โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ปรับปรุงห้องเรียน SMTE

โรงเรียน : พิษณุโลกพิทยาคม สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์

ประเภท : โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 3 มี.ค. 2564 โดย : กิ่งแก้ว บรรลุผลสกุล จำนวนผู้เข้าชม 93 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ปรับปรุงห้องเรียน SMTE
ประเภท โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC)
ปีการศึกษา 2563
มาตรฐาน

     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ด้วยโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันห้องเรียนได้กระจายตามระดับชั้นในอาคารต่าง ๆ ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริหารจัดการดูแลนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ อีกทั้งบรรยากาศและสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยในการสร้างแรงจูงใจนักเรียนที่มีความสามารถสูงทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มาสอบเข้าเรียนในโครงการของโรงเรียนได้ โดยดูจากคะแนนเฉลี่ยสอบเข้าแต่ละปีไม่ถึงร้อยละ ๕๐ อีกทั้งได้ผู้ปกครองนักเรียนในโครงการสะท้อนกลับมาว่าสภาพห้องเรียนในโครงการไม่แตกต่างจากห้องเรียนปกติ  ไม่เป็นมาตรฐานแบบ smart classroom ซึ่งโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม เป็นศูนย์แม่ข่ายโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ฯ ภาคเหนือตอนล่าง  เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ฯ ของโรงเรียนเป็นไปตามมาตรฐานในด้านสถานที่ สื่อและอุปกรณ์เพื่อเป็นห้องเรียนคุณภาพ  มีอาคารประจำของห้องเรียนโครงการพิเศษวิทยาศาสตร์ ฯ จำนวน 6 ห้อง พร้อมห้องสำนักงานโครงการ อีก 1 ห้อง รวมเป็น 7 ห้อง  
 
วัตถุประสงค์
  1. จัดหาอุปกรณ์ สื่อ สร้างบรรยากาศในการเป็นห้องเรียน smart classroom
2. เพื่อการบริหารจัดการ ดูแลห้องเรียน SMTE ให้มีประสิทธิภาพ
เป้าหมาย ข. ด้านการจัดการศึกษา                         
มาตรฐานที่   3    ตัวบ่งชี้    3.1

ค. ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้            
มาตรฐานที่    2   ตัวบ่งชี้    2.2

3.1 เป้าหมายด้านปริมาณ (Outputs)

             3.1.1 ห้องเรียน SMTE มีสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนและเครื่องปรับอากาศ 6 ห้อง
             3.1.2 ห้องเรียน SMTE 6 ห้องอยู่ในอาคารเดียวกัน

3.2 เป้าหมายด้านคุณภาพ (Outcomes)
             3.2.1 บรรยากาศในภายในห้องเรียน SMTE เอื้อต่อการเรียนรู้
             3.2.2 นักเรียนห้องเรียน SMTE ทุกห้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรียนด้วยกัน

 
ระยะเวลา 3 ธ.ค. 2564 - 3 ธ.ค. 2564
สถานที่ดำเนินการ ตึก 5 ชั้น 4
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
1. ร้อยละ 80 ของวัสดุอุปกรณ์และสื่อประกอบการเรียนมีความเหมาะสมต่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับดีขึ้นไป สอบถาม แบบสอบถาม
2. มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีขึ้นไป สอบถาม แบบสอบถาม
3. นักเรียนแต่ละห้องมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อกัน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีขึ้นไป สอบถาม แบบสอบถาม
     
     
     
     
     
ผลที่คาดว่าจะได้รับ      11.1.  วัสดุอุปกรณ์และสื่อประกอบการเรียนมีความเหมาะสมต่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
     11.2.  ห้องเรียนมีสภาพเอื้อต่อการเรียนรู้ นักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0