โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้

โรงเรียน : ผักไห่(สุทธาประมุข) สพม.พระนครศรีอยุธยา

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 21 ส.ค. 2563 โดย : สุนิสา ลิมปพนาทอง จำนวนผู้เข้าชม 25 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์     หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬา       และนันทนาการ แหล่งข้อมูล และแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
โรงเรียนผักไห่ “สุทธาประมุข” มีแนวทางในการพัฒนาตามความสำคัญจำเป็น ดังนี้
1. จากการได้รับอนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง และอยู่ในช่วงของบประมาณเพิ่มเติม และก่อสร้าง จึงประยุกต์ใช้อาคารเรียน 9 ปรับปรุงเป็นอาคารเรียนชั่วคราว เพื่อแก้ไขปัญหาจำนวนห้องเรียนที่ไม่เพียงพอ แต่ด้วยสภาพอาคาร 9 เดิม เป็นหอประชุมกลางน้ำจึงไม่สะดวกนักในการใช้เป็นห้องจัดการเรียนการสอนเพราะมีสภาพโล่งไม่มีผนัง ไม่มีอุปกรณ์หรือหลังคาบังแดดทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย นกพิราบสามารถเข้ามาเกาะตามที่ต่างๆ และถ่ายมูลเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยนักเรียนและครูต้องใช้ในการจัดการเรียน    การสอนชั่วคราวโดยประมาณถึง 2 ปี
2. อาคารโรงอาหารนักเรียน บริเวณผนังของตัวอาคารด้านการประกอบอาหารของร้านขายอาหาร    มีสภาพชำรุดทรุดโทรม อาจก่อให้เกิดอันตราย มีผลต่อทัศนวิสัยน์ และสุขอนามัยที่ดี
3. จากสภาพความชำรุดผุพังของตะแกรงตาข่ายกั้นนก และกระเบื้องบริเวณหอประชุมโรงเรียนที่ใช้เป็นพื้นที่จัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมต่างๆ โดยพบว่ามีช่องว่างของตาข่ายที่มีอายุการใช้งานมานาน  มีสภาพผุผังเป็นช่อง และส่วนหอประชุมมีส่วนที่แตกร้าวของแผ่นกระเบื้อง เป็นผลให้นกหลายชนิดเข้าไปทำรัง ถ่ายมูล และสร้างความสกปรกมากมาย เบื้องต้นพยายามทำความสะอาด ขับไล่นก และหาทางซ่อมบำรุงแล้ว
4. ส่วนห้องน้ำหอประชุมที่มีสภาพชำรุด ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน คับแคบ ประตูแตกหัก และแผ่นกระจกระบายมีความเสียหายจากอายุการใช้งานที่ยาวนาน
5. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายในโรงเรียน เดิมสภาพสายสัญญาณและอุปกรณ์กระจายสัญญาณ ทำความเร็วได้สูงสุดที่ 100 Mbps ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน      ในปีการศึกษา 2563 ซึ่งความเร็วอยู่ที่ 1000 Mbps
6. กิจกรรมปั้นดิน ซึ่งเป็นพัฒนาสภาพแวดล้อมในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การก่อสร้างบ้านดิน การปรับปรุงพื้นที่แปลงเกษตร และการพัฒนาฐานการเรียนรู้เพื่อเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น
          ดังนั้น โรงเรียนผักไห่ “สุทธาประมุข” จึงวางแผนพัฒนางานอาคารสถานที่ ซ่อมแซม บำรุงรักษา และปรับปรุงอาคารสถานที่ ห้องเรียน และแหล่งเรียนรู้ภายในบริเวณโรงเรียน ทั้งในเรื่องสภาพภูมิทัศน์      ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก วัสดุ ครุภัณฑ์ ห้องโสตทัศนศึกษา ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีฐานการเรียนรู้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการ อบรม ประชุมและสัมมนา และการบริการชุมชน เพื่อให้ครอบคลุมและเกิดประโยชน์สูงสุดในฐานะที่โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อผู้เรียนและชุมชน


 
วัตถุประสงค์ 1. พัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซม บำรุงรักษา ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก         ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และอาคารสถานที่ ให้มีความพร้อม ปลอดภัย สะอาด มีบรรยากาศทางการเรียนรู้ และครอบคลุมพื้นที่รองรับการใช้งานของ นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา หน่วยงาน       ที่เกี่ยวข้อง และชุมชนที่ใช้ประโยชน์ในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
2. ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และอาคารสถานที่ บริเวณต่างๆ ของโรงเรียน     มีความสะอาดปลอดภัยและเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับบริการ นักเรียน คณะครู บุคลากรและชุมชน
3. พัฒนาฐานการเรียนรู้เพื่อประโยชน์ของผู้เรียนและชุมชน
 
เป้าหมาย 3.1 เชิงปริมาณ
      1. โรงเรียนมีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และบริเวณอาคารสถานที่ให้บริการแก่คณะครู นักเรียนและชุมชนครบถ้วนและบริการโดยปกติตลอดเวลา
      2. ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก บริเวณอาคารสถานที่ของโรงเรียน ห้องเรียน ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นแหล่งเรียนรู้เหมาะสำหรับใช้จัดการเรียน     การสอน ประชุม อบรมและสัมมนา
      3. โรงเรียนมีฐานการเรียนรู้เพื่อประโยชน์ของผู้เรียนและชุมชน

          3.2 เชิงคุณภาพ
               โรงเรียนมีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและอาคารสถานที่ในการเรียนรู้ที่สะอาด ปลอดภัย สามารถรองรับและพัฒนาฐานการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่เหมาะสำหรับ ใช้จัดการเรียนการสอน ประชุม อบรมและสัมมนาของโรงเรียนและชุมชน

 
ระยะเวลา 30 ก.ย. 2563 - 30 ก.ย. 2564
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนผักไห่
ตัวชี้วัด       1. โรงเรียนมีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและบริเวณอาคารสถานที่ให้บริการแก่คณะครู นักเรียนและชุมชนครบถ้วนและบริการโดยปกติตลอดเวลา
      2. ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ       และบริเวณอาคารสถานที่ของโรงเรียน ห้องเรียน ห้องโสตทัศนูปกรณ์ เป็นแหล่งเรียนรู้เหมาะสำหรับใช้จัด  การเรียนการสอน ประชุม อบรมและสัมมนา
      3. โรงเรียนมีฐานการเรียนรู้เพื่อประโยชน์ของผู้เรียนและชุมชน
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ โรงเรียนมีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และอาคารสถานที่ในการเรียนรู้ที่สะอาด ปลอดภัย สามารถรองรับและพัฒนาฐานการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่เหมาะสำหรับ ใช้จัดการเรียนการสอน ประชุม อบรมและสัมมนาของโรงเรียนและชุมชน

 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ 170_โครงการ-พัฒนาแหล่งเรียนรู้.pdf
ขั้นเตรียมการ สำรวจสภาพการใช้งานแหล่งเรียนรู้ สภาพอาคารสถานที่
จัดทำโครงการวางแผนประชุมหารือผู้เกี่ยวข้อง
ขั้นดำเนินการ
ดำเนินกิจกรรม
จัดจ้างปรับปรุงตามระเบียนว่าด้วยการพัสดุ
ปี พ.ศ. 2535
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน สรุปและรายงานผล
งบประมาณ งบประมาณ จำนวน 1,420,000.- บาท (หนึ่งล้านสี่แสนสองหมื่นบาทถ้วน)
 
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0