โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

พัฒนาและขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียน : พุทธชินราชพิทยา สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 17 พ.ค. 2567 โดย : โชติรส แมลงภู่ จำนวนผู้เข้าชม 18 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนาและขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2567
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงการรู้จักพึ่งตนเอง ความพอประมาณพอมีพอกิน พอมีพอใช้ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผนตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ควรจะเป็น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
       งานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพุทธชินราชพิทยาเป็นสถานศึกษาที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาส่งเสริมให้นักเรียนและบุคคลากรในโรงเรียนทุกคนเกิดอุปนิสัยพอเพียง
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา เป็นงานสานต่อที่ต้องขับเคลื่อนต่อไปเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง มั่นคงและยั่งยืนให้กับนักเรียน ตลอดจนชุมชนและประเทศชาติดั่งพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ครูและนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณพอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง     
4. เพื่อให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
5. เพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับโรงเรียนเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องได้
6. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและหน่วยงานอื่น
 
เป้าหมาย 1. นักเรียนและครู ร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
2. นักเรียน ร้อยละ 80 สามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
3. นักเรียน ร้อยละ 80 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” ในระดับดีขึ้นไป
4. ครู ร้อยละ 100  มีแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
5. ครูและนักเรียน ร้อยละ 80 สามารถถ่ายทอดความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับโรงเรียนเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องได้
6. นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและหน่วยงานอื่น ร้อยละ 70 ใช้ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
   พอเพียง โรงเรียนพุทธชินราชพิทยาเป็นแหล่งเรียนรู้

 
ระยะเวลา 17 พ.ค. 2567 - 17 พ.ค. 2567
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา
ตัวชี้วัด  1.  ครูและนักเรียนแกนนำมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
 2.  นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 3.  ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
 4. นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและหน่วยงานอื่น ใช้ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    โรงเรียนพุทธชินราชพิทยาเป็นแหล่งเรียนรู้

                
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.  ครูและนักเรียนแกนนำมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.  ครูและนักเรียนมีคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
3.  ครูและนักเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0