โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)

โรงเรียน : ห้วยน้ำหอมวิทยาคาร สพม.นครสวรรค์

ประเภท : โรงเรียนคุณภาพประจำอำเภอ

ผลการประเมิน : 95

เผยแพร่เมื่อ : 20 พ.ค. 2567 โดย : นายชัยยง เครือภัคดี จำนวนผู้เข้าชม 34 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)
ประเภท โรงเรียนคุณภาพประจำอำเภอ
ปีการศึกษา 2566
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร จัดอยู่ในโรงเรียนมัธยมขนาดกลาง มีนักเรียนประมาณ 1,300 คน ตั้งอยู่ในอำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ ไกลจากตัวเมือง 75 กิโลเมตร ด้วยจำนวนนักเรียนและบุคลากรที่เพิ่มขึ้นทุกปี จึงประสบกับปัญหาด้านการจัดการขยะ โดยเฉพาะ ขวดน้ำดื่ม แก้วน้ำพลาสติก ถุงพลาสติก ห่อขนม ฯลฯ ทิ้งอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงเรียน และนักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง เช่น ไม่เทน้ำ หรือเศษอาหารออกกก่อนนำไปทิ้ง ส่งกลิ่นเหม็นเน่าขยะบางส่วนล้นถังออกมากองบนพื้น ไม่มีการจัดการอย่างถูกวิธี นักการภารโรงจึงนำถังขยะไปเททิ้งในบ่อขยะของโรงเรียน บริเวณเชิงเขาด้านข้างโรงเรียน เมื่อฝนตกลงมาเกิดน้ำท่วมขัง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเชื้อโรคอีกมากมาย ทางโรงเรียนจึงมีนโยบายห้ามไม่ให้นักเรียนนำอาหารประเภทต่างๆมารับประทานนอกจากบริเวณโรงอาหาร และจัดถังขยะไว้ให้เฉพาะบริเวณใกล้โรงอาหารเท่านั้น
          ดังนั้นเพื่อเป็นการลดปัญหาที่เกิดขึ้น โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร จึงเห็นความสำคัญที่จะต้องดำเนินการสร้างจิตสำนึกและจัดกิจกรรมการจัดการขยะมูลฝอย โดยคาดหวังให้คนในโรงเรียนและชุมชนเป็นคนมีระเบียบวินัย มีความสามัคคี และเป็นโรงเรียนที่สะอาดอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักการที่ให้ทุกคนมองเห็นปัญหาขยะที่ชัดเจนและชี้ให้เห็นว่า “ขยะ เป็นผลผลิตของมนุษย์ ทั้งจากกระบวนการผลิต การดำรงชีวิต การบริโภค เศษที่เหลือจากกิจกรรมทั้งหมดของมนุษย์ จะมีสภาพเป็นขยะ ขยะทุกอย่างเมื่ออยู่ในบ้านเป็นเรื่องของเรา แต่เมื่อนำไปวางไว้ข้างถนนกลายเป็นเรื่องของส่วนรวม ทำอย่างไรจะทำให้ขยะเป็นเรื่องของเรา ไม่ทิ้งภาระให้สังคม ขยะเป็นปัญหาของเราทุกคน” การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรเน้นปลูกฝังนักเรียนให้เป็นคนมีระเบียบ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมส่วนรวม เพื่อนำไปสู่โรงเรียนปลอดขยะ
(Zero Waste School)

 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะและลดปัญหา
ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในโรงเรียนและชุมชน

2. เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีระบบการจัดการขยะที่ดีและเกิดประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
3. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
เป้าหมาย เชิงปริมาณ
1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
2. ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีทักษะตามที่โรงเรียนส่งเสริม
3. ร้อยละ 80 ของครูจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ด้านเทคโนโลยี และด้านสิ่งแวดล้อม อย่างหลากหลายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยชุมชนมีส่วนร่วม อย่างน้อย 2 ครั้ง / ปี
4. ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
2. นักเรียนมีทักษะตามที่โรงเรียนส่งเสริม
3. ครูจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ด้านเทคโนโลยี และด้านสิ่งแวดล้อม อย่างหลากหลายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยชุมชนมีส่วนร่วม อย่างน้อย 2 ครั้ง / ปี
4. สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
 
ระยะเวลา 1 เม.ย. 2566 - 31 มี.ค. 2567
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร
ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะและลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในโรงเรียนและชุมชน
2. โรงเรียนมีระบบการจัดการขยะที่ดีและเกิดประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
3. นักเรียนเกิดจิตสำนึก มีความรู้ ความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะและลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในโรงเรียนและชุมชน
2.  โรงเรียนมีระบบการจัดการขยะที่ดีและเกิดประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
3.  นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนและชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
สรุปคะแนนประเมิน 95
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0