ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการงานพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ |
ประเภท |
โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต) |
ปีการศึกษา |
2563 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
คณิตศาสตร์ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น การพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานสำคัญ ๆ นั้น ต้องอาศัยทฤษฎีและองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าสาขาคณิตศาสตร์เป็นสาขาขาดแคลนมีผู้สนใจเรียนน้อย โดยเฉพาะในระดับปริญญาโทและเอก จึงทำให้สถาบันการศึกษาในทุก ๆ ระดับขาดแคลนบุคลากรทางคณิตศาสตร์อย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้จะมีทุนการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางคณิตศาสตร์จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้ทุนการศึกษาจำนวนมาก แต่ก็ยังคงมีผู้สนใจเรียนไม่มากนัก ในระดับปริญญาตรีสาขาคณิตศาสตร์ก็มีปัญหาเช่นเดียวกันคือมีนักเรียนให้ความสนใจศึกษาไม่มาก จึงทำให้มีนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกน้อยมากตามไปด้วย
จากการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในรอบที่ 2 พบว่า ผลการประเมินมาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร อยู่ในระดับพอใช้ ทางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้น พัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อความสามารถในการคิดคำนวณ อยู่ในระดับดี ได้ตามเกณฑ์ของสถานศึกษา
2. เพื่อให้นักเรียนผ่านการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ด้านความสามารถในการคิดในระดับดี
3. เพื่อให้ครูของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้เน้นกระบวนการคิด และให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
|
เป้าหมาย |
เชิงปริมาณ
1. นักเรียนร้อยละ 70 มีความสามารถในการคิดคำนวณ อยู่ในระดับดี ได้ตามเกณฑ์ของสถานศึกษา
2. นักเรียนร้อยละ 72 ผ่านการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ด้านความสามารถในการคิดในระดับดี
3. ครูร้อยละ 72 ของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้เน้นกระบวนการคิด และให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน สื่อสาร และการคิดคำนวณ
2. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
|
ระยะเวลา |
16 พ.ค. 2563 - 31 มี.ค. 2564 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนสมอทองปทีปพลีผลอุปถัมภ์ |
ตัวชี้วัด |
1. ร้อยละของนักเรียนนำเสนอวิธีคิด วิธีแก้ปัญหาด้วยภาษาหรือวิธีการของตนเอง
2. ร้อยละของนักเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นไปตามเกณฑ์ 3. ร้อยละของครูผู้สอนมีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. นักเรียนความสามารถในการคิดคำนวณ อยู่ในระดับดี ได้ตามเกณฑ์ของสถานศึกษา
2. นักเรียนผ่านการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ด้านความสามารถในการคิดในระดับดี
3. ครูของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้เน้นกระบวนการคิด และให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|