ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
การพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยดิจิทัล |
ประเภท |
โรงเรียนคุณภาพประจำอำเภอ |
ปีการศึกษา |
2567 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินโครงการนำร่องการพัฒนาต้นแบบหลักสูตร การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในช่วงปลายปีงบประมาณ พ.ศ.2555 โดยการจัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอน ผ่านทางระบบเครือข่ายแบบไร้สายให้กับนักเรียน จากการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมาพบว่า เทคโนโลยีช่วยกระตุ้นให้ครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ส่งผลให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ มีสมรรถนะสำคัญตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะคุณภาพผู้เรียน จากผลการดำเนินโครงการที่กล่าวมาแล้วนั้น เพื่อให้โครงการมีความต่อเนื่อง ยั่งยืน และสนับสนุน นโยบายของรัฐบาล ที่ให้หน่วยงานในสังกัดมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) ได้มีการแถลง นโยบายการจัดการศึกษา 12 ข้อ ซึ่งในข้อ 3 กล่าวว่า “การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มการ เรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ (NDLP) และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน” ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นควรดำเนินโครงการพัฒนาและ ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล กิจกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วย เทคโนโลยีดิจิทัล (I-Classroom) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยมี การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมของห้องเรียนสำหรับจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ( I -Classroom) การจัดหาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีที่จำเป็น และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมของโรงเรียน ผู้บริหาร ครู และนักเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจ ให้สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องไปใช้ประโยชน์ และเพิ่มคุณค่าให้เกิดขึ้น ส่งเสริมศักยภาพด้านการ เรียนรู้ให้แก่นักเรียนและการขับเคลื่อน นโยบายกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ได้เป็นอย่างดี
จากเหตุผลดังกล่าวโรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร จึงดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายการจัดการศึกษา 12 ข้อ ในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (I - classroom) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นักเรียนมีความสามารถในการสร้างสรรค์และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาดในการเรียน การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ เพื่อนำไปสู่การสร้างและจ้างงานที่มีคุณค่าสูงในยุคเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อน จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาห้องเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพสำหรับให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า พัฒนาตนเอง อันจะส่งผลให้คุณภาพการศึกษาของผู้เรียนและโรงเรียนสูงขึ้น
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมห้องเรียนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (I-Classroom) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (I-Classroom) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
เป้าหมาย |
เชิงปริมาณ
1. ครู และนักเรียนทุกคน มีห้องเรียนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
(I - classroom) ที่สามารถฝึกทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 82
เชิงคุณภาพ
1. ครู และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ห้องเรียนเทคโนโลยีดิจิทัล (I - classroom) อยู่ในระดับมาก
2. ครู และนักเรียน มีเครื่องมือ (Tool Applications) เนื้อหา (Content Applications) สำหรับ การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิถีใหม่ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
ระยะเวลา |
1 เม.ย. 2567 - 31 มี.ค. 2568 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร |
ตัวชี้วัด |
1) ครู และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ห้องเรียนเทคโนโลยีดิจิทัล
(I - classroom) ร้อยละ 82
2) ครู และนักเรียนทุกคน มีห้องเรียนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (I - classroom) ที่สามารถฝึกทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) ครู และนักเรียน มีเครื่องมือ (Tool Applications) เนื้อหา (Content Applications) สำหรับการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิถีใหม่ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. ได้ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีดิจิทัล (I-Classroom) ที่ให้เหมาะสมกับวิชาที่เรียนมีบรรยากาศที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้และเกิดประโยชน์สูงสุด
2. มีสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ครูและนักเรียน สามารถจัดการเรียนการสอนวิถีใหม่ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งในสถานการณ์ปกติ และสามารถปรับตามบริบท เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|