โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

พัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นวิถีใหม่ (โครงการพิเศษ)

โรงเรียน : ห้วยน้ำหอมวิทยาคาร สพม.นครสวรรค์

ประเภท : โรงเรียนคุณภาพประจำอำเภอ

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 20 พ.ค. 2567 โดย : นายชัยยง เครือภัคดี จำนวนผู้เข้าชม 30 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นวิถีใหม่ (โครงการพิเศษ)
ประเภท โรงเรียนคุณภาพประจำอำเภอ
ปีการศึกษา 2567
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งได้กำหนดให้จัดการศึกษาตามหลักสูตรต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมแห่งความเป็นไทยในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร จึงได้จัดโครงการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ คุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมแห่งความเป็นไทยในการดำรงชีวิต โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข พร้อมทั้งรักษาภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ให้คงอยู่สืบต่อไป

 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในสังคมร่วมสมัย
2. เพี่อให้นักเรียนได้ศึกษา สืบทอด และอนุรักษณ์เอกลักษณ์ท้องถิ่น
3. เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์สู่ห้องเรียนวิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
4. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคีและมุ่งพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21

 
เป้าหมาย เชิงปริมาณ
          1. แกนนำนักเรียนโรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร ร้อยละ 82 ได้ศึกษา สืบทอด และอนุรักษณ์เอกลักษณ์ท้องถิ่น
          2. แกนนำนักเรียนโรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร ร้อยละ 82 ได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์สู่ห้องเรียนวิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
เชิงคุณภาพ
          1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคีและมุ่งพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21
          2. ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อย่างหลากหลายทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษา
 
ระยะเวลา 1 เม.ย. 2567 - 31 มี.ค. 2568
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร
ตัวชี้วัด เชิงปริมาณ
1. แกนนำนักเรียนโรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร ร้อยละ 82 ได้ศึกษา สืบทอด และอนุรักษณ์เอกลักษณ์ท้องถิ่น
2. แกนนำนักเรียนโรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร ร้อยละ 82 ได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์สู่ห้องเรียนวิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
เชิงคุณภาพ
1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม  รู้รักสามัคคีและมุ่งพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21
2. ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อย่างหลากหลายทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้เรียนได้รับเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในสังคมร่วมสมัยอีกทั้งสืบทอด และอนุรักษณ์เอกลักษณ์ท้องถิ่น
 2. ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์สู่ห้องเรียนวิถีใหม่
 3. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม  รู้รักสามัคคีและมุ่งพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่
21

 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0