ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
พัฒนาศักยภาพนักเรียนห้องเรียนพิเศษอัจฉริยภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี |
ประเภท |
โรงเรียนคุณภาพ สสวท. (SMT) |
ปีการศึกษา |
2567 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
การสร้างกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระดับเยาวชน โดยคัดสรรผู้เรียนที่มีศักยภาพ (Talented/Gifted Students) เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนาอย่างถูกทางและเหมาะสม ส่งเสริมให้อัจฉริยภาพที่มีอยู่เบ่งบานอย่างเต็มที่ และได้รับการพัฒนาเป็นนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ อันจะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพิ่มผลิตภาพ และสร้างนวัตกรรมในภาคการผลิตและภาคสังคม/ชุมชนต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษาแบบทั่วไปของประเทศในปัจจุบันยังไม่สามารถรองรับการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนที่มีศักยภาพได้อย่างเต็มที่และครอบคลุมทั่วถึง แม้จะมีการส่งเสริมอัจฉริยภาพของนักเรียนกลุ่มนี้ในรูปแบบอื่นๆ แต่การทำห้องเรียนอัจฉริยภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังทำได้ในปริมาณที่น้อยมากไม่เพียงพอ ต่อการสร้างฐานกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่เป็นมวลวิกฤต (Critical Mass) ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาที่เฉพาะเจาะจง เพื่อรองรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเริ่มตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีศักยภาพต่อไป
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา และสื่อต่าง ๆ รอบตัว
2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน ฟัง ดู พูด เขียน และตั้งคำถามเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา
3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
|
เป้าหมาย |
เชิงปริมาณ
1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร ร้อยละ 82 ของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการพัฒนาทักษะชีวิตประเภทต่าง ๆ
2. คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร ร้อยละ 82 สามารถสร้าง พัฒนาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยชุมชนมีส่วนร่วม
เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมมาใช้ในการเรียน และการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข โดยมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับดีขึ้นไป
|
ระยะเวลา |
1 เม.ย. 2567 - 31 มี.ค. 2568 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร |
ตัวชี้วัด |
1. ร้อยละของนักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา
2. ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา และสื่อต่าง ๆ รอบตัว
2. นักเรียนมีทักษะในการอ่าน ฟัง ดู พูด เขียน และตั้งคำถามเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา
3. นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน
4. นักเรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|