมินโครงการ
๑๒.๑ รวบรวมข้อมูลจากการจัดโครงการนำมาวิเคราะห์และประเมินค่าผลการดำเนินการ
๑๒.๒ สรุปข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขและสิ่งที่ควรได้รับการพัฒนา
๑๒.๓ ประชุมสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการและนักเรียนเตรียมนำเสนอผลงานของนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบ
๑๒.๔ ประชุมผู้ปกครองเพื่อรายงานผลการดำเนินงานนักเรียนนำเสนอผลงานและความก้าวหน้าของตนเอง
๑๒.๕ ผู้ปกครองร่วมประเมินและแสดงความคิดเห็นในการดำเนินงานตามโครงการและร่วมวางแผนพัฒนาการดำเนินโครงการในปีต่อไป
๑๒.๖ สรุปและกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการ
๑๒.๗ รายงานข้อมูลเสนอให้โรงเรียนเขตพื้นที่ผู้ปกครองและสาธารณชนรับทราบ
งบประมาณ การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา อัตราค่าธรรมเนียมการเรียน /ค่าใช้จ่ายในส่วนที่เพิ่มสำหรับการจัดการเรียนการสอน การใช้จ่ายเงิน ภาคเรียนละ  ๑,๕๐๐ บาท/คน/ภาคเรียน
การบรรลุตัวชี้วัด ๑. มีเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
๒. นักเรียนมีความรู้ความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
๓. นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถพัฒนาตนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
๔. สามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาได้และมีจิตสำนึกต่อตนเอง ชุมชนและสังคมโลกโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสื่อ
๕. ครูอาจารย์และบุคลากรของโรงเรียนได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
๖. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เต็มตามศักยภาพโดยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
  • กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทำได้หลายรูปแบบ เช่น การเรียนการสอนในห้องเรียนการทัศนศึกษา การฝึกงาน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่งคือ การจัดค่ายวิชาการ ซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายทางวิชาการร่วมกับการดำเนินกิจกรรมทางสังคมก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านวิชาการและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันและเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SMEP) ได้เห็นความสำคัญของค่ายวิชาการซึ่งกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ซึ่งมีเป้าหมายให้ผู้เข้าค่ายได้รู้จักคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาอย่างมีขั้นตอน ให้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นกิจกรรมวิชาการและเกมที่แฝงแนวคิดในการแก้ปัญหาเรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นทีมส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะ
 
  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิชาการ
๒.๑ กิจกรรมทัศนศึกษาดูงานสถานที่ต่างๆเป็นกิจกรรมที่นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง
๒.๒ กิจกรรมนำเสนอผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษนักเรียนในโครงการเข้าร่วมศึกษาดูงานการทำโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ และเข้าร่วมการนำเสนอผลงานเพื่อศึกษาแนวทางรูปแบบการนำเสนอโครงงานโดยมีครูที่ปรึกษาให้คำแนะนำและให้ความรู้ เพื่อให้นักเรียนได้ประสบการณ์และเรียนรู้ที่จะนำไปใช้ฝึกปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
 
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0