ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการพัฒนางานเกษตรทฤษฎีใหม่ในโรงเรียนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง |
ประเภท |
โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต) |
ปีการศึกษา |
2563 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงการรู้จักพึ่งตนเอง ความพอประมาณ พอมีพอกิน พอมีพอใช้ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผนตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ควรจะเป็น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การวางรากฐานการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับทุกคนในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดกลยุทธ์การปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมุ่งเน้นการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น
โรงเรียนสมอทองปทีปพลีผลอุปถัมภ์ ได้ดำเนินงานโครงการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สู่สถานศึกษาเพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีพื้นฐาน ๔ ด้าน ได้แก่มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพ ตลอดจนเป็นพลเมืองดี สอดคล้องกับการขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ ในการจัดการศึกษาที่มุ่งสร้างพื้นฐานให้ผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของคนในทุกระดับ ได้แก่ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง มาปฏิบัติโดยผ่านกิจกรรมด้านงานเกษตรทฤษฎีใหม่ต่างๆ เน้นการส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนที่ขาดแคลนมีรายได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ เพื่อให้มีนักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและดำเนินชีวิตตามหลักความพอเพียง พออยู่ พอกิน มีความรู้และคุณธรรม สามารถพึ่งพาตนเองและเป็นตัวอย่างแก่ชุมชนได้
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
3. เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น
|
เป้าหมาย |
ด้านปริมาณ
1. นักเรียนร้อยละ 72 มีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
2. นักเรียนร้อยละ 72 สามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
3. นักเรียนร้อยละ 72 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” ในระดับดีขึ้นไป
4. นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ร้อยละ 70 ใช้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านคุณภาพ
1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
2. นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และหน่วยงานอื่น ใช้แหล่งการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
ระยะเวลา |
16 พ.ค. 2563 - 31 มี.ค. 2564 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนสมอทองปทีปพลีผลอุปถัมภ์ |
ตัวชี้วัด |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
เกณฑ์ |
เครื่องมือ |
1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
|
ร้อยละ 72 ของผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง |
ปริมาณผลผลิตมีคุณภาพ
สังเกตจากภาพถ่ายการปฏิบัติงาน |
2. นักเรียนสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง |
ร้อยละ 72 ของนักเรียนสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง |
ปริมาณผลผลิตมีคุณภาพ
สังเกตจากภาพถ่ายการปฏิบัติงาน |
3. นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ร้อยละ 72 ของนักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
ปริมาณผลผลิตมีคุณภาพ
สังเกตจากภาพถ่ายการปฏิบัติงาน |
4. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น
|
ร้อยละ 72 ของนักเรียน ครู /บุคลากรทางการศึกษา / ผู้ปกครอง ใช้แหล่งการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
ปริมาณผลผลิตมีคุณภาพ
สังเกตจากภาพถ่ายการปฏิบัติงาน |
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
คณะครูและนักเรียนตลอดจนบุคลากรมี ผลผลิตจากการดำเนินงาน รับประทานปลอดสารพิษ จำหน่ายผลผลิต มีรายได้ เป็นกองทุนหมุนเวียนในโครงการฯ
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|