ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
ขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ( Professional Learning Community : PLC ) |
ประเภท |
โรงเรียนในฝัน (Lab School) |
ปีการศึกษา |
2563 |
มาตรฐาน |
2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ตามหมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ที่มุ่งเน้นให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลที่เหมาะจคคสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง มีความพร้อมและเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และการพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่องให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล และสพฐ.โดยรมต.ศึกษาธิการ ได้มุ่งหวังให้ครูสามารถพัฒนาตนเองได้ตรงตามศักยภาพ สามารถนำความรู้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการประกอบอาชีพครู อีกทั้งเป็นการพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ ประกอบกับการพัฒนาให้เป็นไปตามคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อรองรับการประเมินภายนอก เพื่อให้ครูกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 15 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยว การขับเคลื่อนกระบวนการ “ชุมชนแห่งกาเรียนรู้ทางวิชาชีพ” (PLC) สู่สถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับครูและนำมาใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามความมุ่งหวังของการจัดการศึกษาแห่งชาติปัจจุบัน นวัตกรรม Professional Learning Community (PLC) ได้ถูกกำหนดเป็นนโยบายในรัฐบาลปัจจุบัน ในการพัฒนาการทำหน้าที่ครู PLC ของครู คือการรวมตัวกันจัดการความรู้ของครู คือเป็น KM ครูนั่นเอง เป็นกลไกช่วยสนับสนุนให้ครูให้รวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหา และสร้างความรู้และนวัตกรรมขึ้นใช้เพื่อทำหน้าที่ครู เพื่อให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้ชนิด “รู้จริง” (mastery) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการรวมตัวกันทำงานไปพัฒนาทักษะและการเรียนรู้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ครูเพื่อศิษย์ไป โดยรวมตัวกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ตรง ทำให้การทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์เป็นการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม ซึ่งอาจเป็นทีมในโรงเรียนเดียวกันก็ได้ ต่างโรงเรียนกันก็ได้ หรืออาจจะอยู่ห่างไกลกันก็ได้ โดย ผ่าน ICT PLC ครู มีเป้าหมายร่วมกันที่ผลต่อศิษย์ ให้เกิด Learning Outcome ดีขึ้น และผลต่อตัวครูเอง ให้เก่งขึ้น มีความสุขขึ้น ก้าวหน้าขึ้น
|
วัตถุประสงค์ |
1 เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยน เรียนรู้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับผู้เรียน
2 เพื่อให้เกิดการร่วมมือ รวมพลังของทุกฝ่าย ในการพัฒนาการเรียนการ สอนสู่คุณภาพของผู้เรียน
3 เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครู ให้เป็นผู้มีคุณภาพตาม มาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
4 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
|
เป้าหมาย |
เชิงปริมาณ
1 ครูผู้สอนร้อยละ 90 สามารถจัดการเรียนรู้ในรูปแบบของการเรียนรู้ร่วมกัน การแบ่งประสบการณ์ การสะท้อนความเห็นและการนิเทศติดตาม
2 ครูผู้สอนร้อยละ 90 มีการพัฒนาตนเองแบบต่อยอด
3 ครูผู้สอนร้อยละ 90 สามารถทำงานเป็นทีม มีภาวะการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
4 นักเรียนร้อยละ 90 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้เพิ่มขึ้น
เชิงคุณภาพ
1 ครูผู้สอนมีความพึงพอใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้PLC
|
ระยะเวลา |
31 มี.ค. 2563 - 1 เม.ย. 2563 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนแสนสุข |
ตัวชี้วัด |
เชิงคุณภาพ
1 ครูผู้สอนมีความพึงพอใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้PLC |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1 เพื่อฝึกประสบการณ์ให้ครูผู้สอนในด้านการจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบของการเรียนรู้ร่วมกัน การแบ่งปันประสบการณ์ การสะท้อนความเห็น และการนิเทศติดตาม
2 เพื่อให้ครูได้มีแนวคิดในการพัฒนาตัวเองแบบต่อยอด
3 เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานเป็นทีม การมีภาวะการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
4 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|