โรงเรียน : เนินทรายวิทยาคม สพม.จันทบุรี ตราด
ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการประเมิน : 0.00
เผยแพร่เมื่อ : 2 มิ.ย. 2567 โดย : นางสาวลัดดา ทั่งทอง จำนวนผู้เข้าชม 30 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | ส่งเสริมทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ |
ประเภท | โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปีการศึกษา | 2567 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ | |
ความเป็นมา | วิทยาศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตมนุษย์อย่างมาก เนื่องจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการสื่อสาร ทางด้านการคมนาคม หรือทางด้านการแพทย์ และการศึกษาวิทยาศาสตร์ยังเป็นการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนสามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกระบวนการในชีวิตประจำวันได้ การศึกษาดาราศาสตร์ เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก การศึกษาทางด้านดาราศาสตร์ ช่วยให้ทราบถึงความเป็นไปของปรากฏการณ์ตามธรรมชาติทั้งบนโลกและอวกาศได้ความรู้ใหม่ๆ จากการสำรวจดวงดาวและอวกาศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ดังนั้น นักดาราศาสตร์จึงพยายามศึกษาเพื่อให้เข้าใจความเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ในท้องฟ้า ระยะทาง และรังสีต่างๆ ของวัตถุเหล่านั้น และพยายามประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ มากมายโดยเฉพาะกล้องโทรทรรศน์หลากหลายชนิด เพื่อการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ บนท้องฟ้า ไม่ว่าจะเป็นสุริยุปราคา ฝนดาวตก อุกกาบาต กระบวนการในการศึกษาวิทยาศาสตร์ จำเป็นต้องอาศัยทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการคิดขั้นสูง ไม่ว่าจะเป็น การคิดอย่างมีเหตุมีผล การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งทักษะการคิดเหล่านี้มักนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ซึ่งการพัฒนาทักษะดังกล่าวข้างต้น ต้องอาศัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เป็นการการเรียนรู้ที่ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่บูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ผนวกกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยผู้เรียนจะได้ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจและฝึกทักษะการคิดขั้นสูง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี และนำความรู้มาออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อตอบสนองความต้องการ และแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยี และนวัตกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิด ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการสื่อสาร ซึ่งทักษะดังกล่าวนี้เป็นทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนพึงมี และความสำคัญของการศึกษาโลก และอวกาศ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ผู้เรียนยังได้ความรู้แบบองค์รวมที่สามารถนำไปเชื่อมโยงหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ |
วัตถุประสงค์ | 2.1 เพื่อจัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ กิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน เกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ 2.3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสร้างนวัตกรรมที่ใช้สะเต็มเป็นพื้นฐาน 2.4 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ด้านดาราศาสตร์และมีทักษะการดูดาว 2.5 เพื่อจัดซื้อสื่อการเรียนการสอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงอุปกรณ์การทดลอง และสารเคมีชนิดต่าง ๆ 2.6 เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 2.7 เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา |
เป้าหมาย | ด้านปริมาณ 1. นักเรียนร้อยละ 100 เข้าร่วมกิจกรรมที่กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์จัดขึ้น 2. นักเรียนร้อยละ 70 เกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ 3. นักเรียนร้อยละ 80 สามารถสร้างนวัตกรรมที่ใช้สะเต็มเป็นพื้นฐาน 4. นักเรียนร้อยละ 80 มีความรู้ด้านดาราศาสตร์ และเกิดทักษะการดูดาว 5. ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร้อยละ 100 มีอุปกรณ์และสื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ 6. นักเรียนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป เข้าใจ รู้เท่าทัน สามารถใช้เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์(social network) ได้ถูกต้องและสร้างสรรค์และแนะนำให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 7. นักเรียนตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป มีทักษะชั้นสูงในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถสืบค้นสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลาย และมีวิจารณญาณในการเลือกใช้ข้อมูลสนเทศที่เชื่อถือได้นำความรู้มาสร้างสรรค์ชิ้นงานเกิดองค์ความรู้ใหม่และเผยแพร่ผลงานได้ 8. นักเรียนร้อยละ 60 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 2.00 ด้านคุณภาพ 1. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์จัดขึ้น 2. นักเรียนเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ 3. นักเรียนสามารถสร้างนวัตกรรมที่ใช้สะเต็มเป็นพื้นฐาน 4. นักเรียนมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ และเกิดทักษะการดูดาว 5. ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอุปกรณ์และสื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ 6. นักเรียนเข้าใจ รู้เท่าทัน สามารถใช้เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์(social network) ได้ถูกต้องและสร้างสรรค์และแนะนำให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 7. นักเรียนมีทักษะชั้นสูงในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถสืบค้นสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลาย และมีวิจารณญาณในการเลือกใช้ข้อมูลสนเทศที่เชื่อถือได้นำความรู้มาสร้างสรรค์ชิ้นงานเกิดองค์ความรู้ใหม่และเผยแพร่ผลงานได้ 8. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 2.00 |
ระยะเวลา | 1 ก.ย. 2566 - 1 ก.ย. 2566 |
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม |
ตัวชี้วัด | 1. นักเรียนร้อยละ 100 เข้าร่วมกิจกรรมที่กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์จัดขึ้น 2. นักเรียนร้อยละ 70 เกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ 3. นักเรียนร้อยละ 80 สามารถสร้างนวัตกรรมที่ใช้สะเต็มเป็นพื้นฐาน 4. นักเรียนร้อยละ 80 มีความรู้ด้านดาราศาสตร์ และเกิดทักษะการดูดาว 5. ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร้อยละ 100 มีอุปกรณ์และสื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ 6. นักเรียนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป เข้าใจ รู้เท่าทัน สามารถใช้เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ (social network) ได้ถูกต้องและสร้างสรรค์และแนะนำให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 7. นักเรียนตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป มีทักษะชั้นสูงในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถสืบค้นสารสนเทศจากแหล่งข้อมูล สารสนเทศที่หลากหลาย และมีวิจารณญาณในการเลือกใช้ข้อมูลสนเทศที่เชื่อถือได้นำความรู้มาสร้างสรรค์ชิ้นงานเกิดองค์ความรู้ใหม่และเผยแพร่ผลงานได้ 8. นักเรียนร้อยละ 60 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 2.00 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | 8.1 จัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ กิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ 8.3 นักเรียนสามารถสร้างนวัตกรรมที่ใช้สะเต็มเป็นพื้นฐาน 8.4 นักเรียนมีความรู้ด้านดาราศาสตร์และมีทักษะการดูดาว 8.5 มีสื่อการเรียนการสอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงอุปกรณ์การทดลอง และสารเคมีชนิดต่าง ๆ 8.6 นักเรียนมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 8.7 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา |
สรุปคะแนนประเมิน | 0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ | |
ขั้นดำเนินการ | |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | |
ขั้นสรุปและรายงาน | |
งบประมาณ | |
การบรรลุตัวชี้วัด | |
ความพึงพอใจ | |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
รูปภาพประกอบ |