โรงเรียน : ทับกฤชพัฒนา สพม.นครสวรรค์
ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ผลการประเมิน : 0.00
เผยแพร่เมื่อ : 15 พ.ค. 2567 โดย : นายศุภฤกษ์ ศิโรทศ จำนวนผู้เข้าชม 14 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล | |||
ประเภท | โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) | |||
ปีการศึกษา | 2566 | |||
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ |
|||
ผู้รับผิดชอบ | ||||
ความเป็นมา | ด้วยความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้ประเทศทั่วโลกต่างเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างรอบด้าน ในการพัฒนาประเทศไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แม้ว่าประเทศจะขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติเพียงใด แต่ถ้าทรัพยากรมนุษย์ของประเทศนั้นมีคุณภาพก็จะส่งต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในอนาคต การพัฒนาคุณลักษณะของพลเมืองให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ จึงเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของทุกประเทศที่ต้องมุ่งเน้นพัฒนาให้เกิดกับประเทศของตน การปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษาจึงเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับความพร้อมในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ และศักยภาพในการแข่งขันในเวทีโลกของแต่ละประเทศ ศตวรรษที่ ๒๑เป็นยุคของเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge – Based - Economy) ที่ปัจจัยในการผลิตและแข่งขันกำลังเปลี่ยนไปเป็นปัจจัยที่ไม่อาจจับต้องได้มากขึ้น ทั้งความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนานวัตกรรมจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ทุกองค์กรสร้างจุดยืนและเสริมสร้างความเข็มแข็งให้ตัวเองจึงมุ่งเข้าสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อความอยู่รอดการเจริญเติบโต และการสร้างสมรรถนะในการแข่งขันที่ยั่งยืน โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ขับเคลื่อนโรงเรียนมาตรฐานสากล มาตั้งแต่ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากล โรงเรียนมาตรฐานสากลจึงเป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำมาใช้เป็นมาตรการในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย การจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล และการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพโดยการขับเคลื่อนสถานศึกษาให้เกิด “คุณภาพการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ” เป็นแนวทางให้สถานศึกษานำไปประยุกต์ใช้ โดยเทียบเคียงให้เหมาะสมกับบริบทอย่างมีประสิทธิภาพและและมีสมรรถนะในการแข่งขันสู่เวทีโลกอย่างยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดนโยบายการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ตามแนวทางมาตรการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ที่มีสาระสำคัญในการเพิ่มประสิทธาภพและลดการสูญเปล่าของโรงเรียนขนาดเล็กด้วยมาตรการทีเหมาะสม ได้แก่ การควบคุม การปรับปรุงประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่าย ตลอดจนการสนับสนุนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยมีการจัดทำแผนที่ตั้งสถานศึกษาและแผนการดำเนินงานตามแบบขั้นบันได จัดให้มีการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่เพื่อให้เกิดขนาดที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจัดสรรอัตรากำลังครูและงบประมาณที่เสร้างสร้างการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเต็มที่ เร่งการดำเนินงานให้โรงเรียนโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารการศึกษาสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพสูงขึ้น โรงเรียนทับกฤชพัฒนา เป็นหน่วยงานทางการศึกษารับผิดชอบในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียง มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา มีความพร้อมทุกด้านที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเกิดการเรียนรู้ พัฒนาสู่การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จากรายงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2564 พบว่าใน ด้านคุณภาพผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนมีผลการประเมินในระดับดี มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ที่ต่ำกว่าระดับประเทศ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยที่สูงกว่าระดับประเทศ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบสูงกว่าระดับประเทศสอดคล้องกับผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาภายนอก (สมศ) ด้านผลการแข่งขันทักษะวิชาการนักเรียนได้รับรางวัลจากการแข่งขันในระดับประเทศ ครูผู้สอนมีการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพจนเกิดภาพความสำเร็จได้รับรางวัลในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาคเหนือ และระดับประเทศ สถานศึกษาได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 1 ดาว ส่งผลให้ผู้ปกครองและชุมชนขาดความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนอย่างต่อเนื่อง จากสภาพปัญหาและทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนรัฐราษฎร์อนุสรณ์จึงได้ตระหนักและให้ความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคมว่าสถานศึกษาจะดำเนินการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ ทั้งในความรู้ ความสามารถ ทักษะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สมรรถนะที่สำคัญ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่มาตรฐานสากล เป็นตัวขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการจัดการเรียนการสอน และคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา ที่เป็นรูปธรรมมุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบว่าสถานศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ บรรลุตามเป้าประสงค์ของกระทรวงศึกษาธิการและ ค่าเป้าหมายมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน |
|||
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนให้เพิ่มสูงขึ้น 2. เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของโรงเรียนมาตรฐานสากลให้มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และมีคุณภาพ 3. เพื่อยกระดับการบริหารจัดการศึกษาด้วยระบบคุณภาพ |
|||
เป้าหมาย | 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ 1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 3 2) ครูร้อยละ 93 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) สถานศึกษามีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากล มีผลการประเมิน 251คะแนนขึ้นไป 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ 1) ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 2) ครูผู้สอนมีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ 3) สถานศึกษามีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากล ผ่านเกณฑ์ รางวัลคุณภาพ ScQA |
|||
ระยะเวลา | 1 พ.ย. 2566 - 31 มี.ค. 2567 | |||
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนทับกฤชพัฒนา | |||
ตัวชี้วัด | นักเรียนโรงเรียนทับกฤชพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา 2566 |
|||
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | 1. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เพิ่มสูงขึ้น และผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 2. ครูมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และ มีคุณภาพ 3. สถานศึกษามีการบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เทียบเคียงมาตรฐานสากล ผ่านเกณฑ์รางวัลคุณภาพ ScQA |
|||
สรุปคะแนนประเมิน | 0.00 | |||
ไฟล์ประกอบ |
01-คู่มือการสร้างนวัตกรรม.pdf |
|||
ขั้นเตรียมการ | แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพโรงเรียน วิเคราะห์สภาพบริบทของสถานศึกษาและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ศึกษานโยบายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนมาตรฐานสากล จัดทำสารสนเทศในการพัฒนาโครงการโรงเรียนขนาดกลาง จัดทำแผนยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก เขียนโครงการและนำเสนอโครงการตามลำดับขั้นตอน |
|||
ขั้นดำเนินการ | ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน 3.ตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากลสำหรับครูผู้สอน โดยใช้ Google Classroom 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะผู้เรียนสู่ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการ IS |
|||
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | นิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงาน | |||
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
|||
งบประมาณ | งบประมาณ 20,000 บาท | |||
การบรรลุตัวชี้วัด | ๑) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 4.52 ๒) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ร้อยละ 92.478 ๓) สถานศึกษามีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากล มีผลการประเมิน 251 คะแนนขึ้นไป |
|||
ความพึงพอใจ | ผู้เรียร้อยละ 94.42 มีความพึงพอใจต่อโรงเรียนมาตรฐานสากล | |||
ปัญหาและอุปสรรค | ไม่มี | |||
ข้อเสนอแนะ | ควรมีเวทีให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพที่หลากหลาย | |||
รูปภาพประกอบ |
|