ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน |
ประเภท |
โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปีการศึกษา |
2567 |
มาตรฐาน |
2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 และกระทรวงศึกษาธิการมีการประกาศให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2561 สำหรับให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและเตรียมการสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายว่าการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีคุณภาพ
ได้มาตรฐาน และคงรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานจากการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง มาตรฐานถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแลการตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งการกำหนดให้มีมาตรฐานการศึกษาจึงเป็นการให้ความสำคัญกับ
การจัดการศึกษา 2 ประการ ได้แก่ 1) สถานศึกษาทุกแห่งมีเกณฑ์เปรียบเทียบกับมาตรฐานซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกัน 2) มาตรฐานทำให้สถานศึกษาเข้าใจชัดเจนว่าจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปในทิศทางใด
การพัฒนามาตรฐานการศึกษา มีแนวคิดว่าต้องเป็นมาตรฐานที่สถานศึกษาปฏิบัติได้จริงประเมินได้จริง กระชับ และจำนวนน้อยแต่สามารถสะท้อนบริบทของสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาได้จริงข้อมูลที่ได้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับหน่วยงานต้นสังกัด และระดับชาติ ดังนั้น การกำหนดมาตรฐานการศึกษาจึงเน้นที่คุณภาพผู้เรียน คุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา และคุณภาพครู มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ และข้อกำหนดในกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม เป็นสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา (องค์กรมหาชน) อย่างต่อเนื่องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 โดยได้รับการประเมินรอบแรกในปีพ.ศ.2546 มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2546 :ค) และได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองในพ.ศ.2549 มีผลการประเมินในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ปรับปรุงในมาตรฐานที่ 5 มาตรฐานที่ 4, 12 อยู่ในระดับพอใช้ และมาตรฐานส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2549 :3-4) และได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามใน พ.ศ.2556 และเพื่อให้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สี่มีอยู่ในระดับที่ดีขึ้น พร้อมกับสอดคล้องแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในยุทธศาสตร์ที่ 3 มุ่งเน้นให้มีการทดสอบ การประเมิน การประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้มีประสิทธิผล
จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมาทั้งสามครั้ง จึงจำเป็นที่สถานศึกษาจะต้องพัฒนาโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนขึ้น เพื่อดำเนินการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเตรียมความพร้อมในการรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สี่และเพื่อให้เห็นผลการดำเนินการที่ชัดเจน และนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และเพื่อผลักดันให้สถานศึกษาแสดงความรับผิดชอบในการจัดการจัดการศึกษา เกิดการร่วมคิดร่วมทำระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้สถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรการศึกษาดังกล่าว และมีระบบการประกันคุณภาพภายในที่เข็มแข็งพร้อมรับการประเมินภายนอกรอบที่สี่ ด้วยความจำเป็นดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
|
วัตถุประสงค์ |
2.1 เพื่อให้สถานศึกษาจัดวางระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม มีขั้นตอนอย่างชัดเจน และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
2.2 เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี
2.3 เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน/ท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง
2.4 เพื่อให้สถานศึกษามีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการจัดการศึกษาครบภารกิจ
หลัก ๔ ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการ บริหารทั่วไป และการนำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
2.5 สถานศึกษาจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทสอย่างเป็นระบบ ทันสมัย ทันต่อการใช้งาน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาวิธีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเสมอ
|
เป้าหมาย |
ด้านปริมาณ
1. ผู้เกี่ยวข้องร้อยละ 100 ให้ความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาเป็นอย่างดี
2. พ่อแม่ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน/ท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร้อยละ 100 มีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง
ด้านคุณภาพ
1. สถานศึกษาจัดวางระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน อย่างเป็นรูปธรรม มีขั้นตอนอย่างชัดเจน และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติในระดับ ดีเยี่ยม
2. สถานศึกษามีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษาครบภารกิจหลัก
4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการ บริหารทั่วไป และการ
นำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
3. สถานศึกษาจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทสอย่างเป็นระบบ ทันสมัย ทันต่อการใช้งาน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาวิธีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเสมอ
|
ระยะเวลา |
1 ก.ย. 2566 - 30 ต.ค. 2567 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม |
ตัวชี้วัด |
1. โรงเรียนมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
2. โรงเรียนมีแผนปฏิบัติการและปฏิทินปฏิบัติงานประจำปีที่เหมาะสม
3. มีการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา จัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) และเผยแพร่ผลการดำเนินงาน
4. ผู้เกี่ยวข้องร้อยละ 100 ให้ความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี
5. พ่อ แม่ ผู้ปกครอง คณะกรรมการ-
สถานศึกษา ชุมชน/ท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร้อยละ 100 มีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง
6. สถานศึกษามีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษาครบภารกิจ หลัก 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการ บริหารทั่วไป และการนำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
7. สถานศึกษาจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทส อย่างเป็นระบบ ทันสมัย ทันต่อการใช้งาน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาวิธีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเสมอ
8. สถานศึกษาจัดวางระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม มีขั้นตอนอย่างชัดเจน และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติในระดับ
ดีเยี่ยม |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
8.1 สถานศึกษาจัดวางระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม มีขั้นตอนอย่างชัดเจน และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
8.2 ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี
8.3 พ่อแม่ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน/ท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาในระดับสูง
8.4 สถานศึกษามีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการจัดการศึกษาครบภารกิจ
หลัก ๔ ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการ บริหารทั่วไป และการนำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
8.5 สถานศึกษาจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทสอย่างเป็นระบบ ทันสมัย ทันต่อการใช้งาน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาวิธีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเสมอ
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|