โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

แปลงเกษตรสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง2565

โรงเรียน : โซ่พิสัยพิทยาคม สพม.บึงกาฬ

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 5

เผยแพร่เมื่อ : 3 มิ.ย. 2567 โดย : อรุณี วิชาทิตย์ จำนวนผู้เข้าชม 26 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม แปลงเกษตรสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง2565
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2565
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นนโยบายของรัฐบาลที่โรงเรียนจะต้องมีการปฏิบัติ และนำมาใช้ในการศึกษาเรียนรู้ให้มีความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวไทยทุกคนต้องมีความตระหนักและยึดถือเอาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านต่างๆเพราะเป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเป็นผู้ให้แนวทางและทรงดำริไว้ให้แก่ปวงชนชาวไทยได้ปฏิบัติให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  ซึ่งเป็นผลประโยชน์แก่ผู้ได้ปฏิบัติ  ในเรื่องของการประหยัด  อดออมรู้จักการใช้ชีวิตในด้านการดำเนินชีวิต      
ดังนั้นโรงเรียนโซ่พิสัยพิทยาคม จึงจัดให้มีโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาเป็นหลักการในการบริหารจัดการสถานศึกษาในทุกมิติ มีการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกกระบวนการปลูกฝังปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติของผู้เรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้ได้เรียนรู้และพัฒนาการปฏิบัติตนและปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการบ่มเพาะอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง เช่น ความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย มีฐานเรียนรู้ต่างๆ ที่ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่า สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน

 
วัตถุประสงค์  2.1 ผลผลิต (OUTPUT)
2.1.1. เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ตามหลักปรัชญา     
ของเศรษฐกิจพอเพียง
2.1.2. เพื่อให้นักเรียนทุกคนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.2 ผลลัพธ์ (OUTCOME)
      2.2.1. เพื่อให้โรงเรียนได้จัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และ                            
วิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


 
เป้าหมาย 3. เป้าหมาย
          3.1 เชิงปริมาณ
3.1.1. นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้
          3.2 เชิงคุณภาพ
3.2.1 นักเรียนมีทักษะและความรู้จากการทำกิจกรรมโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.2.2 นักเรียนมีความรัก ความสามัคคี ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 
ระยะเวลา 1 พ.ค. 2565 - 28 ก.พ. 2566
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนโซ่พิสัยพิทยาคม
ตัวชี้วัด กิจกรรมที่ 1  เลี้ยงปลา
ผลผลิต(outputs)  ร้อยละ 90 ของนักเรียนได้รับความรู้จากการทำกิจกรรมเลี้ยงปลา
ผลลัพธ์(outcome) นักเรียนสามารถนำความรู้ และทักษะชีวิตไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ 2 เลี้ยงไก่ไข่
ผลผลิต(outputs)  ร้อยละ 90 ของนักเรียนได้รับความรู้จากการทำกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่

ผลลัพธ์(outcome) นักเรียนสามารถนำความรู้ และทักษะชีวิตไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ 3 ปลูกผัก ปลูกเห็ด
ผลผลิต(outputs)  ร้อยละ 90 ของนักเรียนได้รับความรู้จากการทำกิจกรรมปลูกผัก ปลูกเห็ด
ผลลัพธ์(outcome) นักเรียนสามารถนำความรู้ และทักษะชีวิตไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ 4 ฝึกอาชีพ
ผลผลิต(outputs)  ร้อยละ 90 ของนักเรียนได้รับความรู้จากการทำกิจกรรมฝึกอาชีพผลลัพธ์(outcome) นักเรียนสามารถนำความรู้ และทักษะชีวิตไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมถอดบทเรียน
ผลผลิต(outputs)  ร้อยละ 90 ของนักเรียนสามารถถอดบทเรียนจากการทำกิจกรรมต่างๆ ตามโครงการ และนำเสนอต่อผู้อื่นได้

ผลลัพธ์(outcome) นักเรียนเกิดองค์ความรู้ และประสบการณ์ ที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้คงทน






 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ โรงเรียนเกิดแหล่งเรียนรู้ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนมีทักษะและความรู้ในการทำกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง มีความรักสามัคคี ให้ความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข  
 
สรุปคะแนนประเมิน 5
ไฟล์ประกอบ สรุปโครงการ
ขั้นเตรียมการ การวางแผน (PLAN)  
    - ประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการ
    - เขียนโครงการ
    - เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
ขั้นดำเนินการ การปฏิบัติงาน (DO)
    -  เลี้ยงปลา
    - เลี้ยงไก่ไข่
    - ปลูกผัก
    - ฝึกอาชีพ
    - กิจกรรมถอดบทเรียนพอเพียง
ขั้นตรวจสอบประเมินผล การตรวจสอบ (CHECK)
กำกับ ติดตามการจัดกิจกรรม
    - เลี้ยงปลา
    - เลี้ยงไก่ไข่
    - ปลูกผัก ปลูกเห็ด
    - ฝึกอาชีพ
    - กิจกรรมถอดบทเรียนพอเพียง
ขั้นสรุปและรายงาน การประเมินผล (ACTION)
  - สังเกต ประเมินผล รายงานผล สรุปผลทุกกิจกรรม
งบประมาณ 20,000 บาท
การบรรลุตัวชี้วัด นำสู่สมดุลอย่างมั่นคงและยั่งยืนใน 4 มิติ คือ
   1. สังคม
          - การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการทำงาน ความสามัคคี มีวินัย

 2.เศรษฐกิจ
          - นักเรียนมีรายได้จากการมาโรงเรียน
          - นักเรียนสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพได้จริง
   3. สิ่งแวดล้อม
          - ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยในเรื่องการทำงานร่วมกัน
          - ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียนและครู
   4. วัฒนธรรม
          - สร้างค่านิยมที่ถูกต้องในการใช้ชีวิตของเยาชน
          - ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยในเรื่องการทำงานร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง โรงเรียนกับผู้ปกครอง และชุมชน

 
ความพึงพอใจ สรุปแบบสอบถามความพึงพอใจ (ภาพรวม)
โครงการ “แปลงสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง”
จำนวนผู้กรอกแบบสำรวจ  /   นักเรียน 150 คน        /  ครู  15  คน       /   รวมทั้งสิ้น 165 คน

เกณฑ์การแบ่งช่วงคะแนนค่าเฉลี่ยได้กำหนดเกณฑ์ประเมินไว้ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึงระดับความพึงพอใจในระดับดีมาก
ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจในระดับดี
ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึงระดับความพึงพอใจในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึงระดับความพึงพอใจระดับในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึงระดับความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด

 
ที่ หัวข้อ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย
(X)
เกณฑ์การประเมิน
5 4 3 2 1
1. กระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ
1.1 การประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ 91 41 21 12 0 4.28 มาก
1.2 ความเหมาะสมของสถานที่ 74 63 28 0 0 4.28 มาก
1.3 ความเหมาะสมของระยะเวลา 88 63 9 5 0 4.42 มาก
1.4 การมีส่วนร่วมของครู –นักเรียนในกิจกรรมนักเรียนในกิจกรรม 59 96 10 0 0 4.30 มาก
1.5 ผลสำเร็จของการจัดกิจกรรม 75 81 9 0 0 4.40 มาก
2. คุณภาพการให้บริการ
2.1  ท่านได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ ๆ จากโครงการ 52 96 6 11 0 4.15 มาก
2.2  ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากโครงการ/กิจกรรมนี้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน 59 95 11 0 0 4.29 มาก
2.3  สิ่งที่ท่านได้รับจากโครงการ/กิจกรรมครั้งนี้ตรงตามความคาดหวังของท่านหรือไม่ 64 75 16 0 0 4.31 มาก
2.4  โครงการ/กิจกรรมนี้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของท่าน 74 80 11 0 0 4.38 มาก
2.5  ประโยชน์ที่ท่านได้รับจากโครงการ/กิจกรรม 89 70 6 0 0 4.50 มาก
3. ความพึงพอใจของท่านต่อภาพรวมของโครงการ 95 70 0 0 0 4.58 มากที่สุด
รวม 820 830 127 28 0 4.35 มาก
ร้อยละ 87.05
ปัญหาและอุปสรรค ปัญหา/ข้อเสนอแนะ
  1. สถานที่จัดกิจกรรมไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน
  2. ระหว่างจัดกิจกรรมควรสอดแทรกความรู้ ข้อคิดต่าง ๆ เสริมให้นักเรียน
ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกระดับชั้นและทุกคน
ข้อเสนอแนะ ปัญหา/ข้อเสนอแนะ
  1. สถานที่จัดกิจกรรมไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน
  2. ระหว่างจัดกิจกรรมควรสอดแทรกความรู้ ข้อคิดต่าง ๆ เสริมให้นักเรียน
ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกระดับชั้นและทุกคน
รูปภาพประกอบ






ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0