โรงเรียน : ดอยเต่าวิทยาคม สพม.เชียงใหม่
ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการประเมิน : 0.00
เผยแพร่เมื่อ : 18 เม.ย. 2564 โดย : ศิวพร วงค์กันยา จำนวนผู้เข้าชม 41 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | ศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง | ||||||
ประเภท | โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | ||||||
ปีการศึกษา | 2563 | ||||||
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน |
||||||
ผู้รับผิดชอบ | |||||||
ความเป็นมา | เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมาและถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา ทางโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคมจึงได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมของนักเรียนภายในโรงเรียน ให้นักเรียน ได้มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้นักเรียน รู้จัก พออยู่ พอกิน และ มีรายได้ จากการใช้พื้นที่ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน ในการปลูกพืช ผัก และ เลี้ยงสัตว์ ไว้ใช้ในการบริโภค และ ยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น |
||||||
วัตถุประสงค์ |
|
||||||
เป้าหมาย | นักเรียน และบุคลากรโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคมได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน |
||||||
ระยะเวลา | 1 ก.ค. 2563 - 30 เม.ย. 2564 | ||||||
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม | ||||||
ตัวชี้วัด | นักเรียน และบุคลากรโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคมได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน |
||||||
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | 1. นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม มีสมาธิปัญญาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 2. การเรียนการสอนบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3. นักเรียนเรียนได้อย่างมีความสุข 4. ชุมชนให้การยอมรับโรงเรียนมากขึ้น 5. นักเรียนได้ปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในโรงเรียน ในครอบครัวและในชุมชน |
||||||
สรุปคะแนนประเมิน | 0.00 | ||||||
ไฟล์ประกอบ |
รายงานผลการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงปี-63-ดต.-Copy.docx สรุปภาพถ่ายกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง-ปี-63.docx 10โครงการ |
||||||
ขั้นเตรียมการ |
|
||||||
ขั้นดำเนินการ | กิจกรรมที่ 1 นิทรรศการเทิดพระเกียรติ กิจกรรมที่ 2 จัดภูมิทัศน์ตกแต่งศูนย์การเรียนรู้ กิจกรรมที่ 3 ฐานกิจกรรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมที่ 4 ยุวเกษตรกร กิจกรรมที่ 5 เปิดบ้านพอเพียง กิจกรรมที่ 6 ประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา |
||||||
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | ตรวจสอบ/ประเมินผลการดำเนินการกิจกรรมตามโครงการโดยคณะกรรมการ | ||||||
ขั้นสรุปและรายงาน | 5. สรุปผลการดำเนินการกิจกรรมตามโครงการ เสนอผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ / กลุ่มบริหารงานบุคคลการเงินและสินทรัพย์ / ผู้บริหารสถานศึกษา | ||||||
งบประมาณ |
|
||||||
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
||||||
ความพึงพอใจ | พึงพอใจ โครงการมีพัฒนาการสูงขึ้น สังเกตได้จากมีฐานการเรียนรู้เพื่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น | ||||||
ปัญหาและอุปสรรค | จำนวนนักเรียนในโรงเรียนยังมีส่วนร่วมกับโครงการเป็นจำนวนน้อย | ||||||
ข้อเสนอแนะ | ในปีการศึกษา 2564 จะขอความร่วมมือและจัดทำคำสั่งให้คณะครู นักเรียนแต่ละระดับชั้น ร้อยละ 90 มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมมากขึ้น โดยทำเป็นประจำปฏิบัติเป็นภาคเรียนหรือปีการศึกษา ให้มอบหมายรับผิดชอบเป็นฐานการเรียนรู้เพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนมีส่วนร่วม เพื่อเข้ารับการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต่อไปกิจกรรมย่อยเดิม ที่ควรดำรงไว้และนำไปดำเนินการต่อในปีการศึกษา 2563 |
||||||
รูปภาพประกอบ |