โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการพัฒนาสมรรถนะทางการเรียนรู้ และทักษะชีวิต

โรงเรียน : สุราษฎร์ธานี 2 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร

ประเภท : โรงเรียนนำร่องโครงการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

ผลการประเมิน : 90.00

เผยแพร่เมื่อ : 28 ม.ค. 2564 โดย : นายวิษณุ หนูเนื่อง จำนวนผู้เข้าชม 62 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาสมรรถนะทางการเรียนรู้ และทักษะชีวิต
ประเภท โรงเรียนนำร่องโครงการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา                  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาได้น้อมนำพระราชบัญญัติของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  และนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับ   การบริหารจัดการเวลาเรียน  ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้มาสู่การปฏิบัติในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม  มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น  เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่โรงเรียนสามารถจัดได้อย่างหลากหลาย เพื่อช่วยเพิ่มพูนทักษะการคิดวิเคราะห์  ความมีน้ำใจต่อกัน  การทำงานเป็นทีม  และกระตุ้นให้นักเรียนได้ค้นหาศักยภาพ  ความชอบของตนเอง  เพราะนักเรียนแต่ละคนมีความสามารถในแบบฉบับของตนเองตามความถนัด ความสนใจ และความต้องการ เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและมีความรู้ในการเรียนรู้อย่างแท้จริง  ดังนั้นโรงเรียนจึงมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้เพื่อพัฒนาศักยภาพใน การเรียนรู้ของนักเรียนต่อไป
                 ดังนั้นงานลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้  จึงได้จัดทำกิจกรรมนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ และพัฒนาครู  บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ได้อย่างเต็มตามศักยภาพ
 
วัตถุประสงค์              2.1 เพื่อให้นักเรียน เกิดเจตคติที่ดี มีการพัฒนาตนเองตามความสนใจ และความถนัด และมีความสุขกับการเข้าร่วมกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
            2.2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะและแสดงออกถึงความสามารถหลังการเข้าร่วมกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
             2.3 เพื่อให้ครูสามารถจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             2.4 เพื่อให้การบริหารจัดการกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 
เป้าหมาย
    1.   เป้าหมายเชิงปริมาณ  
      1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3  จำนวน  600 คน
      2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ห้องเรียนปกติ) ร้อยละ 90 เข้าร่วมกิจกรรม         ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และมีการพัฒนาทักษะที่หลากหลายในปีการศึกษา 2562
                 2   เป้าหมายเชิงคุณภาพ
                           3.2.1  นักเรียนมีการพัฒนาระดับทักษะที่หลากหลายในปีการศึกษา 2562 มากกว่าปีการศึกษา 2561
                           3.2.2   นักเรียน ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้อยู่ในระดับดี
                           3.2.3  การบริหารจัดการกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ อยู่ในระดับดี
 
ระยะเวลา 1 พ.ค. 2561 - 28 ม.ค. 2564
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
ตัวชี้วัด
    1. ร้อยละ 90 ของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม
    2. ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
    3. ระดับความพึงพอใจของครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ห้องเรียนปกติ) ของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ได้เข้าร่วมกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ที่ตนมีความสนใจ และมีความสุขกับการทำกิจกรรมที่ตนเองเลือก
2 นักเรียนมีความรู้ มีทักษะ และแสดงถึงความสามารถที่ค้นพบจากความความชอบ ความถนัดของตนเอง และพัฒนาตนเองในด้านที่ถนัดได้อย่างเต็มศักยภาพ
3 นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
4 โรงเรียนมีระดับคุณภาพการศึกษาสูงขึ้น และสนองนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
5 ครูสามารถจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6 การบริหารจัดการกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 
สรุปคะแนนประเมิน 90.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0