โรงเรียน : ศรีประจันต์ "เมธีประมุข" สพม.สุพรรณบุรี
ประเภท : โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)
ผลการประเมิน : 0.00
เผยแพร่เมื่อ : 19 พ.ค. 2567 โดย : นางสาวสิริรักษ์ พราหมณ์โชติ จำนวนผู้เข้าชม 20 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | โรงเรียนสุจริต |
ประเภท | โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต) |
ปีการศึกษา | 2566 |
มาตรฐาน |
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก |
ผู้รับผิดชอบ | |
ความเป็นมา | จากข้อมูลเชิงสถิติจำนวนคดีเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี สภาพปัญหาการแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การเลือกปฏิบัติ ความไม่เท่าเทียม ตลอดจนการทุจริตในมิติต่าง ๆ ของสังคมไทยในปัจจุบัน ภาครัฐในประเทศไทยทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบซึ่งเห็นได้จากแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบมีเป้าหมายหลักเพื่อให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาไปที่ระดับปัจเจกบุคคล กล่าวคือการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุก ๆ องค์กรประกอบกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ ๓ (๒๕๖๐-๒๕๖๔) โดยกำหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand) และกำหนดพันธกิจ “สร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต ยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทุกภาคส่วนแบบบูรณาการและปฏิรูปกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งระบบ ให้มีมาตรฐานสากล” พร้อมทั้งกำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ว่า “ระดับคะแนนของดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) สูงกว่าร้อยละ ๕๐ และสอดรับทุกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมายที่ ๑๖ ว่าด้วยเรื่อง ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ รวมทั้งยุทธศาสตร์การปลูกฝัง “คนไทยไม่โกง” ของยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี หลักการและแนวคิดดังกล่าวช่วยให้หน่วยงานมีกรอบแนวคิดในการพัฒนา วางแผน ออกแบบ โครงการที่เป็นรูปธรรม และแก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบในเชิงโครงสร้าง ซึ่งโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลในสถานศึกษาภายใต้ชื่อ “โครงการโรงเรียนสุจริต” เป็นโครงการที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ ๕ ประการของโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ สอดคล้องต้องกันกับหลักแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น โดยปฏิญญาโรงเรียนสุจริตทั้ง ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่าย โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรีได้นำแนวทางหลักการมาบริหารจัดการในการสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนวัตกรรมในโรงเรียนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามแนวทางการดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริต เนื่องด้วยโรงเรียนศรีประจันต์ “เมธีประมุข” เป็นประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ 549 หมู่ 2 ตำบลศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72140 ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ได้ตระหนักเห็นถึงสภาพปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบัน ให้ความสำคัญของแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ จึงเป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม หลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา “ป้องกันการทุจริต” ภายใต้ชื่อ “โครงการโรงเรียนสุจริต” |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้เรื่องคุณธรรม จริยธรรม การต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ หลักธรรมาภิบาล และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต |
เป้าหมาย | เชิงปริมาณ ร้อยละ 60 ของนักเรียนในโรงเรียนศรีประจันต์ “เมธีประมุข” มีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม การต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ หลักธรรมาภิบาล และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เชิงคุณภาพ นักเรียนโรงเรียนศรีประจันต์ “เมธีประมุข” เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต |
ระยะเวลา | 16 พ.ค. 2565 - 31 มี.ค. 2566 |
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนศรีประจันต์ |
ตัวชี้วัด | |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | 1. นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้เรื่องคุณธรรม จริยธรรม การต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ หลักธรรมาภิบาล และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. นักเรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต |
สรุปคะแนนประเมิน | 0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
โรงเรียนสุจริต-66.docx |
ขั้นเตรียมการ | 1. ประชุมวางแผนและเขียนโครงการ 2. ขออนุมัติโครงการ |
ขั้นดำเนินการ | 1. กิจกรรมการทำความสะอาดเขตรับผิดชอบ 2. กิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี 3. กิจกรรมจิตอาสา 4. โครงการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5. โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนตามแผนปฏิบัติ ุ6. กิจกรรมต่างๆจากหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการต้านทุจริตทุกรูปแบบ 7. การนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | 1.ประเมินผลการจัดกิจกรรมโดยคุณครู |
ขั้นสรุปและรายงาน | 1.สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ |
งบประมาณ | 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน)
งบประมาณที่ใช้จ่ายจริง 0 บาท |
การบรรลุตัวชี้วัด | เท่ากับเป้าหมาย |
ความพึงพอใจ | อยู่ในระดับ 90 ขึ้นไป |
ปัญหาและอุปสรรค | ไม่พบปัญหา |
ข้อเสนอแนะ | ไม่มี |
รูปภาพประกอบ |